14 ก.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยภาพเปรียบเทียบ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี เมื่อคืนนี้ คืนอาสาฬหบูชา 13 ก.ค.65 บันทึกจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา กับดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 18 ม.ค.65
"ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี" หรือ "ซูเปอร์ฟูลมูน" (Super Full Moon) ในปีนี้ เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ก.ค.65 เวลา 01.39 น. ของวันที่ 14 ก.ค.65 มีระยะห่างจากโลก 357,256 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และสว่างกว่าประมาณ 16%
แม้ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง สำหรับ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในปีถัดไปจะตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สดร. เปิดเทศกาลชมดาว รับลมหนาว เริ่ม 2 พ.ย.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนคนไทยดูดาวหนาวนี้ เริ่มกิจกรรมแรก 2 พฤศจิกายน 2567 กับการ“เปิดเทศกาลชมดาว…รับลมหนาว”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯชวนคนไทยรับชมดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส
เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ในวันใกล้โลกที่สุด
'หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน- ดวงจันทร์ส่องแสงมาที่ฉัน' ดินดวงจันทร์ การค้นพบช่วงเวลาที่ขาดหายไป
ปัจจุบันมีหลายประเทศให้ความสนใจกับการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะการสำรวจดวงจันทร์ ซึ่งประเทศมหาอำนาจต่างก็กำลังวางแผนไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวม
'จุฬาราชมนตรี' ประกาศ 12 มี.ค. วันแรกเดือนรอมฎอน เริ่มต้นถือศีลอด
นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ออกประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่องกำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 โดยมีใจความว่า
ประเดิมรับลมหนาว! หอดูดาว 5 แห่ง จัดชมปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 3 พ.ย.นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า 3 พฤศจิกายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนคนไทยส่อง #ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
สดร. เปิดภาพปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคาบางส่วน'
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ต่อเนื่องคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หรือเช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ