ผู้ว่าฯกทม. เผยตึกเอียงย่านสุขุมวิท เป็นมานาน 15 ปีแล้ว ไม่ฟันธงอุบัติเหตุบันไดเลื่อนใครผิด

ผู้ว่าฯกทม. เผย ตึกแถวริมถนนสุขุมวิท สร้างตั้งแต่ปี 21 เอียงมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ประสานวิศวกรวิชาชีพลงตรวจสอบ พร้อม แจงอุบัติเหตุ “บีทีเอสสุรศักดิ์” คาดมีผู้ใช้จำนวนมาก ลั่น ไม่กล้าฟันธงว่าใครผิด ต้องดูอย่างรอบด้าน

22 ส.ค.2565 - ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 18/2565 ถึงกรณีตึกแถวริมถนนสุขุมวิท ปากซอย สุขุมวิท 101/1 พื้นที่เขตพระโขนง มีสภาพเอียงมองเห็นชัดด้วยตา ว่า ได้ให้นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปดู โดยวันนี้(22 ส.ค.) สำนักงานเขตพระโขนง และสำนักการโยธาไปตรวจสอบในเบื้องต้นได้รับรายงานว่า ตึกแถวดังกล่าวก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2521 และเกิดการเอียงมาไม่น้อยกว่า 15 ปี แล้ว จากที่ลงไปตรวจพบตึกแถวเอียง 15 คูหา ตรวจสอบด้วยสายตาภาพสภาพภายนอกไม่พบรอยร้าว ซึ่งจะได้ให้วิศวกรวิชาชีพลงไปตรวจสอบโครงสร้างความแข็งแรงว่ามีความปลอดภัยหรือไม่อย่างไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ที่อยู่พักอาศัย ซึ่งหากตรวจสอบแล้วก็จะมีการรับรองความปลอดภัยจากวิศกรวิชาชีพ ซึ่งกำลังประสานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) ลงไปร่วมตรวจสอบด้วย

สำหรับประเด็นอุบัติเหตุที่รถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสุรศักดิ์ นายชัชชาติ กล่าวว่า ที่ประชุมผู้บริหารยังได้ติดตามกรณีอุบัติเหตุดังกล่าว จากรายงานทางเอกชนแจ้งว่า ระบบไม่ได้มีปัญหา แต่ก็ได้ให้ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนสาเหตุด้วย

“อุบัติเหตุที่สถานีสุรศักดิ์ ก็เป็นห่วงได้ลงไปดู บันไดเลื่อนก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการคมนาคม คนใช้รถไฟฟ้าทั้งบนดินใต้ดิน ก็มีหลักหลายแสนคนต่อวัน จากที่ดูมีเหตุพิเศษจากปัจจัยอื่นที่ทำให้มีคนเข้ามาในสถานีจำนวนมาก ซึ่งจะต้องสอบสวนหาสาเหตุ ว่าเป็นเพราะระบบหรือไม่ รวมถึงต้องดูการบริหารจัดการ

กรณีนี้น่าจะคาดการณ์ได้ว่ามีคอนเสิร์ตที่อาจมีคนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก การบริหารจัดการอาจจะต้องทำตั้งแต่ก่อนขึ้นบันไดเลื่อนด้วยซ้ำในการจัดคิว การห้าม กรณีเช่นนี้อาจเกิดได้อีก เช่นรถไฟฟ้าหยุดเดินจะมีคนรอที่ชานชาลาลงมาที่ตัวสถานี มากกว่าปกติจึงต้องทบทวนวิธีการปฏิบัติด้วย ในกรณีเหตุพิเศษ หรือเหตุฉุกเฉิน โดยมีแนวทาง 2 ทาง คือ กทม.เองฐานะเจ้าบ้านก็ต้องเรียกประชุมเรื่องความปลอดภัยของการคมนาคม ดูใน 2 ส่วน ทั้งอุปกรณ์ การบริหารจัดการเหตุไม่ปกติ ขณะเดียวกัน ทางคณะกรรมการควบคุมสัญญา ดูเนื้อหาสัญญาว่าจะมีการบังคับเพิ่มเติมหรือไม่ ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บได้ฝากให้นายวิษณุ ดูแล

ทั้งนี้ อย่างที่ผมไป ไม่กล้าฟันธงว่าใครผิดหรอก เพราะมีหลายเหตุ ต้องฟังให้รอบด้าน ต้องมีการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ มีแผนเผชิญเหตุ รวมถึงผู้ปฏิบัติหน้างานต้องมีวิธีการปฏิบัติตอบสนองอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อป้องกันเหตุไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต “ ผู้ว่าฯกทม.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชัชชาติ ลุยกินเมนูปลาหมอคางดำ แนะคนกรุงจับมาทำอาหาร สั่งห้ามเลี้ยง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไลฟ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก โดยเขียนแคปชั่นระบุว่า “เมนู ปลาหมอคางดำ” เผยภาพครัวที่กำลังทำอาหารเมนูปลาหมอคางดำ

นายกฯ ควงผู้ว่าฯกทม. ตรวจคลองโอ่งอ่าง ชุมชนวอนช่วยกระตุ้นท่องเที่ยวให้คึกคักอีกครั้ง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ อาทิ นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางวันทนีย์ วัฒนะ

'วัชระ' ยื่น ป.ป.ช. สอบผู้ว่าฯกทม.-สก.ก้าวไกล เซ่นปมทุจริตจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย

นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึงนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และประธานกรรมการป.ป.ช. ทุกคนผ่านงานสารบรรณป.ป.ช. ในหนังสือร้องเรียนระบุว่าได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนให้ยื่นหนังสือกับสำนักงาน ป.ป.ช.

งามไส้! กทม.จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ราคาแพงยับ

เพจเฟซบุ๊ก "ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย" ได้โพสต์เนื้อหา การจัดชื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ โดยมีเนื้อหาใจความว่า กทม. จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย เครื่องละ 4 แสน เครือข่าย STRONG ต้านทุจริตประเทศไทยพบเห็นความผิดปกติ

'นิด้าโพล' เผยคนกรุงพอใจผลงาน 2ปี 'ชัชชาติ' ผลสำรวจชี้เกิน 40% ยังจะเลือกทำหน้าที่ต่อ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “2 ปี ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต

ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน

นายอัษฎางค์ ยมนาค  หรือ  เอ็ดดี้  นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า