29 ก.ค.2565 - ที่ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานจัดงานวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลกประจำปี 2565 “TIGERS NEXT GEN เสือโคร่งต้องไปต่อ
นายวราวุธ กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับคำชื่นชมจากต่างชาติเป็นอย่างมาก และได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเอเชียที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่าชนิดอื่นที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก การจัดทำแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งมีมาตรฐานระดับสากล ด้วยศักยภาพและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ พื้นที่แรกที่มีการนำระบบนี้มาใช้คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยหลักของเสือโคร่งและยังเป็นพื้นที่มรดกโลก ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ แสดงให้เห็นว่าประชากรเสือโคร่งมีจำนวน 42 ตัว เมื่อปี 2553 เพิ่มเป็น 100 ตัว ในปี 2565
ด้าน นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ประชากรเสือโคร่งในประเทศไทยเวลานี้ สำรวจในป่าธรรมชาติทั้งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จากหลักฐานภาพถ่าย รอยตีน และร่องรอยต่างๆ คาดการณ์ว่า มีปริมาณ 148-189 ตัว ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้การที่เสือโคร่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หมายความว่า สัตว์อื่นๆ ที่เป็นเหยื่อของเสือโคร่ง ก็ต้องมีจำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการของเสือโคร่ง ดังนั้น การอนุรักษ์เสือโคร่ง จึงมีความหมายต่อการรักษาผืนป่าขนาดใหญ่อันเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ส่งผลต่อความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่นั้นๆ ในภาพรวมปริมาณเสือโคร่ง
ทั้งนี้เพจเฟซบุ๊ก Thailand Tiger Project DNP โครงการวิจัยเสือโคร่งในประเทศไทย ระบุว่า 29 กรกฎาคม ของทุกๆปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วันเสือโคร่งโลก” แต่ปีนี้มีความพิเศษเกิดขึ้น คือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ผู้นำด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า จัดทำ “แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง ๒๕๖๕-๒๕๗๗” (แผนฯเสือ)
“ประเทศไทยมีประชากรเสือโคร่งเพิ่มมากขึ้นและมีการกระจายไปยังกลุ่มป่าเป้าหมายอื่นๆนอกเหนือจากกลุ่มป่าตะวันตก” คือเป้าหมายปลายทางของแผนฯเสือ ฉบับล่าสุดซึ่งได้มีการระบุถึงกิจกรรมต่างๆที่ควรมีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนฯ
การลาดตระเวนดูแลพื้นอย่างมีมาตรฐาน การศึกษาวิจัยเพื่อให้มีข้อมูลสนับสนุนการอนุรักษ์เสือโคร่งไทย รวมถึงเร่งฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในพื้นที่เป้าหมาย ล้วนเป็นกิจกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนแผนฯ ซึ่งมีภาครัฐเป็นหลักโดยมีองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เป็นหน่วยสนับสนุนเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้งานบรรลุผลสำเร็จจนถึงเป้าหมายปลายทางได้ตามกำหนด
แล้วในส่วนของภาคประชาชนทั่วไป “จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งไทย ได้อย่างไร” เป็นคำถามที่น่าสนใจและควรรู้คำตอบ
เสือโคร่งวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความสำคัญและมีความท้าทายต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรเสือโคร่งไทย ตั้งแต่ได้มีการติดตามศึกษาเสือโคร่งที่ห้วยขาแข้งอย่างยาวนาน ผลของความรู้ที่ได้จากการศึกษาทำให้เห็น ภาพหนึ่งที่ชัดเจนมากคือ “การสูญเสียเสือโคร่งวัยรุ่น ไปจากระบบธรรมชาติ” ซึ่งมีทั้งที่รู้สาเหตุและไม่อาจหยั่งรู้ แต่ก็คาดการณ์ได้อย่างผิดพลาดน้อยมาก สำหรับสาเหตุของการ สูญหายไป
แล้วถ้าประชาชนคนทั่วไป ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชายป่าหรือเคยเป็นป่า อีกทั้งมีพื้นที่ทำกินอยู่บนเส้นทางการร่อนเร่พเนจรของเสือโคร่งวัยรุ่นเพื่อหาพื้นที่ตั้งหลักแหล่งหากิน จะทำใจอนุญาตให้เสือโคร่งวัยรุ่นเหล่านั้นจรผ่านไปอย่างปลอดภัยได้หรือไม่
ส่วนประชาชนคนทั่วไปที่ไม่มีโอกาสเจอะเจอ รอย หรือตัวเสือโคร่ง ในธรรมชาติอาจเนื่องจากเป็นคนเมือง ถ้าท่านเหล่านั้นพยายามเข้าใจบริบทและหน้าที่ของเสือโคร่งในธรรมชาติ แล้วส่งต่อความเข้าใจให้กระจายอย่างกว้างขวาง การเดินทางของเสือโคร่งวัยรุ่นจะมีความปลอดภัย มากขึ้นหรือไม่
ท้ายสุดหวังว่า ประชาชนคนทั่วไป จะสามารถหาคำตอบที่เหมาะสมให้กับตัวเองเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์เสือโคร่งให้คงอยู่คู่ป่าไทย “สวัสดีวันเสือโคร่งโลก”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ลุงโชค' ย้อนยุคสงครามคอมมิวนิสต์ ถึงเขตป่าทับลาน ทับซ้อน 'หมู่บ้านไทยสามัคคี'
นายโชคดี ปรโลกานนท์ หรือ ลุงโชค อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ผู้ฟื้นผืนป่าเขาแผงม้า เจ้าของ ‘สวนลุงโชค’ บ้านคลองทุเรียน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ลันตาดูแลเข้ม'พะยูน' แจ้งระมัดระวังใกล้พื้นที่แหล่งหากิน
กรมอุทยานแห่งชาติฯ ดำเนินมาตราการอนุรักษ์พะยูน แจ้งประชาชนชะลอความเร็วเมื่อใกล้แหล่งหากินของพะยูน
'ปลอดประสพ' ฟันฉับ สปก.รุกที่เขาใหญ่ อาจมีคนผิดม.157 เตือนการเมืองอย่ายุ่ง
นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กกรณี สปก.ประกาศที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ว่า
'พัชรวาท' มอบผู้ช่วยลงพื้นที่ กรมอุทยานฯสอบปมหมุดนิรนาม ที่ดิน ส.ป.ก. รุกป่าเขาใหญ่
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีพิพาท จุดหมุดนิรนาม ส.ป.ก. 4-01 ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ว่า เมื่อวันที่ 18ก.พ. ได้มอบหมายให้ ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร
'วราวุธ' สุดปลื้ม มดชนิดใหม่ของโลกชื่อ 'มดท็อป' สะท้อนการทำงานเป็นทีม
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้ามอบป้ายข้อมูลอนุกรมวิธาน “มดท็อป” โดยนายวราวุธ เปิดเผยว่า เมื่อต้นปี 2567
'พวงเพ็ชร' เผยครม.ไม่ได้หารือ 'กระเช้าขึ้นภูกระดึง' แต่เห็นชอบหลักการงบกลุ่มจังหวัด
นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการขออนุมัติงบประมาณในการเขียนแบบก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย