กอนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

21 ส.ค. 2565- กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ดังนี้

ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 30/2565 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 20 – 24 สิงหาคม 2565 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและ

มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,600 – 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำ

สะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ 1,900 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงจำเป็น

ต้องปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ตามปริมาณน้ำที่ไหลเข้า

เขื่อนเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,500 – 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.80 เมตร ในช่วงวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำ

นอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สถานการณ์อุทกภัย

จากสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ในระหว่างวันที่ 15-20 สิงหาคม 2565 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 17 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด (อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น ชัยภูมิ และอุบลราชธานี) ดังนี้
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง มีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร

ลุ่มต่ำรวม 6 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางบาล บางปะหัน เสนา ผักไห่ และท่าเรือ) และ จังหวัดอ่างทอง (อำเภอป่าโมก)

ปัจจุบันกรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 1,500 ลบ.ม/วินาที

จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า คาดการณ์ว่าระดับน้ำในคลองโผงเผง และแม่น้ำน้อยจะลดลงตามปริมาณการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา

จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันคลองพระปรงและแม่น้ำปราจีนบุรียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

จังหวัดสระแก้ว มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบันระดับยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม ปัจจุบันระดับน้ำในคลองระบายน้ำยังทรงตัว หากไม่มีปริมาณฝนตก หนักเพิ่มเติม คาดว่าระดับน้ำจะเริ่มลดระดับลง

จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอชุมแพ คาดว่า ภายใน 3-5 วัน หากไม่มีฝนตกลง
มาเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติ

จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูเขียว ระดับน้ำในพื้นที่น้ำท่วมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีน้ำป่าจากเทือกเขาไหล
ลงสู่ลำน้ำเชิญ ปัจจุบันมีฝนในพื้นที่เล็กน้อย และสถานการณ์น้ำในลำน้ำ

ที่จุดสถานีวัดน้ำ E.85 มีระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำยืน และอำเภอเมือง คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-4 วัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตราดระทม! จมบาดาล 1 เมตร เดือดร้อน 3 พันคน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรักษ์คลองบางพระ ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนกิจสวัสดิ์ ถนนเทศบาล 3, 5 ถนนพัฒนาการปลายคลอง ถนนกิตติพัฒนา ซอยสืบแสวงทรัพย์ ซอยร่มไทร ซอยสุเหล่าแขกปลายคลอง ซอยสมจริง ซอยศาลเจ้าแม่ตาเหล ยังคงทรงตัว

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

สุดเซ็ง! ฟาร์มเลี้ยงนกกระทา อ.เมืองตราด น้ำท่วมสูง 60-80 ซม. นกตายไปกว่า 30 ตัว

ฟาร์มเลี้ยงนกกระทา หมู่ 2 ต.วังกระแจะ. อ.เมือง จ.ตราด  ของนายเจษฎา บัวหาญ หรือกาย ซึ่งเป็นฟาร์มนกกระทาที่มีเลี้ยงเพื่อขายไข่ส่งขายในตลาดจังหวัดตราด