ไทยจัดประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ที่ภูเก็ต 9-10 ก.ย. นี้ เตรียมถกแนวทางเร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จากผลกระทบโควิด19 ผ่านการเข้าถึงเงินทุน ปรับตัวสู่ดิจิทัลและ BCG Model
8 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 9-10 ก.ย. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน จะเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 ซึ่งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพจัดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต โดยการประชุมฯ จะเป็นการหารือระดับนโยบายด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก หรือเอเปค ซึ่งปีนี้ไทยเป็นเจ้าภาพ ภายใต้หัวข้อหลักเรื่อง “การฟื้นตัวโดยรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprise: MSME) ในเอเปค ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และระบบนิเวศที่มีผลกระทบสูง
“รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ MSME จากทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค จะร่วมหารือกันในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของ MSME ในการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล การส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบการปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการเตรียมความพร้อมรับมือกับตลาดที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ MSME ของสมาชิกเอเปคสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด19 และมีศักยภาพในการปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทายในบริบทโลกยุคใหม่” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 65 เป็นต้นมา สสว. ได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมคณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Working Group: APEC SMEWG) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้าน MSME ของเอเปค ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ เพื่อจัดทำข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ ตลอดจนข้อเสนอแนะการฟื้นฟู SME จากโควิด19 เพื่อเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 9-10 ก.ย. 65
โดยประเด็นซึ่ง APEC SMEWG ได้เป็นข้อสรุปและจะเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในกลุ่มเอเปคต่อไป มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) วิธีการส่งเสริมให้ MSME เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นรวดเร็วมากขึ้นผ่านเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ (Fin Tech) 2) การเข้าถึงตลาด โดยการลดต้นทุนทางการค้า ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐและภาคเอกชน 3) ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และ 4) การปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจสีเขียวผ่านห่วงโซ่อุปทานที่จะเน้นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่อยู่ในความสนใจของทั่วโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม. ตั้ง 'ไตรศุลี ไตรสรณกุล' นั่งเลขาฯรมว.มหาดไทยภาคสอง สานงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ประชาชน
ครม.เห็นชอบตามที่ นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมืองสังกัดกระทรวงมหาดไทย
โฆษกมหาดไทยเผย 24 ต.ค. นี้ โอนเงินช่วยน้ำท่วมล็อตใหญ่ 8 จังหวัด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหา
โอนเงินล็อตแรก! เยียวยาน้ำท่วมเชียงราย 3.6 พันครัวเรือน
ประเดิมโอนเงินเยียวยาผู้ประสบภัยเชียงราย 3,623 ครัวเรือน 'อนุทิน' กำชับ มท. ยึดข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกให้เงินถึงมือเร็วที่สุด
มหาดไทย ผนึก อว. ตั้งวอร์รูมสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วม
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (15 ก.ย.) กระทรวงมหาดไทยและ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะจัดตั้งวอร์รูม (War Room)
'อนุทิน' จ่อสับไพ่ ขรก. ใหม่ ให้เหมาะสถานการณ์ ลั่นอย่ายึดติดของเดิม
'อนุทิน' แจง 'นายกฯอิ๊งค์' ยังไม่แบ่งงานรองนายกฯ เล็งสับไพ่ ขรก. สัดส่วน ภท.ใหม่ แต่ชม 'ไตรศุลี' ทำงานดี พร้อมรับ 2 รมช.มท. ติดโควิด
‘อนุทิน’ สั่ง กทม.เร่งสอบที่มาป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ตและสัญชาติ ย่านห้วยขวาง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้ทราบถึงกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงกรณีมีการติดตั้งป้ายโฆษณาภาษาจีน