เรื่องเล่าจากคนเฝ้าป่า เสือโคร่งตัวที่ 2 แห่งป่าแก่งกระจาน กับความหวังพบตัวที่ 3

9 ก.ค.2565 - นายมานะ เพิ่มพูล ผู้อำนวยการส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โพสต์เฟซบุ๊กเขียนถึงเสือโคร่งตัวที่ 2 แห่งป่าแก่งกระจาน ระบุว่า ความพยายามค้นหาเสือโคร่งในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานทำกันมาอย่างต่อเนื่องหลายปีด้วยความหวังจะเป็นพื้นที่แหล่งอนุรักษ์พันธุ์เสือโคร่งอีกแหล่งหนึ่งเพราะเป็นผืนป่าที่มีขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับป่าในประเทศเมียนมาร์

ผมจำได้ว่าตอนที่เข้ามารับงานที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานช่วงปีพ.ศ 2559 รับทราบข้อมูลว่ามีการบันทึกภาพเสือโคร่งเพศเมียได้ในบริเวณต้นน้ำเพชรบุรีเขาพะเนินทุ่งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จากการสำรวจของอุทยานแห่งชาติกับทีมวิจัยเขานางรำ และเป็นตัวเดียวที่บันทึกภาพได้มาโดยตลอด

ขณะเดียวกันก็ได้ยินเรื่องเล่าจากเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าว่าเคยมีการล่าเสือโคร่งล่องแพลงมาในแม่น้ำเพชรบุรีผ่านบ้านโป่งลึกและบางกลอย ก่อนหน้าที่ผมจะมาทำงานที่แก่งกระจาน

ด้วยความเชื่อว่าในผืนป่าแก่งกระจานยังคงมีเสือโคร่งอาศัยอยู่มากกว่า 1 ตัว จึงคิดว่าอยากจะหาการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนด้านการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่า ด้วยข้อจำกัดที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีกล้องถ่ายภาพอัตโนมัติเหลืออยู่เพียงตัวเดียว ที่ยืมมาจากหัวหน้าธรรมนูญ ประกอบกับจากการลาดตระเวนพื้นที่ต้นน้ำห้วยแม่ประโดน ที่ค่อนไปทางอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันมีรายงานพบซากกองกระดูกของกวางป่าเป็นจำนวนมากตายโดยไม่รู้สาเหตุและไม่น่าจะเป็นการล่าของพรานเนื่องจากอยู่ลึกไม่เคยมีเส้นลาดตระเวนพาดผ่านไปก่อน

ข้าวปุ้นเจ้าที่ฝ่ายวิชาการรับอาสาพิสูจน์ทราบในบริเวณที่พบซากกระดูกของกวางด้วยการเดินลาดตระเวนเข้าไปกว่า 7 วันกับเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพพร้อมกับกล้อง 1 ตัว หลังจากนั้นกว่า 2 เดือนที่เราทิ้งกล้องไว้และกว่าจะได้กลับไปเอา

ข้าวปุ้นกลับมาด้วยความดีใจพบภาพเสือโคร่งอยู่ในการบันทึกได้ของกล้องแต่เนื่องจากความเก่าและเสื่อมสภาพวันที่บันทึกภาพได้เป็นวันที่กล้องรีเซ็ตตัวเองไม่สามารถใช้อ้างอิงวันเวลาที่ถูกต้องได้ เพียงส่วนหน้าขาด้านหน้าเพียงภาพเดียวถูกส่งไปตรวจสอบกับเสือโคร่งตัวเดิมที่เคยถ่ายได้กับผู้เชี่ยวชาญพบว่า เป็นเสือคนละตัวกับที่ถูกบันทึกไว้

หลังจากนั้นองค์กร wcs ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการลาดตระเวนเชิงคุณภาพและเข้ามาร่วมสำรวจประชากรของเสือดาว น้องกิ้เข้ามาติดตั้งกล้องในพื้นที่ รวมถึง wwf ที่เข้ามาสนับสนุนจากการประสานงานเดิมของคุณเอกที่พาผู้เชี่ยวชาญสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียเข้ามาแลกเปลี่ยนหารือและรับฟังถึงความประสงค์ในการสำรวจประชากรเสือโคร่งก็สนับสนุนกล้องในการสำรวจประชากรเสือโคร่งและเริ่มทำงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งมีน้องตั้มที่อยู่เป็นหัวเลี้ยวหัวแรงในขณะนั้น

ขณะเดียวกันคุณพอล จากอังกฤษที่ได้รับอนุญาตเข้ามาถ่ายทำ camera tab ด้วยกล้อง DSLR ทราบข่าวจึงเริ่มขยับจุดการตั้งกล้องเข้าหาร่องรอยหรือจุดที่คาดว่าจะเป็นทางผ่านของเสือโคร่งตัวใหม่ที่พบ

แล้ววันนึงชุดลาดตระเวนป่าของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่ล่องลงมาจากพะเนินทุ่งแม่น้ำเพชรบุรี บางกลอยโป่งลึก นำข่าวดีมาบอกว่าสามารถบันทึกภาพจากกล้องถ่ายภาพอัตโนมัติได้

เสือโคร่งตัวที่ 2 ที่สามารถบันทึกได้และยืนยันด้วยภาพเต็มตัวพร้อมคลิปวีดีโอเป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่มาก เข้ามากินซากหมีหมาที่ทิ้งไว้ แล้วเจ้าที่ติดกล้องรอไว้เพื่อบันทึกภาพ เราคงทราบกันอยู่แล้วว่ามีหมาเป็นหมีที่มีอันดับใหญ่รองลงมาจากหมีควาย และกลายเป็นอาหารของอันโอชะเสือโคร่งตัวนี้

หลังจากที่เฝ้าติดตามข้อมูลประชากรเสือโคร่ง ได้ในป่าแก่งกระจานและตรวจสอบจากพื้นที่อุทยานข้างเคียงรวมถึงฝั่งพม่าพบว่า เคยมีการบันทึกภาพเสือตัวนี้ได้ที่บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง หลังจากนั้นมาพบภาพที่บริเวณรอยต่ออุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน กับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเดินทางไปปรากฏตัวที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านพม่า ก่อนที่จะถูกบันทึกภาพอีกครั้งที่เขาพะเนินทุ่งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานของเรา ปัจจุบันยังพบว่าหากินอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

ล่าสุดบันทึกภาพได้บริเวณใกล้เคียงจุดท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานปิดไม่ให้รถยนต์เข้าไปในบริเวณดังกล่าว เพราะเป็นแหล่งที่พบเสือโคร่งตัวเมียตัวแรกและพบร่องรอยของเสือโคร่งตัวผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ ด้วยความหวังอนาคตเราจะมีโอกาสได้พบเสือโคร่งตัวที่ 3 ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานต่อไป

มานะ เพิ่มพูล อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (พ.ศ.2559-2563)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6

สปส.มอบสุข ตรวจเยี่ยมและติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ จ. เพชรบุรี

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางรัศมี สุจโต ประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี นางสาวสรันยา สุวรรณวัฒน์

“ถ้ำเสือ” จากตำนานสู่การจัดการป่า สร้างฝายมีชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน อย่างยั่งยืน

มีตำนานเล่าขานของบ้านถ้ำเสือในอดีต สภาพบริเวณแถวนี้เป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ และยังมีสัตว์ป่าดุร้าย ช้างป่า ม้า เสือ