'แกนนำประมงพื้นบ้าน' ตำหนิอธิบดีกรมประมงไม่กล้าหาญ เอาตัวรอด ยังไม่บังคับใช้ม.57ของกฏหมายประมง

'กรรมการกป.อพช.' ข้องใจทำไมยังไม่มีการบังคับมาตรา 57ของกฏหมายประมง ชี้เป็นมาตารการทำให้ชาวประมงทุกคนทุกกลุ่มจะได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ตำหนิอธิบดีกรมประมงไม่กล้าหาญ เอาตัวรอด ปล่อยให้ประชาชนทะเลาะกันเอง

6 ก.ค.2565 - นายสมบูรณ์ คำแหง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “ให้ชาวบ้านตีกันเอง”ทางออกแบบมักง่ายของกรมประมง กรณีมาตรา 57 มีเนื้อหาดังนี้

หากพี่น้องชาวประมงทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ทั้งหลายยังจำกันได้ เมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับ “ใบเหลือง”หรือ Yellow Card ที่เป็นการประกาศแจ้งเตือนจากคณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ว่า “ประเทศไทยไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing – IUU Fishing)”

พร้อมทั้งแนะนำให้เร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และการจัดการด้านการประมงของไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ตลอดจนสอดคล้องกับกฎหมาย อนุบัญญัติ ตราสารและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีประชาคมโลกต่อเรื่องนี้ในหลายกรณี เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) จรรยาบรรณการทำการประมงด้วยความรับผิดชอบ (FAOs CCRF) และแผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (FAOs IPAO-IUU) ฯลฯ

ต่อเรื่องนี้ ทำให้สหภาพยุโรปสั่งระงับการนำเข้าสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทสไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป จนส่งผลกระทบต่อชาวประมงในภาพรวมในขณะนั้นอย่างมหาศาล และจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลในขณะนั้นจะต้องดำเนินการทุกอย่าง เพื่อที่จะปลดล๊อคจากการถูกระงับการส่งออกให้เร็วที่สุด และหนึ่งในนั้นคือการออกกฏหมายประมงฉบับปี พ.ศ. 2558

กฏหมายประมงฉบับใหม่ (พ.ศ. 2558) ถือว่ามีความก้าวหน้าในหลายประการที่ไม่ใช้แค่เรื่องการควบคุม กำกับ การจับสัตว์น้ำที่ต้องไม่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำจนไร้การควบคุม แต่ยังรวมถึงการมีมาตรการเรื่องการคุ้มครองแรงงานประมง ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบมาตลอด รวมถึงการสร้างมาตรฐานในการบริหารจัดการอื่นๆของเรือประมงที่จะต้องขออนุญาติอย่างถูกต้องเพื่อให้ง่ายต่อการกำกับดูแล นอกจากนั้นแล้วยังมีการกำหนดเขตการทำประมงเพื่อให้มีการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและรักษาระบบนิเวศเฉพาะถิ่น

ถึงกระนั้นก็ตาม ในกฏหมายดังกล่าวอาจจะมีช่องว่างหรือข้อจำกัดบางอย่างอยู่บ้าง ที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป แต่โดยภาพรวมแล้ว ถือเป็นกฏหมายที่มีเป้าประสงค์ที่ต้องการให้มีการคำนึงถึงศักยภาพของทะเลกับปริมาณการทำประมงของประเทศไทยที่ไม่สมดุลกัน ด้วยเพราะเปิดกว้างมากเกินไป

ต่อข้อเรียกร้องของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยในช่วงการรณรงค์จากภาคใต้ – ไปถึงกรุงเทพมหานคร (แม่น้ำเจ้าพระยา) ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม - ต้นมิถุนายน 2565 นั้น เพียงจะย้ำเตือนกับกรมประมงว่า ทำไมถึงยังไม่มีการบังคับ มาตรา 57 ของกฏหมายประมง พ.ศ. 2558 ด้วยเพราะเวลาที่ล่วงเลยมาแล้วหลายปีหลังจากกฏหมายฉบับนี้ถูกบังคับใช้ (แม้จะรู้ว่าเบื้องลึกเบื้องหลังต่อเรื่องนี้คืออะไร)

การเรียกร้องในเชิงสัญลักษณ์ที่ว่า “ทวงคืนน้ำพริกปลาทู” อาจจะทำให้ประชาชนทั่วไปคลุมเครือต่อเจตนาและข้อเรียกร้องอันแท้จริงของชาวประมงพื้นบ้าน แต่เชื่อว่าอธิบดีกรมประมง และฝ่ายการเมืองที่กำกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี

หลังการรณรงค์ กรมประมงได้มีคำสั่งให้สำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศ(ที่ติดทะเล)จัดประชุมคณะกรรมการประมง เพื่อให้พิจารณามาตรา 57 (ตามข้อเรียกร้องของชาวประมงพื้นบ้าน) และอ้างเหตุผลว่าจะต้องจัดให้มีการปรึกษาหารือกันก่อน ทั้งต้องมีข้อมูลทางวิชาการรองรับมากพอ ซึ่งฟังแล้วเหมือนดูดี แต่ในความจริงแล้วนั้น นี่คือการ “เอาตัวรอด” ของกรมประมง และปล่อยให้ประชาชนทะเลาะกันเอง แทนที่จะใช้เหตุผลและข้อเท็จจริงซึ่งพวกท่านมีอยู่มากพอที่จะตัดสินใจได้แล้วในกรณีนี้ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฏหมายให้ครบถ้วน แต่ท่านก็ไม่เลือกที่จะทำ

ด้วยพวกท่านทราบดีว่า กลไกของคณะกรรมการประมงทุกจังหวัด (เกือบทุกจังหวัด) สมาคมประมง (ประมงเรือใหญ่) สามารถกำกับได้ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ และท่านก็รู้ดีว่าผลทั้งหมดจะออกมาเป็นอย่างไร แต่หารในเรื่องนี้มีการใช้เหตุผลตามข้อเสนอของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยแล้ว ข้อเสนอให้มีการบังคับใช้มาตรา 57 คือมาตารการที่จะทำให้ชาวประมงทุกคน ทุกกลุ่มจะได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และยังจำนำไปสู่ความหมายของ “การประมงแบบยั่งยืน” อย่างแท้จริง

จึงเห็นได้ว่า เจตนาของกฏหมายประมง พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะความสำคัญของมาตรา 57 ที่ตราออกมานั้น เพราะต้องการสร้างเงื่อนไขให้ประเทศไทยเอาจริงเอาจังกับการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ไม่ปล่อยให้มีการใช้เครื่องมือผิดกฏหมายและลำลายล้าง “พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน” มากจนเกินกำลังเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา จึงขอตำหนิการทำหน้าที่ของอธิบดีกรมประมง ที่ไม่กล้าหาญเพียงพอ แถมยัง “บิดพลิ้วเจตนา” แบบเนียนๆ เสมือนว่าตนเองเป็นกลาง ไม่ได้เอียงข้างฝ่ายใด แม้แต่หลักการที่ถูกต้องก็ตาม

สมบูรณ์ คำแหง
กรรมการ กป.อพช.(ชาติ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ประมงพื้นบ้าน' ยกพลบี้สภา เปิดช่องทบทวนมาตรา 69 ยืดชะตาทะเลไทย

สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ จ่อเคลื่อนไหวหลังปีใหม่   หนุนเปิดทางตั้งกมธ.ร่วมสองสภา ทบทวน มาตรา 69 ปลดล็อกทำลายล้างทะเลไทย

กสม. ประกาศ 9 บุคคลและองค์กร ที่ส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

กสม. ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 - 2567

ชาวประมงพื้นบ้านสงขลา ออกคราดหอยเสียบ สร้างรายได้งามช่วงฤดูมรสุม

ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนเก้าเส้ง ประกอบอาชีพคราดหอยเสียบขายรายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้ เป็นอิสระในช่วงฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือ คลื่นลมเริ่มมีกำลังแรงหอยเสียบตัวโต น้ำหนักดี สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัว

ประมงพื้นบ้านสงขลา อาศัยช่วงคลื่นลมไม่รุนแรง ออกจับปูม้ากำลังชุกชุม ขายได้ราคาดี

ที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่ออิฐนำเรือหลายลำออกไปทำการประมงอวนปูกลางทะเล เนื่องจากในช่วงนี้คลื่นลมไม่รุนแรงสามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้

เกาะลิบงอ่วมหนักรอบ 30 ปี! คลื่นซัดเรือประมงล่ม 7 ลำ รีสอร์ทพัง ชาวบ้านเผยปีนี้ฝนมาเร็ว

ในพื้นที่เกาะลิบง หมู่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เกิดเหตุมีเรือประมงพื้นบ้านล่มจำนวน 7 ลำ หลังเกิดฝนตกและลมพายุในทะเลฝั่งอันดามัน โดยนายอ่าสาน ค

'สมาคมรักษ์ทะเลไทย' กระตุก รัฐบาล ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ฟื้นฟูอาหารประมงไทย

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์บทความเรื่อง ความสั่นคลอนของระบบอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย (๑) มีเนื้อหาดังนี้