‘ไทยสร้างไทย’ แนะ 8 แนวทางบริหารป้องกันน้ำท่วมใหญ่ จี้ภาครัฐจับตาอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รับมือพายุถล่ม ก.ย.-ต.ค.นี้
5 ก.ย. 2565 – คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย แสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะล่าสุดพบว่าอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หย่อมความกดอากาศต่ำ และคาดการณ์อาจมีพายุเข้าในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมนี้ ส่งผลให้มีฝนเพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่อีสานและภาคตะวันออกและจะมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมรับมือโดยเฉพาะการบริหารจัดการมวลน้ำในลุ่มเจ้าพระยาต้องใช้เขื่อนเจ้าพระยา จัดจราจรน้ำร่วมกับเขื่อนพระราม 6 ในแม่น้ำป่าสักโดยพิจารณาดังนี้
1.หน่วง/ ชะลอ น้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาและปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้ระดับในอ่างอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำสุด
2.พิจารณาปรับการผันน้ำเข้าทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกตามปริมาณน้ำเหนือที่ไหลผ่านนครสวรรค์และปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ผันน้ำมาทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านแม่น้ำสุพรรณบุรี คลองมะขามเฒ่าอู่ทองในสัดส่วนที่มากขึ้นตามสถานการณ์น้ำฝน น้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนโดยพยายามรักษาเกณฑ์การบริหารน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ไม่ควรมากกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ให้คำนึงถึงการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลและระยะเวลาการเคลื่อนตัวของน้ำเหนือโดยเฉพาะในวันที่ 8-10 กันยายนวันที่ 22-26 กันยายนวันที่ 5-10 ตุลาคมและวันที่ 26-31 ตุลาคมเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง
3.ฝั่งตะวันออกมีปริมาณน้ำในพื้นที่ค่อนข้างมากต้องเร่งระบายและเร่งพร่องน้ำเพื่อรองรับน้ำฝนและการผันน้ำจากเหนือเขื่อนเจ้าพระยาแม่น้ำป่าสักในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม
4.เตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำพร้อมรับน้ำเข้าทุ่ง 11 ทุ่ง ตามแผนที่กำหนด เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จหลัง 15 กันยายน
5.ใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เร่งระบายน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตามจุดเดิมที่เคยติดตั้งในปีน้ำมากโดยกองทัพเรือ
6.ในส่วนแม่น้ำท่าจีนตอนล่างที่มีความคดเคี้ยวมากให้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในบริเวณต่างๆตามที่เคยดำเนินการไว้ในปีน้ำมาก เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล
7.เร่งระบายน้ำและพร่องน้ำในแม่น้ำและคลองสายหลัก สายซอย เช่นคลองชายทะเล คลองสำโรงคลองแสนแสบ คลองสนามชัย-มหาชัย รวมถึงแก้มลิงผ่านประตูระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำรวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติมให้เพียงพอเพื่อรอรับน้ำฝนที่อาจจะเกิดขึ้น
8.ทุกจังหวัดตรวจสอบสถานะเครื่องสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำ ที่เปราะบาง หรือฟันหลอของทุกหน่วยงานให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า
กรมอุตุฯ อัปเดตพายุ 3 ลูก พร้อมพยากรณ์อากาศ 10 วันข้างหน้ายังมีฝนตก
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตภาพถ่ายดาวเทียม เช้าตรู่วันนี้ (14/11/67) ยังมีเมฆฝนบางส่วนบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุม
มาพร้อมกัน 2 ลูก! จับตาพายุ 'หยินซิ่ง-โทราจี' ถล่มทะเลจีนใต้
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุม
อัพเดทพายุก่อตัว 3 ลูก ปรากฎการณ์ลานีญา ความถี่ผิดปกติเดือนพ.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและทะเลจีนใต้ ก่อตัวทั้งหมด 3 ลูก จากปรากฎการณ์ลานีญา ทำให้เกิดความถี่ผิดปกติในเดือน พ.ย.
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 5 'พายุหยินซิ่ง' เตือน 9-11 พ.ย. ฝนถล่มภาคใต้
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 5 เรื่อง พายุ “หยินซิ่ง” เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 พายุไต้ฝุ่น 'หยินซิ่ง' ขึ้นชายฝั่งเวียดนาม ช่วง 10-12 พ.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุ “หยินซิ่ง” ฉบับที่ 3