กองอำนวยการน้ำแห่งชาติสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย เลย ชัยภูมิ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และพังงา
25 ก.ค.2565-เพจกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สุโขทัย (122 มม.) จ.ชัยภูมิ (79 มม.) และ จ.ตราด (74 มม.) พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย เลย ชัยภูมิ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และพังงา แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 45,574 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,596 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง)
กอนช. ติดตามสถานการณน้ำหลังประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 21/2565 เฝ้าระวังพื้นที่น้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักและหนักมาก บริเวณลุ่มน้ำน่านและลำน้ำสาขา รวมถึงแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำป่าสัก และจากการคาดการณ์โดยกรมชลประทาน (ชป.) ในวันที่ 27 ก.ค. 65 ที่สถานี C.2 อ.เมืองจ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 900-1,000 ลบ.ม./วินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ที่สถานี C.19 มีปริมาณ 150 ลบ.ม./วินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 1,050-1,150 ลบ.ม./วินาที ชป. มีความจำเป็น ต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 850-1,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.60-0.80 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผงจ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และบริเวณแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือในพื้นที่ 4 จังหวัด (พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง และอุตรดิตถ์) 6 ลุ่มน้ำ หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมอย่างทันท่วงที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
9 ชุมชนในหาดใหญ่ขึ้นธงเหลืองแล้ว
สถานน้ำในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ขณะนี้มีการขึ้นธงเหลืองแล้ว 9 ชุมชน แต่ระดับน้ำคลองอู่ตะเภาและคลองภูมินาถดำริยังปลอดภัย
ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วไทย ภาคกลางแนวโน้มดี คืบหน้าเยียวยา-ฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ยังตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงนี้
เช็กเลย! สถานการณ์น้ำในพื้นที่ กทม. ปริมาณฝนรอบ 24 ชม.
เพจเฟซบุ๊ก "กรุงเทพมหานคร" อัปเดตสถานการณ์น้ำในพื้นที่ กทม. ประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ดังนี้ ปริมาณน้ำผ่านจุดสำคัญ
'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน
'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู
เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่
สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร
'เขื่อนเจ้าพระยา' ระบายน้ำเพิ่มอีก 2 พันลบ.ม. ท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 3 จังหวัด
หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายน้ำในอัตรา 1,899 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ติดต่อกัน 6 วัน และได้มีการปรับเพิ่มระบายน้ำแบบขั้นบันได