12 ก.ย.2565 - ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 20/2565 ถึงประเด็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดการน้ำท่วมของกทม.ว่ามีการตั้งรับมากกว่าเชิงรุกทำให้การจัดการน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพ ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากปริมาณฝนมีมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งกทม.มีกำลังคนและเครื่องมือไม่เพียงพอ ที่จะรับมือกับปริมาณฝนที่สูงถึง 170-180 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณดังกล่าวส่งผลให้น้ำเต็มคลองหลักทุกคลอง ประกอบกับเครื่องสูบน้ำที่กทม.มีอยู่บางจุดอย่างคลองพระโขนงค่อนข้างเก่าเพราะผ่านการใช้งานมานาน เมื่อใช้สูบน้ำได้ไม่นานก็ทำให้เครื่องร้อน อีกส่วนหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ สภาวะโลกร้อนส่งผลให้มีปริมาณฝนมากขึ้นกว่าปกติซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก เป็นเรื่องที่ต้องบริหารจัดการด้านเทคนิค ด้านบริหารเชิงสังคมควบคู่กันไปในระยะยาว ทั้งนี้ จะต้องทำคลองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
"เราต้องยอมรับว่าฝนตกหนักขึ้นจากสภาวะโลกร้อน และกำลังของท่อระบายน้ำที่มีอยู่อาจไม่พอ ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก ต้องวางแผนเพราะอุโมงค์อย่างเดียวไม่ตอบโจทย์เพราะฝนตกหลายที่ ไม่ได้ตกที่อุโมงค์ เพราะฉะนั้นการลำเรียงน้ำไปที่อุโมงค์ ต้องมีระบบลำเรียงได้ ทั้งนี้ อาจต้องแบ่งงบประมาณจากการทำอุโมงค์บางส่วน มาทำเรื่องเขื่อนคูคลองให้เข้มแข็งขึ้น รวมถึงนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งต้องใช้เวลาและต้องมีการวางแผน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังเตือนว่าโลกกำลังเปลี่ยน ฝนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ " นายชัชชาติ กล่าว
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้สิ่งที่ต้องทำแน่นอนคือเรื่องชุมชนที่อยู่ริมน้ำ เพราะทำให้ประสิทธิภาพคลองลดลง เพราะฉะนั้นต้องดูแลเขา อย่างเมื่อวาน(11 ก.ย.) ได้ไปที่คลองลาดพร้าว ชุมชนยังไม่ยอมขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องเทคนิคอย่างเดียวต้องมีเรื่องการบริหารเข้ามาด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯ เตือนอากาศเย็น มีหมอกบางตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น ใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย เตือน 9 จังหวัด ระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง
ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้