กอนช. เผยสถานการณ์น้ำ 'จันทบุรี-กทม.-ระนอง' มีปริมาณฝนสูงสุดในรอบ 24 ชม.

8 ก.ย.2565 - กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 8 กันยายน 2565 ดังนี้ 1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 35/2565 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จากการคาดการณ์จะมีฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 3 – 8 กันยายน 2565 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ จังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 2,000 - 2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 1,800 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.50 เมตร ในช่วงวันที่ 1 - 10 กันยายน 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี – น้ำมูล พบว่าจากการคาดการณ์ปริมาณฝนรวมกับสถานการณ์น้ำในลำน้ำชี-มูล คาดว่าวันที่ 10 ก.ย. นี้ ระดับน้ำที่สถานี M.7 จ.อุบลราชธานี จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 111.97 เมตร รทก. จากระดับตลิ่งรองรับได้ 112 เมตร รทก. ซึ่งต่ำกว่าระดับตลิ่งประมาณ 3 ซม. ประกอบกับ สถานการณ์น้ำโขงยกตัวสูงขึ้น 53 เซนติเมตร จากวันที่ 6 ก.ย. 65 ทำให้การระบายน้ำขณะนี้ทำได้ค่อนข้างยาก

แต่คาดว่าหลังจากวันที่ 10 ก.ย.นี้ ระดับน้ำโขงจะเริ่มลดลงทำให้การระบายได้เร็วขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในวันนี้ (8 ก.ย.65) จะมีการเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สำนักชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี อย่างเป็นทางการ ตามที่ กอนช. ให้ความเห็นชอบ โครงสร้างและรูปแบบการดำเนินการของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยการปฏิบัติการศูนย์อำนวยการฯ ส่วนหน้า จะดำเนินการต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝนนี้

3. สภาพอากาศ การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 8 - 9 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

4. สถานการณ์น้ำท่วม ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในวันที่ 4 - 6 ก.ย. 65 มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 ก.ย.65 65 เวลา 7.00 น. ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.จันทบุรี (202) กรุงเทพมหานคร (136) และ จ.ระนอง (121)

ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 52,309 ล้าน ลบ.ม. (64%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,748 ล้าน ลบ.ม. (64%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด

กอนช.เตรียมเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า จ.อุบลราชธานี เตรียมพร้อมป้องกันน้ำท่วมอีสาน

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจสภาพลำน้ำชี ลำน้ำมูล และสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำบางจุดที่พบว่ามีน้ำหลากเข้ากระทบพื้นที่เกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ และบางพื้นที่ของ จ.ศรีสะเกษ ที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมากและไหลช้า และประชุมร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและคาดการณ์แนวโน้มฝนในพื้นที่ภาคอีสาน ก่อนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณแก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร

จากการคาดกาณ์ระดับน้ำที่สถานี M.7 จ.อุบลราชธานี จะเพิ่มสูงขึ้นใกล้ระดับตลิ่งในวันที่ 10 ก.ย.65 และการระบายน้ำขณะนี้ทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังและเร่งระบายลงแม่น้ำโขงต่อไป

จากการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล และเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในวันนี้จะมีการเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สำนักชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี อย่างเป็นทางการ ตามที่ กอนช. ให้ความเห็นชอบ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และเห็นผลเป็นรูปธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กป้อม' ประกาศสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า ตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลเขต 77 จังหวัด

นายภัทรธรณ์ เทียนไชย รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เป็นประธานว่า

กษัตริย์สเปนประสงค์เสด็จเยือนพื้นที่น้ำท่วมอีกครั้ง คราวนี้โดยปราศจากพระราชินี

ภัยพิบัติจากพายุในสเปนซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 200 ราย สร้างความไม่พอใจให้พลเมืองทั้งประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีเ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 13 ไต้ฝุ่น 'หยินซิ่ง' อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนแล้ว

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “หยินซิ่ง” ฉบับที่ 13 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนอากาศเปลี่ยนแปลง เหนือ-อีสานเย็น ยอดภูหนาว ใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้

ศปช. ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดไม่เกิน 3 วันถึงจุดต่ำสุดเข้าสู่ภาวะปกติ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ศปช.ยังคงติดตาม การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในช่วงหน้าแล้ง