21 ก.ค.2565 - นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ภาพพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำพร้อมเขียนข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ฝนตกหนักแบบคืนนี้ (20 ก.ค.) ลองนึกภาพให้มีแก้มลิงบนดินแบบที่เคยวางแผนกันไว้แบบที่ในหลวงเคยทำไว้ให้ดูที่บึงหนองบอน กับบึงมักกะสัน หรือล่าสุดคือสวนเบญจกิติในพระพันปีหลวง มันจะลดน้ำท่วมได้เยอะมาก และนอกจากลดน้ำท่วมแล้ว ในช่วงฝนไม่ตก ก็ยังเอาน้ำมาใช้รดน้ำต้นไม้ต่อได้ ทำเกษตรชุมชนได้ ช่วงหน้าแล้งก็เก็บเป็นน้ำสำรองได้
แต่ที่ กทม.ทำมาหลายปี ดันไปเร่งทำแก้มลิงใต้ดินแบบบ่อปูนแพงๆที่ชะลอน้ำได้น้อยมาก แถมต้องใช้ไฟฟ้าโคตรเยอะ ไอ้แก้มลิงบ่อปูนที่ว่า ก็คือที่เจาะถนนจนพรุนทั่วกรุง แถมมีทรุดด้วยนั่นแหละ ตอนจบ น้ำที่ชะลอไว้ ก็เอาไปทิ้งทะเลซะ 100% ไม่ฉลาดคิดเลยครับ
ไม่ได้บอกว่าห้ามทำแก้มลิงใต้ดินนะครับ แต่ กทม.ควรทำสิ่งที่จ่ายน้อยแล้วได้มากก่อน ไม่ใช่เลือกจ่ายแพงๆแล้วประโยชน์นิดเดียว
นายพงศ์พรหม โพสต์เฟซบุ๊กอีกว่า ผมจะมาแชร์ตัวอย่างของพื้นที่กลางกรุงเทพ ทำไมบางที่ท่วม และทำไมบางที่ไม่ท่วม กรุงเทพไม่ได้แบนครับ กรุงเทพเป็นพื้นที่สูง-ต่ำเหมือนเมืองอื่นๆในไทย และในโลก ปัญหาคือการตัดถนน ทำคอนโด ทำตึกสำนักงานไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้เลย ผมเทียบง่ายๆ คอนโดแถวสุขุมวิท 39 ยันทองหล่อ แสนแพง แต่จ้างให้ผมก็ไม่ไปอยู่ เพราะสุขุมวิทฝั่งเลขคี่ตั้งแต่อโศกยันเอกมัย มันท่วมมานานแล้วครับ ผมเดาว่าที่ต่ำ ไม่ก็เป็นแอ่งร่องน้ำ แต่แค่ตรงข้ามสุขุมวิท 39 คือสุขุมวิท 24 น้ำกลับไม่ค่อยท่วม หรือถ้าโดนหนักๆก็ท่วมน้อยมาก
เพราะอะไร? ปัญหาคือสุขุมวิท 39 เป็นที่ต่ำแต่เดิม แถมทางระบายน้ำใกล้สุดคือคลองแสนแสบ ซึ่งอยู่ทิศเหนือ น้ำในไทย ไม่ไหลจากใต้ขึ้นเหนือครับ ตรงท้ายสุขุมวิท 39 ก็ดันเป็นซอยหักเลี้ยวอีก การระบายน้ำยิ่งยาก ฝนตกทีไร ตรงนี้จะท่วมหนักมาตั้งแต่ผมจำความได้ ล่าสุดไปสร้างแก้มลิงใต้ดินไว้ท้ายซอย ตรงที่จะไปออกถนนเพชรบุรีตัดใหม่ก่อนถึง Fuji ก็เห็นว่ายังท่วมอยู่ดี
ส่วนสุขุมวิท 22-24-26 นั้น ระบายลงตามทิศธรรมชาติคือทิศใต้ ซึ่งลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้เลย สุขุมวิท 22-26 น้ำจึงไม่ค่อยท่วม เมื่อเทียบกับฝั่งตรงข้าม
มาฝั่งอโศกบ้าง อโศกใต้ รวมถึงเพลินจิตยันสุขุมวิท 14 ก็เป็นอีกที่ที่ฝนตกให้ตายก็น้ำไม่ท่วม เพราะอะไร? เพราะมีแนวคลองไผ่สิงห์โตคาดยาวรับน้ำเริ่มที่สวนลุม ผ่านชุมชนโปโล ลอดใต้ทางด่วนยาวมาตลอดสุดซอยสุขุมวิท 2 ยัน 14 แถมเอาน้ำไปลงที่แก้มลิงยาสูบ ซึ่งปัจจุบันมี wetland ของสวนเบญจกิติมาช่วยเพิ่มการรองรับน้ำอีก ตกให้ตายก็ไม่ท่วมครับ
บางใหญ่ก็เป็นอีกที่ที่เป็นร่องน้ำตามธรรมชาติ แต่โกงกันจนปล่อยให้สร้างหมู่บ้านจนผิดผังเมือง ตรงนั้นน้ำเหนือมาทีไร น้ำท่วมมิดหัวทุกหมู่บ้าน ปัญหานี้ไม่มีวันแก้ได้ คนไปซื้อบ้านตรงนั้นก็โดนหลอกไป การจะซื้อคอนโด เช่าคอนโด ผมจะแนะนำให้ศึกษาสิ่งเหล่านี้ก่อน เมืองนอกเขาจะมีข้อมูลแบบนี้เปิดให้ประชาชนศึกษาฟรี แต่เมืองไทยไม่มี ก็ต้องมาค้นคว้าเอง จะอยู่สบาย และไม่ลำบากครับ
"ทางออกคือ 1.เร่งทำแก้มลิงล้อมกรุงเทพ ตรงนี้ในหลวง ร.9 ท่านเร่งรัดหลายครั้งแล้ว แต่ กทม. และกรมโยธาธิการ และผังเมืองยังช้าอยู่ 2. เร่งทำคลองส่งน้ำขนานวงแหวนรอบ 3 ฝั่งตะวันออก 3. เร่งทำเมืองฟองน้ำในกรุงเทพ เพื่อให้น้ำฝนที่ตกลงมามีที่ไป 4. ตัวอย่างที่ดี คือสวนจุฬา 100 ปี สวยเบญจกิติ รวมถึงการต้องรีบเปลี่ยนเกาะกลางถนนทุกสายให้เป็นการสร้างแบบ Bioswale"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ปราโมทย์ ไม้กลัด' ดึงสติคนกทม.-ปริมณฑล ไม่ต้องกังวลปัญหาน้ำท่วม
อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา มาตลอดจนถึงวันนี้ 8 ตุลาคม
'ดร.เอ้' ชี้แก้น้ำท่วมกรุงเทพแบบฉาบฉวยช่วยไม่ได้ ต้องปรับโครงสร้างแก้ปัญหาระยะยาว
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า เอ้ สุชัชวีร์ ว่า
นายกฯ ตรวจศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม. เล็งลงพื้นที่ชุมชนเปราะบาง ยันไปตรวจสอบไม่ใช่จับผิด
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมการป้องกันและรับมือน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า จริงๆแล้ววันนี้มาให้กำลังใจ เพราะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และหน้าฝนปีนี้มาเร็ว
นายกฯ ถกรับมือน้ำท่วมกรุงเทพฯ 'ชัชชาติ' แจงราชทัณฑ์เร่งลอกท่อ-กองทัพช่วยขุดลอกคลอง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมนายกฯโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียว่า “หารือกับมหาดไทย กลาโหม ยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ กรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เ
คลองผดุงฯกลับมาเน่า! ฝากผู้ว่าฯชัชชาติ แก้ปัญหาคลองด้วยระบบหมุนเวียนน้ำ
เพจเฟซบุ๊ก โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure โพสต์ภาพและข้อความว่า คลองผดุงกรุงเกษม กลับมาเน่าเหมือนเดิม...จากคลองสวย แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ กลางกรุงเทพ ฝากผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แก้ปัญหาคลองเน่า ด้วยการหมุนเวียนน้ำ (Flushing)