นายกฯ เผย ครม.เห็นชอบเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่งเฟส 5

26 ก.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐนตรี (ครม.) ว่า การประชุม ครม.วันนี้มีเรื่องพิจารณาที่สำคัญ โดยเฉพาะการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการขับเคลื่อนประเทศท่ามกลางวิกฤตที่ยังคงอยู่ในโลก เรื่องแรกคือ มาตรการช่วยเหลือ ลดภาระค่าใช้ครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นการใช้เงินกู้ ในปี 64 ต่อเนื่องมา 2 ปีกว่า จนถึงปัจจุบัน โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ช่วยเหลือเยียวยาด้านเศรษฐกิจ ให้แก่ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย แรงงานประกันสังคม ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ กว่า 45 ล้านคนวงเงินประมาณ854,000 ล้านบาท รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการจ้างงาน วงเงินประมาณ 280,000ล้านบาท

นายกฯ กล่าวว่า โดยครม.พิจารณาเห็นชอบการเติมเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ที่ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตัง ผู้ไม่มีสมาร์ทโฟนและผู้มีภาวะพึ่งพิงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นระยะเวลา 2 เดือน วงเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน รวมเป็น 400 บาท ตั้งแต่เดือนก.ย. - ต.ค.

นายกฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ครม. ยังพิจาณาเห็นชอบโครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ให้ใช้สิทธิ 2 เดือนวงเงิน 800 บาทต่อคน โดยใช้ได้ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน โดยทั้ง 2 โครงการ จะเริ่มใช้สิทธิได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยให้มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ เศรษฐกิจจะได้ไม่ติดขัด เกิดเงินหมุนเวียนในระบบขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

นายกฯ กล่าวว่า สำหรับเรื่องการขับเคลื่อนประเทศ อย่างต่อเนื่องไม่ให้สะดุด และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลก โดยเฉพาะการผลักดันบทบาทของประเทศไทยให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งตนไม่ได้บังอาจว่าจะใหญ่ที่สุด ดีที่สุด ไม่ใช่ แต่ให้เป็นแห่งหนึ่งของโลก ให้มีความก้าวหน้าให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งครม.เห็นชอบมาตรการทางภาษีเพิ่มเติมคือ 1. การลดอัตราภาษีประจำปีลงร้อยละ 80 จากอัตราที่กำหนดตามขนาดของรถเป็นระยะเวลา 1ปี สำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2565 ถึง 30ก.ย. 2568 ซึ่งคาดว่าจะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวมากกว่า 128,000 กว่าคัน

นายกฯ กล่าวว่า มาตรการที่ 2 การยกเว้นอากรศุลกากร สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ได้แก่ รถยนต์นั่งทั่วไป รถยนต์โดยสารสำหรับไม่เกิน 10 คน รถกระบะแบบพลังงานไฟฟ้าที่ประกอบผลิตในประเทศ ตั้งแต่วันที่ร่างประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31ธ.ค. 2568 ซึ่งปัจจุบันรถยนต์แบบแบตเตอรี่ไฟฟ้ายังไม่มีการผลิตภายในประเทศ แต่เราก็เตรียมการเพื่อสนับสนุนในการผลิตในประเทศไทย โดยทั้ง 2 มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งในหลายมาตรการที่รัฐบาลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ที่ตนได้ประกาศเป้าหมายพลิกโฉม การผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และฝุ่น PM 2.5 ในอากาศแล้ว ยังช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ

นายกฯ กล่าวว่า โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re- Open เพื่อธุรกิจโรงแรมและSuppply Chain ของโรงแรมต่าง ๆ ให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอเป็นเงินในฟื้นฟูกิจการให้สามารถกลับมาดำเนินการธุรกิจต่อไปได้

นายกฯ กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ทั้งในระบบและนอกระบบ การลงจากต่างประเทศในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยี การฝึกฝีมือแรงงาน การให้ความรู้ต่างๆ นั้น ครม.ได้พิจารณาและอนุมัติการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว สำหรับผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริงไม่สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่ได้มีการปรับมามากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งปรับครั้งสุดท้ายในปีการศึกษา 2553 ทั้งนี้มีหลายอย่างที่ต้องสนับสนุนเพิ่มเติมต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท ซึ่งเป็นภาระผูกพันงบประมาณต่อไปในอนาคต

นายกฯ กล่าวว่า ครม.ได้พิจารณา ร่างแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565 – 2570 หรือ AI ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีสำคัญสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภาพรวมในวันข้างหน้า เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' แค่พยักหน้า ปม รพ.ตร. ไม่ยอมส่งเวชระเบียน 'พ่อนายกฯ' ให้ ป.ป.ช.

'นายกฯอิ๊งค์' ปฏิเสธตอบคำถาม ปม รพ.ตำรวจ ไม่ส่งเวชระเบียนรักษาตัว 'ทักษิณ' หลัง ‘ป.ป.ช.’ ทวงแล้ว 3 ครั้ง ทำแค่พยักหน้ารับทราบ

เอ็มโอยู44-เอื้อนายทุน จุดจบรัฐบาลไม่ครบเทอม

หากอ้างอิงข้อมูลจากนิด้าโพลเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา หัวข้อ รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ อยู่ครบเทอมหรือไม่ โดยประชาชนมากกว่า 57.71% มองว่าอยู่ไม่ครบเทอม ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละ

'กกร.เชียงใหม่' จ่อชง 'ครม.สัญจร' เยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม

นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้