'ผบ.ตร. ขานรับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กำชับทุกหน่วยออกแผนดูแลการชุมนุมห้ามก่อให้เกิดการแพร่เชื้อโควิด ดูแลประชาชน ฝ่าฝืนโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 40,000 บาท
3 ส.ค.2565 - พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กรณีตามคำสั่งของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงที่ 7/2565 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 เรื่องการปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ 2558 (ฉบับที่13) และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 เรื่อง ห้ามการชุมนุมทำกิจกรรมการมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(โควิด-19) (ฉบับที่15)
โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ศปม.ตร.) เป็นหน่วยปฏิบัติหลักในการกำหนด มาตรการคุ้มครองประชาชนอำนวยความสะดวกดูแลการชุมนุมและกำหนดมาตรการที่จำเป็นเหมาะสมและให้เป็นไปตามกฎหมาย ในการตรวจสอบระงับยับยั้งหรือยุติการชุมนุม การทำกิจกรรมหรือการมั่วสุมใน ลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พิจารณาความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ตามประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงนั้น
พล.ต.อ.สุวัฒน์แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดและมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงโดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ลงไปกำกับดูแลพร้อมกำชับการปฏิบัติของทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องซึ่งได้มีวิทยุสั่งการด่วนที่สุดแจ้งกำชับทุกหน่วยให้ความสำคัญในการตรวจสอบกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรค กิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่อาจเกิดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสและสามารถแพร่โรค ที่ยังคงจำเป็นต้องห้ามดำเนินการและห้ามจัดกิจกรรมดังกล่าวเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่พิจารณาในแต่ละกรณี รวมถึงการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ย่อมกระทำได้ ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม พร้อมให้ตรวจสอบการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคหรือกระทำการอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชนหรือการกลั่นแกล้ง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งมอบหมายผู้รับผิดชอบให้มีอำนาจดังนี้ 1. มอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ในฐานะผู้รับผิดชอบส่วนปฏิบัติแต่ละพื้นที่ภายใต้บังคับบัญชาของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ออกแผนการดูแลการชุมนุมการทำกิจกรรมหรือการมั่วสุม แผนการป้องกัน สถานที่สำคัญโดยกำหนดมาตรการคุ้มครองประชาชนอำนวยความสะดวกดูแลการชุมนุมและกำหนดมาตรการที่จำเป็นเหมาะสมและให้เป็นไปตามกฎหมายโดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลอดจนการนำเครื่องมือควบคุมฝูงชนมาใช้เพื่อตรวจสอบระงับยับยั้ง หรือยุติการชุมนุม การทำกิจกรรมหรือการมั่วสุม
กรณีการชุมนุมตั้งแต่ 1 สิงหาคม 65 ให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุมหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม
2. ให้ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติในภาพรวมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยให้พิจารณาตามมาตรการและเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่และอำนาจอย่างเข้มข้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างทันท่วงทีทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกว่าความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
รองโฆษกตร.กล่าวอีกว่า หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติการตามประกาศคำสั่ง ข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นจะมีโทษตามพรกการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ 2548 มาตรา 48 จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
อีกทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้กำชับให้ทุกหน่วยในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับหน่วยร่วมปฏิบัติในพื้นที่ออกตรวจสอบสถานประกอบการแหล่งมั่วสุมหรือสถานที่ที่มีประชาชนแออัดจำนวนมาก หากพบการฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้กำชับตำรวจทุกนายห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทุกรูปแบบไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม หากตรวจสอบพบว่าพื้นที่ใดปล่อยปละละเลยหรือหย่อนยานจะพิจารณาดำเนินการทั้งวินัยและอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับไม่มีข้อยกเว้น
พร้อมขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสถานประกอบการปฏิบัติตามคำสั่งประกาศข้อกำหนดตามที่ ศบค.คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพฯหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ที่ได้ประกาศออกมาและติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส หากพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด สามารถแจ้งไปยัง Call Center สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 191 หรือ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.ไฟเขียว ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีก 3 เดือน
16 ม.ค.2567 - นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (16 ม.ค.2567)
ตร.ไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพฉวยวันฮาโลวีนอ้างแจกของฟรี หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว
พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า จากสถิติการรับแจ้งความผ่านศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์พบว่า ในช่วงที่ผ่านมายังคงมีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายสินค้า และบริการออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
ตร.ไซเบอร์ เปิด 7 รูปแบบเพจเฟซบุ๊กปลอม ที่มิจฉาชีพใช้หลอก ปชช.
จากการตรวจสอบจากศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่าสามารถแบ่งรูปแบบของเพจ เฟซบุ๊กปลอมที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกลวงประชาชนได้ จำนวน 7 รูปแบบ
ตร.ไซเบอร์เตือน ขรก.เกษียณอายุ โจรออนไลน์จ้อง
โฆษก บช.สอท.เตือนข้าราชการเกษียณระวังตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ แนะกฎเข้ม 9 ข้อ
ตำรวจเตือน 3 ภัยออนไลน์ ระวัง ข้าราชการเกษียณ สูญเงิน
พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ตามที่ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีข้าราชการต่างๆ ครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่าเกษียณอายุราชการนั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีมิจฉาชีพมักนำมาใช้หลอกลวงประชาชน
ตร.ไซเบอร์เตือนภัย! โจรปลอมบัญชีไลน์อาจารย์หลอกให้กู้เงิน กยศ.
ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมบัญชีไลน์อาจารย์หลอกลวงนักศึกษาให้กู้เงินกองทุนให้กู้กู้ยืมเพื่อการศึกษา!