ศูนย์จีโนมฯ พร้อมถอดรหัสพันธุกรรมจับ 'ลางยา' ไวรัสตัวใหม่ในจีน

12 ส.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เตรียมพร้อมถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อตรวจจับไวรัส “ลางยาเฮนิปาห์” (Langya henipavirus) หรือ “เลย์วี” (LayV) หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ในประเทศจีนแล้วกว่าสามสิบคน ด้วยเทคนิค “Metagenomic NGS หรือ mNGS”

นักวิทยาศาสตร์จากจีน สิงคโปร์ และออสเตรเลีย แถลงว่า ได้ตรวจพบไวรัส “ลางยาเฮนิปาห์” หรือ “เลย์วี” จากการสุ่มตรวจบรรดาผู้ที่มีอาการไข้ (febrile patients) ในภาคตะวันออกของจีน มีประวัติสัมผัสกับสัตว์ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร โดยผู้ติดเชื้อจะมีอาการเหนื่อยล้า ไอ สูญเสียความอยากอาหาร และปวดศีรษะ นอกจากนี้ยังมีอาการผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด รวมถึงความเสียหายของตับและไต

ผู้เชี่ยวชาญพบว่าไวรัสชนิดนี้อยู่ตระกูลเดียวกับไวรัสอันตราย นิปาห์ (Nipah) ที่พบในอินเดีย ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 40% แต่กลุ่มผู้ป่วยที่พบติดเชื้อ “ไวรัสลางยาเฮนิปาห์” ยังไม่พบว่ามีอาการรุนแรง โดยผู้ป่วยมีอาการคล้ายหวัดคือมีไข้ ไอ อ่อนเพลีย ปวดกล้าม เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดลดลง ในผู้ป่วยบางรายประสิทธิภาพการทำงานของตับถูกทำลายมาถึง 30-50% คาดว่าต้นตอของการระบาดหรือรังโรคมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนูผี เม่น และ ตุ่น

ทีมวิจัยได้ใช้เทคนิค “Metagenomic sequencing” หรือ “mNGS” ในการถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมพบ “ไวรัสลางยาเฮนิปาห์”จากตัวอย่างสวอปจากลำคอของผู้ป่วยรายแรก(index case) เมื่อปี 2561 เป็นสตรีอายุ 53 ปี ที่เมือง “ลางยา” ในมณฑลซานตง

จีโนมของไวรัสลางยา มีขนาดเล็กว่าไวรัสโคนา 2019 และไวรัสฝีดาษลิงมาก

ไวรัสลางยา จีโนมมีขนาด 18,402 นิวคลีโอไทด์ หรือเบส ในขณะที่

ไวรัสโคโรนา 2019 จีโนมมีขนาด 30,000 นิวคลีโอไทด์ หรือเบส และ

ไวรัสฝีดาษลิงมีจีโนมขนาดใหญ่มากประมาณ 196,858 นิวคลีโอไทด์ หรือเบส

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ได้ถอดรหัสพันธุกรรมสิ่งส่งตรวจจากการสวอปผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกับการติดเชื้อแต่ตรวจไม่พบจุลชีพต้นเหตุ โดยอาศัยเทคนิค “Clinical metagenomic next generation sequencing” หรือเรียกย่อ “Metagenomic NGS (mNGS)” มาตั้งแต่ปี 2562 ที่เริ่มมีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

“mNGS” เป็นเทคนิคการนำกรดนิวคลิอิกทั้งหมดจากสิ่งส่งตรวจไม่ว่าจะเป็น “ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ” ของไวรัสและจุลชีพต่างๆ มาสกัดจากนั้นนำไปถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อให้ทราบว่ามีจุลชีพหรือไวรัสชนิดใดอยู่ในตัวอย่างส่งตรวจบ้างและในสัดส่วนเท่าใด โดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลไวรัสและจุลชีพอ้างอิงประกอบการวิเคราะห์ “mNGS” เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพสามารถระบุสายพันธุ์หลัก สายพันธุ์ย่อย ทั้งจุลชีพและไวรัส ได้อย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมงทันต่อการป้องกันและรักษา

การใช้งานทางคลินิกมีหลากหลายเช่น การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ การติดตามการระบาด การเฝ้าระวังการควบคุมการติดเชื้อ การกลายพันธุ์และการค้นพบเชื้อโรคใหม่ และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับตัวอย่างส่งตรวจ เช่น ไม้สวอปจากลำคอ และจมูก น้ำไขสันหลัง เลือด สารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ ของเหลวในระบบทางเดินอาหาร และของเหลวจากตา เป็นต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กต่อ' สั่งนครบาลสอบด่วน! ป้ายซื้อขายพาสปอร์ต ผิดจริงฟันแน่

'ผบ.ตร.' สั่งตรวจสอบที่มาของป้ายโฆษณาภาษาจีน รับทำหนังสือเดินทาง-ขอสัญชาติต่างๆ กำชับ สตม. ตรวจสอบ คัดกรองคนต่างด้าว เจอกระทำผิดฟันตามกฎหมายทุกมิติ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ

จับตา! 'ไข้หวัดนก' ระบาดใหม่ 2 ราย ในกัมพูชา พบเด็กอุ้มซากไก่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กัมพูชาพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 รายใหม่ 2 ราย ในจังหวัดตาแก้ว

จับตายกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้า กังขาสภายกโขยงสัมพันธ์บริษัทจีน

นักวิชาการกังขา สภาฯ ดูงานบุหรี่ไฟฟ้าจีน ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทบุหรี่ เรียกร้องสังคมจับตา กมธ.เอาข้อมูลบริษัทบุหรี่มาอ้างยกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้า