โวผลสำเร็จรัฐบาล ปรับปรุง กม.คุ้มครองพยานในคดีอาญา สร้างความเชื่อมั่น ปชช.

‘ทิพานัน’เผยผลสำเร็จรัฐบาลปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองพยานในคดีอาญา สร้างความเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ  ปลอดภัย ไม่เป็นภาระ หวังขจัดปัญหาจับแพะในคดีอาญาให้หมดไปจากประเทศไทย

29 ส.ค.2565-น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565  โดยให้มีผล เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (28สิงหาคม2565)เป็นต้นไปนั้น เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้จะส่งผลให้พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งอยู่ในมาตรการคุ้มครองพยานตามกฎหมายมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือได้รับสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งเพื่อให้การคุ้มครองพยานดำเนินการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถือเป็นผลสำเร็จจากนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ให้ความสำคัญกับภารกิจการคุ้มครองพยานในคดีอาญา สร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการคุ้มครองพยานเพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาคดีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมโดย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม และประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มีมาตรการคุ้มครองพยาน ให้ได้รับความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยานที่มาทำหน้าที่เป็นพยานในคดีอาญา สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อไม่เป็นภาระแก่พยาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี และกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเป็นพยานในคดีต่างๆ มากขึ้น

“การสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการคุ้มครองพยาน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือบกพร่องในกระบวนการยุติธรรม  ซึ่งหวังว่าจะช่วยขจัดปัญหาจับแพะในคดีอาญา ที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียอิสรภาพ กระทั่งสูญเสียชีวิตในประเทศไทยให้หมดไป”

ทั้งนี้  สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565  คือ กำหนดให้มีการคุ้มครองบุคคลที่จะมาเป็นพยานในคดีอาญาให้มีความหมายกว้างขึ้นและให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้มีการประเมินพฤติการณ์ความไม่ปลอดภัย ก่อนการอนุมัติขยายระยะเวลาการคุ้มครองและการสิ้นสุดการคุ้มครองพยาน เพิ่มเติมคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือคดีพรากเด็กและผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายอาญาให้สามารถใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานได้ การจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่คุ้มครองจริง กำหนดหลักเกณฑ์และการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยานที่เดินทางมาเป็นพยาน เป็นต้น

อนึ่ง กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้พยายามปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ.2546 มาตั้งแต่ปี 2564 เนื่องจากที่ผ่านมา การบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 พบว่ามีบทบัญญัติบางมาตราไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน สภาพเศรษฐกิจ ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับพยาน รวมทั้งยังไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเข้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ห่วง 4 ลูกเรือไทย สั่งดูแลครอบครัว 'บัวแก้ว' นัดเจรจาเมียนมา 19 ธ.ค.

'ภูมิธรรม' ห่วงลูกเรือคนไทย 4 คน ที่ถูกคุมตัวอยู่จังหวัดเกาะสอง สั่งเร่งประสานช่วยเหลือครอบครัวใกล้ชิด ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ นัดหารือฝ่ายเมียนมา 19 ธ.ค.นี้

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44

รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

'พิมล'นำทีมขับเคลื่อน 'อุตสาหกรรมด้านกีฬา' วางแผนการทำงานปี2568

ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านกีฬา เป็นประธานการประชุม ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองประธานอนุกรรมการ นายไพฑูร ชุติมากรกุล อนุกรรมการ นายทนุเกียรติ จันทร์ชุม อนุกรรมการ นายปรีชา ลาลุน อนุกรรมการ นางโปรดปราน สมานมิตร รองผู้ว่าการฯ ฝ่ายกีฬาอาชีพและกีฬา อนุกรรมการและเลขาอนุการ และคณะอนุกรรมการ ฯ เข้าประชุมพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย วันที่ 12 ธันวาคม 2567

‘รองโฆษกปชป.’ จี้รบ.เร่งช่วย 4 ลูกเรือ แนะเจรจาพื้นที่ทับซ้อนเพื่อชาวประมงสองฝั่ง

รัฐบาลไทยควรจะ 1.เร่งรัดนำชาวประมงไทยและเรือประมงไทยกลับสู่ประเทศไทยโดยเร็ว และ 2. รัฐบาลไทยควรที่จะเจรจาร่วมกันในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่พิพาทอยู่