5 ก.ย. 2565 – นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ที่ค่าน้ำมันค่าไฟฟ้าแพงขึ้นด้วยเหตุแห่งความจำเป็น อย่างไรก็ตามทางออกระดับประเทศคือ ผลักดันแผนพลังงานทดแทนให้ประชาชนและท้องถิ่นมีทางเลือก และแม้แต่ค่ายทหารที่ยังติดค้างค่าไฟฟ้ากระทรวงมหาดไทยอยู่นั้นก็จะได้มีทางเลือกด้วยเช่นกัน
“หมดยุคแล้วที่จะมัวสนับสนุนเฉพาะแผนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อาศัยการนำเข้าพลังงานที่ต้องพึ่งพาจมูกประเทศอื่นหายใจพอเกิดวิกฤติสถานการณ์โลกก็ส่งผลกระทบประชาชนไม่จบสิ้น จึงเตรียมรายละเอียดเสนอกำหนดทิศทางแผนพลังงานแห่งชาติด้วยนโยบายพลังงานทดแทน ซึ่งเคยศึกษาและให้ข้อมูลไว้ที่กรรมาธิการพลังงานในช่วงยุคปี 2558-2559 และเคยนำเรียนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีช่วงนั้นในนามมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน ดังนั้นไม่ว่านายกจะเป็นใครหรือรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลใดหลังจากนี้ควรจะยึดแผนพลังงานทดแทนมาเป็นทางเลือกให้กับประเทศและประชาชนให้สำเร็จตามเป้าหมาย” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุ
ทั้งนี้รัฐบาลควรเดินหน้านโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อให้การบริหารนโยบายแผนงานและมาตรการด้านพลังงานของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงานติดตามดูแลประสานงานสนับสนุนเร่งรัดทุกส่วน ทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานให้เป็นไปตามแผนนโยบาย เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งทำการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายที่จะต้องปรับให้ทันสมัยสอดคล้องกับยุคคาร์บอนเครดิต-BCG เทรนด์ของโลก
และจากแผนนโยบายพลังงานของไทยตามกรอบเวลาแผนชาติปี พ.ศ.2558 ถึง 2579 (PDP2015) และแผนฉบับปรับปรุงล่าสุด สาระสำคัญคือ การจัดทำแผนพลังงานชาติด้วยการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศและกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้า แผนนี้ให้ใช้มาตรการผสมผสานทั้งการบังคับและสนับสนุนจูงใจการให้เอกชนเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการส่งเสริมและดำเนินการอนุรักษ์พลังงานการ ใช้มืออาชีพและบริษัทจัดการพลังงานเป็นกลไกสำคัญการเพิ่มการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีและเสริมสร้างธุรกิจผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง โดยใช้ 5 กลยุทธ์คือการบังคับด้วยกฎระเบียบและมาตรฐาน,การส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม,การพัฒนาสั่งการพัฒนากำลังคนและความสามารถเชิงสถาบัน,การสร้างความตระหนักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม,การส่งเสริมสนับสนุนอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อป้องกันการได้ผู้ผลิตที่ไม่มีความพร้อมซึ่งจะกลายเป็นภาระและเสียเวลาเสียโอกาสดังที่ผ่านมา
จึงมีการให้กำหนดเงื่อนไขความพร้อมเลือกผู้ผลิตที่มีความพร้อม 4 ด้าน คือ ด้านแหล่งเงินทุน ด้านที่ดินทำโครงการ ด้านเทคโนโลยีและด้านใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง และควรคำนึงถึงภารกิจรัฐบาลในกรอบความร่วมมือว่าด้วยการลดโลกร้อนลดคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศ เป็นสุนทรพจน์ที่นายกรัฐมนตรีประเทศไทยเมื่อปี 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีต่อนานาชาติ และเพื่อยุทธศาสตร์พลังงานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ โดยแผนนี้กำหนดเริ่มปี 2558 บัดนี้ผ่านไป 8 ปีแล้ว จึงเห็นสมควรให้มันเกิดรูปธรรม คือไม่ใช่มีแค่แผนและปรับปรุงแผนแต่ควรทำได้จริง
นางมัลลิกา กล่าวว่า บัดนี้นานาชาติเขาเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานของชาติมาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดปัญหาผลกระทบกับประชาชน ชุมชน แม้กระทั่งซาอุดีอาระเบียที่เป็นประเทศที่ขุดเจาะส่งออกน้ำมันและพลังงานได้เองก็เปลี่ยนมาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด Solar cell -Solar farm ไปด้วย หรือประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ และ มาเลเซีย ต่างหันมาเน้นพลังงานจากแสงแดดทั้งที่ความเข้มข้นของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย ขณะที่ประเทศไทยเรานั้น ถ้าติดตามทิศทางของกระทรวงพลังงาน ประกาศของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังเป็นแผนตามระบบราชการรูปแบบสัดส่วนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปพลังงาน ทั้งที่ปัจจุบันประเทศกำลังส่อเกิดวิกฤติด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้หากไม่วางแผนรองรับและแก้ไขปัญหาผลกระทบ เช่น ผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดกระบี่และสงขลาสร้างไม่ได้ หรือการอาศัยกลุ่มสัมปทานพลังงานขนาดใหญ่จนเกินไปมันไม่มีทางเลือกให้ชีวิตประชาชน
รวมทั้งต้องประเมินอยู่ตลอดเวลาว่าประเทศไทยมีความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG อยู่ที่เท่าใดและการรองรับของคลัง LNG มีได้เพียงเท่าใดแล้วเรายังจะต้องพึ่งการนำเข้า LNG ชาติอื่นต่อไปอีกเท่าใด คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าที่เท่าใด ทำให้ต้องหาเชื้อเพลิงอีกเท่าใด ดังนั้นการผลักดันสิ่งที่มีอยู่คือธรรมชาติให้ไว้แล้วนั้นมันเป็นวิสัยทัศน์บวกกับความสามารถในการบริหารจัดการนโยบายและเป็นโอกาสของประเทศและประชาชน ไม่เช่นนั้นพอมีวิกฤตพลังงานทีไร ก็มีปัญหาเรื่องค่าไฟค่าพลังงานประชาชนทุกทีและรัฐก็จะไม่มีงบประมาณมาคอยชดเชยอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อมันมีวิธีที่ดีกว่าเราก็ควรจะทำถ้าไม่เริ่มก็ควรจะเริ่มและรายงานให้ประชาชนรับทราบเพื่อประชาชนจะได้มีพลังศรัทธาต่อรัฐบาล ถ้าเราจะทำอะไรนั้นสิ่งที่ควรทำคือ อย่าทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสเพราะเวลาคือสิ่งที่มีค่าที่สุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ลุงป้อม' เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่
'ลุงป้อม' สดใส เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่ ย้ำพระราชเสาวนีย์พระพันปีหลวง ปกป้องป่าให้ลูกหลาน ด้าน ผบ.เหล่าทัพ ทยอยอวยพร 3 ป. วานนี้
ปชป. ระดม สส.-สาขาพรรค ช่วยน้ำท่วมใต้ เปิดครัวทุกพื้นที่
ปชป.พรึ่บ! ระดมช่วยน้ำท่วมใต้ ตั้งครัวกระจายทุกพื้นที่ 'เฉลิมชัย' สั่ง สส.- สาขาพรรค เกาะติดพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน
'บิ๊กป้อม' เมินร่วมวง 'ดินเนอร์ฝ่ายค้าน' แค่ส่งตัวแทน พปชร.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านรับประทานอาหารเย็น ในวันพุธที่ 18 ธ.ค.นี้
'ชัยวุฒิ' ยก 'บิ๊กป้อม' สุภาพบุรุษ ขับก๊วนธรรมนัส เหมือนหย่าเมีย
'ชัยวุฒิ' ยกย่อง 'บิ๊กป้อม' สุภาพบุรุษ เปรียบขับ 20 สส.ก๊วนธรรมนัส พ้นพรรค เหมือนผัวเมียไม่รักแล้วหย่ากัน จบด้วยดี ยืนยัน พปชร. ไม่แตกแยก พร้อมทำหน้าที่ฝ่ายค้านเพื่อ ปชช.
20 สส.ก๊วนธรรมนัสโบกมือลา พปชร. บอกยังรักเคารพลุงป้อม!
'20 สส.ก๊วนธรรมนัส' ถูกขับพ้น 'พปชร.' แล้ว 'อรรถกร' บอกจากกันด้วยดี ขอเวลาหารือ 'พรรคกล้าธรรม' ก่อน ย้ำ ยังรักเคารพ 'ลุงป้อม' อยู่
ไร้เงา 'บิ๊กป้อม-ธรรมนัส' ประชุมขับ 'ก๊วน 20 สส.'
ไร้เงา 'บิ๊กป้อม-ธรรมนัส' ร่วมประชุม ขับ 'ก๊วน 20 สส.' พ้น 'พปชร.' ด้าน 'ไพบูลย์' ทําหน้าที่ปธ.แทน ขณะที่ 'ไผ่ ลิกค์' ปัดดีล คดีไร่ภูนับดาว