26 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันง่ายแบบที่เราเห็นในโควิด แม้ว่ากลไกการแพร่จะเป็นในลักษณะแบบเดียวกันคือ การสัมผัสใกล้ชิด โดยเฉพาะ ขณะมีเพศสัมพันธ์ สัมผัสกับผื่น (ยกเว้นที่เป็นสะเก็ดแล้ว) แพร่ทางละอองฝอย ไอ จาม และการแพร่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคนติดเชื้อเริ่มมีอาการแล้ว (ไช้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ตามด้วยผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต)
ฝีดาษลิงเตรียมพร้อมที่จะมีการปะทุขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในทุกประเทศทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษหรือฝีดาษซึ่งสามารถมีภูมิคุ้มกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้อย่างน้อยถึง 85%
แต่การฉีดวัคซีนไข้ทรพิษได้มีการยุติลงในปี 2523 ทั้งนี้เนื่องจากถือว่าไข้ทรพิษได้สูญไปจากโลกแล้ว ดังนั้นคนที่เกิดก่อนปี 2523 ในประเทศไทย ซึ่งน่าจะมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป น่าจะยังมีภูมิคุ้มกันฝีดาษลิงอยู่ได้ แต่ไม่ทั้งหมด
ทั้งนี้ เมื่ออ้างอิงตามหลักฐานที่มีการศึกษารายงานในวารสารนิวอิงแลนด์ในปี 2007 ศูนย์สัตว์จำพวกลิงในรัฐโอเรกอนของประเทศสหรัฐ โดยเป็นการศึกษาระยะยาวในเจ้าหน้าที่ 45 คนและทำการติดตามภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนไปยาวเฉลี่ย 15 ปีหรือนานกว่า พบว่า 60% ยังคงมีภูมิคุ้มกันต่อฝีดาษลิงได้ หลังจากที่ฉีด วัคซีนไข้ทรพิษแล้ว
โดยที่ประเมินว่าภูมิที่ยังเหลืออยู่นั้น ควรจะมีระยะเวลาที่ใช้ได้อยู่ถึง 90 ปีจากการดูหลักฐานในเซลล์ความจำระบบ B cell และระดับของภูมิในน้ำเหลือง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยืนยาวได้ทั้งหมดทุกคนที่มีภูมิคุ้มกันหลงเหลืออยู่ ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของ ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะถดถอยลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น สถานะภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity)ที่ได้รับจากวัคซีนไข้ทรพิษ ทั้งใน อาฟริกา และทั้งโลก น่าจะเริ่มเสื่อมโทรมไป
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันปาสเตอร์ได้ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ รายงานใน bulletin ของ องค์การอนามัยโลกในปี 2020 และได้ข้อสรุป และตั้งข้อสังเกตว่าฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แปรตาม สัดส่วนของภาวะภูมิคุ้มกันที่เริ่มลดลงในประชากรในประเทศแอฟริกา เช่น คองโก หลังจากที่หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้ และเริ่มเห็นการระบาด หนาตาขึ้นเรื่อยๆ
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเหมือนกับเป็นการนับวันรอปะทุ โดยที่ความสามารถในการแพร่จากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นที่เดิมน้อยกว่าหนึ่ง ประมาณ 0.7-0.8 นั่นคือ คนติดเชื้อหนึ่งคน สามารถแพร่ต่อไปหาคนอื่นได้น้อยมาก แต่อาจจะสูงขึ้น เป็นมากกว่าหนึ่ง และนั่น หมายถึง การระบาดแพร่กระจายจะไม่จบสิ้นในเวลาอันรวดเร็ว (sustained transmission)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' ไขข้อข้องใจโรคไอกรนที่แพร่ระบาดหนักช่วงนี้
ศ.ดร.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
รู้ทัน 'โรคฝีดาษวานร' โรคระบาดป้องกันได้!
แม้ในขณะนี้สถานการณ์ของโรคฝีดาษวานรในประเทศต่างๆ ดีขึ้น จำนวนผู้ป่วยลดลงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แต่ในประเทศแถบแอฟริกากลางโดยเฉพ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
'หมอยง' ชี้โควิดปีนี้พีกสุดเดือนสิงหาคม!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'หมอธีระวัฒน์' เผยเป็นโรคกระดูกและข้ออักเสบ ใช้กัญชาพื้นบ้าน โรคสงบโดยไม่ได้ใช้ยาแก้ปวด
'หมอธีระวัฒน์' ย้ำ กันชง กัญชา มีประโยชน์ทางการแพทย์ มีตำรับ ตำราแพทย์แผนไทยมากมาย คนไทยน่าส่งเสริมในการใช้สมุนไพรเหล่านี้ เผยตนเองเป็นโรคกระดูกและข้ออักเสบ ใช้กัญชาพื้นบ้านโรคสงบโดยไม่ได้ใช้ยาแก้ปวด