13 ส.ค.2565 - นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้ย้ำว่ากรณีนายจ้างมีความกังวลในกรณีไม่อนุมัติบัญชีรายชื่อ (Name list) ขอชี้แจงว่าหากนายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อแล้วแม้จะยังไม่อนุมัติสามารถอยู่ทำงานได้ไปพลางก่อนได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงาน ส่วนสำหรับการอนุมัติบัญชีรายชื่อจะดำเนินการอนุมัติภายในวันที่ 15 ต.ค 65 เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องของแรงงานต่างด้าว เช่น รูปถ่าย อายุ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของนายจ้าง ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีข้อมูลผิดพลาดในหลายประเด็นนายจ้างและสถานประกอบการ จะต้องดำเนินการตามที่กรมการจัดหางานกำหนดไปตามห้วงเวลา โดยขณะนี้อยู่ในช่วงที่ 1 ที่นายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องเร่งลงทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบันทึกข้อมูลและขอรับชื่อผู้ใช้งานพร้อมรหัสผ่าน
จากนั้นยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบันของคนต่างด้าวซึ่งเห็นภาพใบหน้าชัดเจน แนบหลักฐานผู้รับมอบอำนาจจากนายจ้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เว็บไซต์ alienfivejuly.doe.go.th ภายใน 15 ส.ค. 65
ช่วงที่ 2 วันที่ 16 สิงหาคม - 15 ตุลาคม 2565 ชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารกรุงไทย โดยมีค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 900 บาท หลังจากนั้นยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ตามแบบ บต.50 พร้อมแนบเอกสารประกอบการยื่นคำขออนุญาตทำงานตามแบบ อ.4 โดยนายทะเบียนจะออกใบรับคำขออนุญาตทำงาน เพื่อให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานและใบเสร็จรับเงินที่ได้จากธนาคารกรุงไทย เป็นหลักฐานคู่กัน แสดงว่าได้รับการผ่อนผันให้ทำงานได้ จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน
ช่วงที่ 3 วันที่ 16 สิงหาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566 คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวพร้อมกับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม แสดงต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม
กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการที่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ในระหว่างที่ยังไม่เกิดสิทธิประกันสังคมต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข หรือซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชน ซึ่งต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการทำประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข
กรณีคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในกิจการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข และนำหลักฐานการทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าวมายื่นต่อนายทะเบียน เพื่อรับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงาน นำคนต่างด้าวไปดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ตรวจสุขภาพ 6 โรค ยื่นเอกสาร/พิจารณาอนุมัติในระบบ จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ
นายไพโรจน์ ได้ย้ำว่าเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 66 แล้ว หากประสงค์จะทำงานต่อไป ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ และยื่นขอตรวจลงตรา VISA ภายใน 13 กุมภาพันธ์ 66 เพื่อนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่เกิน 13 ก.พ. 67 ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 13 ก.พ. 68
ทั้งนี้นายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)
"พิพัฒน์" รมว. แรงงาน มอบ "มารศรี" เลขาธิการ สปส. รุดตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างประสบเหตุถังแก๊สระเบิดโรงงานเหล็ก จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลาประมาณ 09.40 น. เกิดเหตุการณ์ถังแก๊สระเบิด และเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย
“พิพัฒน์” นำกระทรวงแรงงาน Roadshow Matching งานให้คนไทย เพิ่มโอกาสทำงานต่างประเทศ เปิดที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA
“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี