5 ก.ค.2565 - เฟซบุ๊กเพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์ข้อความระบุว่าJSL เลิกจ้างจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่
อ่านโพสต์ที่คุณสรยุทธฯ โพสถึงความทุกข์ของพนักงานที่ถูก JSL เลิกจ้างก็ตกใจที่บริษัทจ่ายค่าชดเชยเพียงร้อยละ 16
โดยปกติค่าชดเชยจ่ายเมื่อเลิกจ้าง หรือสัญญาจ้างสิ้นสุด หรือกิจการนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ หรือเกษียณ เหล่านี้กฎหมายเรียกว่า "เลิกจ้าง"
เมื่อเลิกจ้าง ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โดยมีสิทธิได้รับในวันที่เลิกจ้าง หากไม่จ่ายในวันเลิกจ้างนายจ้างก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือถ้าเป็นการจงใจเจตนาไม่จ่ายก็จะต้องจ่าย "เงินเพิ่ม" ร้อยละ 15 ทุก ๆ 7 วัน
กรณีบริษัท JSL จะจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16
กรณีนี้บริษัทไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายกำหนดอัตราการจ่ายค่าชดเชยเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ในมาตรา 118 โดยพิจารณาว่าทำงานมานานเพียงใด ก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามนั้น กล่าวคือ
ก) หากทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน
ข) หากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 90 วัน
ค) หากทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 180 วัน
ง) หากทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 240 วัน
จ) หากทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 300 วัน
ฉ) หากทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชย 400 วัน
เช่น พนักงานมีเงินเดือน 36,000บาท หาร 30จะได้เป็นค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 1,200 บาท หากทำงานมานาน 120ปี จะได้ค่าชดเชย 300 วัน ซึงคูณค่าจ้างรายวัน 1,200 บาท จะได้เป็นค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายคือ 360,000 บาท
นายจ้างจะอ้างว่าจ่ายร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับคือ 360,000 บาท ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ แม้ลูกจ้างตกลงด้วยก็เป็นโมฆะ
ข้อควรระวัง
เมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว หากไปเซ็นต์ตกลงรับเงินเพียงร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับ ก็อาจทำให้ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้ เพราะตอนทำข้อตกลงลูกจ้างเป็นอิสระแล้ว
ซึ่งศาลฎีกาที่ 3121/2543 พิพากษาว่าการตกลงหลังเลิกจ้างแล้วลูกจ้างมีอิสระพ้นจากพันธกรณี และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยสิ้นเชิงแล้ว ข้อตกลงจึงใช้บังคับได้
จึงต้องระวังไม่ไปเซ็นตกลงยินยอมรับเงินที่น้อยกว่าสิทธิที่ควรจะได้
ประเด็นนี้ สามารถฟ้อง หรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้เลย หากได้เงินไม่พอก็อาจบังคับยึดทรัพย์ของบริษัทขายทอดตลาด และเงินที่ได้จะต้องนำมาจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานก่อน
ประเด็นต่อไป การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่
จากข้อเท็จจริงทราบว่าบริษัทขาดทุนสะสม และขาดทุนจริงกระทั่งต้องปิดกิจการ กรณีนี้ถือว่าการเลิกจ้างมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้ (แต่ถ้าไม่ขาดทุนจริง ก็เลิกจ้างไม่ได้เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม)
ดังนัน กรณีนี้คิดว่าไม่จำเป็นต้องฟัองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์" ระดมทีมช่างฝีมือแรงงาน ทั่วภาคเหนือ ซ่อมฟรี! ระบบใช้ไฟฟ้าในบ้าน มอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยบรรเทาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย
วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 10.30น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และนางบังอร มะลิดิน
ขึ้นค่าแรง 400 สะดุด! ไม่ทัน 1 ต.ค. 'บอร์ดไตรภาคี' เลื่อนยาว
'ปลัดแรงงาน' รับขึ้นค่าจ้าง 400 สะดุด ไม่ทัน 1 ต.ค. นี้ เหตุต้องรอ ธปท. ส่งตัวแทนคนใหม่ ร่วม คกก. ไตรภาคี
ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา
'อารี' มุ่งเสริมสถานประกอบการ คุมเข้มความปลอดภัยลูกจ้าง ลดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์
นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้รับมอบหมายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดงานสัมมนาวิชาการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงงาน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมให้การต้อนรับ ย้ำสถานประกอบต้องคุมเข้มความปลอดภัยแรงงานทุกระดับ ณ ห้องลำตะคอง โรงแรม แคนทารี โคราช จังหวัดนครราชสีมา
“พิพัฒน์” ช่วยลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขยายเพดานยกเว้นภาษีค่าชดเชย เป็น 6 แสนบาท ใช้บังคับย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค. 66
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยผลการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติสำเร็จ ผลักดันกฎหมายช่วยลูกจ้างเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง