9 ก.ย. 2565 – เพจเฟซบุ๊ก “กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์” โพสต์ข้อความว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (07.00 น.) : กรุงเทพมหานคร ฝนตกปานกลางถึงหนัก ปริมาณฝนรวมสูงสุดที่จุดวัดศูนย์ราชการ-ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ 85.5 มม. ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม เขตดินแดง 80.0 มม. ประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้ เขตสายไหม 74.5 มม. สำนักงานเขตวังทองหลาง 73.5 มม. สำนักงานเขตห้วยขวาง 59.5 มม.
มีรายงานจุดเร่งการระบายน้ำในถนนสายหลัก จำนวน 5 รายการ
https://dds.bangkok.go.th/flood_report.php
รายงานค่าระดับน้ำแนวคันกั้นน้ำด้านตะวันออกวันนี้ ( 9 กันยายน 2565 )
- ประตูระบายน้ำคลองสอง (สายใต้) (ระดับวิกฤติ +1.80) เวลา 07.00 น. ระดับ +1.90 ม.รทก. ระดับวิกฤต
- ประตูระบายน้ำแสนแสบ (มีนบุรี) (ระดับวิกฤติ +0.90) เวลา 07.00 น. ระดับ +1.05 ม.รทก. ระดับวิกฤต
- ประตูระบายน้ำลาดกระบัง (ระดับวิกฤติ +0.60) เวลา 07.00 น. ระดับ +0.63 ม.รทก. ระดับวิกฤต
ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุดวานนี้ ( 8 กันยายน 2565 )
- สถานีสูบน้ำบางนา ระดับ +1.80 ม.รทก. เวลา 18:45 น.
- ประตูระบายน้ำปากคลองตลาด ระดับ +1.84 ม.รทก. เวลา 19:15 น.
- สถานีสูบน้ำบางเขนใหม่ ระดับ +1.84 ม.รทก. เวลา 19:45 น.
ฐานน้ำขึ้นสูงสุดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าสถานีกองบัญชาการกองทัพเรือวันนี้ (9 กันยายน 2565 )
(เช้า ระดับ –.– ม.รทก. เวลา –:– น. บ่าย ระดับ +1.24 ม.รทก. เวลา 20:11 น.)
ปริมาณน้ำผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ ( 9 กันยายน 2565 เวลา 06:00 น. )
นครสวรรค์ 1,498 ลบ.ม./วินาที
เขื่อนเจ้าพระยา 1,448 ลบ.ม./วินาที
เขื่อนพระรามหก – ลบ.ม./วินาที
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (เฉลี่ย) 1895 ลบ.ม./วินาที
รายงานความเค็มสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 8 กันยายน 2565 (ค่าความเค็มเกิน 1.2 กรัม/ ลิตร ควรระมัดระวังในการใช้กับพืชทั่วไป)
1.ส.แจงร้อน 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 20:00 น.
2.ส.ดาวคะนอง 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 20:00 น.
3.ส.บางกอกใหญ่ 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 08:00 น.
4.ส.เทเวศร์ 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 08:00 น.
5.ส.บางเขนใหม่ 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 20:00 น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว
ศปช. ส่งสัญญาณพื้นที่แล้ง 7 จังหวัด รีบกักเก็บน้ำในช่วง 16-18 พ.ย.นี้
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภููมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย
ไทยฝนฟ้ายังคะนอง กรุงเทพฯร้อยละ 30 ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย