'ชัชชาติ' เผยปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างกีดขวาง ต้องสร้างทางด่วนน้ำ

16 ก.ย.2565 - ที่เขตคลองเตย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน ว่า ขณะนี้เรามีปัญหาเรื่องการระบายน้ำโดยเฉพาะกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก ซึ่งแต่ก่อนพื้นที่ฝั่งนี้เรียกว่าเป็น Flood Way คือเป็นพื้นที่ระบายน้ำหรือทางน้ำท่วมของกรุงเทพฯ แต่ในปัจจุบันมีสิ่งก่อสร้างจากโครงสร้างต่างๆจากความเจริญของเมืองกีดขวางทางระบายน้ำมากมาย เช่น ถนนบางนา-ตราด และถนนกรุงเทพกรีฑา โดยในพื้นที่เขตลาดกระบังที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ เนื่องจากน้ำจะระบายออกมาทางในเมืองคือมารวมกันอยู่ที่คลองพระโขนง เพื่อจะเร่งระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสามารถระบายได้ช้าและทำให้น้ำท่วมขัง

"แนวคิดเพื่อแก้ไขปัญหาคือเราจะทำทางด่วนน้ำเพื่อให้น้ำเร่งระบายออกไปสู่ทะเลทางตรงได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงโครงการของกทม.ที่กำลังดำเนินการอยู่คืออุโมงค์ระบายน้ำต่างๆที่จะทำให้การระบายน้ำรวดเร็วขึ้น โดยจะต้องหารือกับสำนักการระบายน้ำกทม. เพื่อจะได้ทราบว่าควรจะดำเนินการโครงการไหนก่อน หลัง รวมถึงการปรับปรุงระบบคลองต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมการล่วงหน้าลำเลียงน้ำมาสู่อุโมงค์ ซึ่งเป็นการดำเนินการในระยะกลางและระยะยาว ส่วนในระยะเร่งด่วนเราต้องปรับปรุงคุณภาพคลองก่อน รวมถึงประตูระบายน้ำต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันฝนตกในปริมาณมากจึงต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพน้ำในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่สามารถเคลื่อนเครื่องสูบน้ำไปช่วยในจุดเร่งด่วนพื้นที่ต่างๆได้ ซึ่งต้องขอขอบคุณทีมงานกทม.ซึ่งขณะนี้ทำงานอย่างเต็มที่ " ผู้ว่าฯกทม. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตราดระทม! จมบาดาล 1 เมตร เดือดร้อน 3 พันคน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรักษ์คลองบางพระ ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนกิจสวัสดิ์ ถนนเทศบาล 3, 5 ถนนพัฒนาการปลายคลอง ถนนกิตติพัฒนา ซอยสืบแสวงทรัพย์ ซอยร่มไทร ซอยสุเหล่าแขกปลายคลอง ซอยสมจริง ซอยศาลเจ้าแม่ตาเหล ยังคงทรงตัว

‘อนุทิน’ สั่ง กทม.เร่งสอบที่มาป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ตและสัญชาติ ย่านห้วยขวาง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้ทราบถึงกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงกรณีมีการติดตั้งป้ายโฆษณาภาษาจีน

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า