4 ก.ค. 2565 – ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์สถาบัน Centre for Addiction and Mental Health ประเทศแคนาดา หนึ่งในเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ชี้แจงถึงกรณี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์โพสต์บุ๊ก 1 ก.ค.ที่ผ่านมา อ้างถึงงานวิจัยที่ดำเนินการโดย Lopez-Quintero et al. (2011) (ดูงานวิจัยชิ้นนี้ได้ที่ nihms-258354.pdf) ตีพิมพ์ในวารสารด้านการเสพติดชื่อ Drug and Alcohol Dependence เมื่อปี 2554 (11 ปีก่อน) ที่พบว่า การสูบกัญชาเสพติดยากกว่าการติดเหล้าและติดบุหรี่ หากนับตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการใช้จนตลอดชีวิตของผู้ใช้ โดยบุหรี่มีสัดส่วนของการกลายมาเป็นผู้เสพติดบุหรี่ได้มากที่สุดร้อยละ 67.5 เครื่องดื่มแอลกอฮอลมีโอกาสเสพติดร้อยละ 22.7 ในขณะที่กัญชามีโอกาสเสพติดได้เพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้น
เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ขอนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ที่ไม่ได้เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก ดังนี้
ในงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า สัดส่วนของการเสพติดสารเสพติดนั้นๆ ภายในหนึ่งปีแรกของการใช้บุหรี่ สุรา และกัญชา มีสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 2 แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 67.5 สำหรับผู้ใช้บุหรี่ ร้อยละ 22.7 สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอลมีโอกาสเสพติด และร้อยละ 8.9 สำหรับผู้ใช้กัญชา เมื่อนับสะสมจนตลอดชีวิตของผู้ใช้ ในขณะเดียวกันผู้วิจัยก็พบว่าในกลุ่มคนที่ติดสารเสพติดนั้นๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้กัญชาจะติดกัญชาภายในเวลาเพียง 5 ปี ขณะที่ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้สุราจะติดสุราใน 13 ปี และครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้บุหรี่จะติดบุหรี่ใน 27 ปี
ผู้วิจัยอธิบายว่า สาเหตุที่ผู้ใช้บุหรี่มีสัดส่วนการกลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ในชั่วชีวิตมากกว่าสารเสพติดอื่นเป็นไปได้หลายประการ เช่น การดูดซึมควันบุหรี่ผ่านถุงลมปอดดีกว่าการดูดซึมสุราผ่านระบบทางเดินอาหาร การสูบบุหรี่เป็นที่ยอมรับกว่าการใช้กัญชา เนื่องจากบุหรี่ถูกกฎหมาย แต่กัญชาผิดกฎหมายในช่วงเวลาที่ทำวิจัย ซึ่งทำให้ผู้ใช้บุหรี่ถูกกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมให้มีอาการอยากสูบได้มากกว่า เช่น เห็นคนอื่นสูบ และการใช้บุหรี่ไม่ได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมทำลายล้างเช่นเดียวกับสุราและกัญชา ทำให้ผู้ใช้บุหรี่จึงใช้บุหรี่ได้มากและกลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ได้มากกว่าผู้ใช้สารเสพติดตัวอื่น โดยผู้วิจัยไม่ได้พูดว่ากัญชาก่อให้เกิดการเสพติดที่ง่ายน้อยกว่าบุหรี่และสุราแต่อย่างใด
ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวใช้ข้อมูลการสำรวจในสหรัฐอเมริกา 2 ครั้ง ซึ่งสำรวจในปี ค.ศ. 2001-2002 และ ปี ค.ศ. 2004-2005 ซึ่งเป็นปีที่กัญชายังไม่ถูกกฎหมายเลยในสหรัฐ ทั้งนี้รัฐโคโรราโดและรัฐวอร์ชิงตันเป็น 2 รัฐแรกที่อนุญาตให้เสพกัญชาเพื่อความบันเทิงได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2012
ในทางกลับกันผู้วิจัยอธิบายว่า การที่ผู้ใช้กัญชามีระยะเวลาจากการเริ่มใช้สู่การกลายเป็นผู้เสพติดที่รวดเร็วกว่ากรณีผู้ที่ใช้สุราและบุหรี่มากนั้น เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความง่ายของการติด คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารเสพติด และความแพร่หลายของสารเสพติด สถานะทางกฎหมายของสารเสพติด ว่าถูกหรือผิดกฎหมาย และการยอมรับทางสังคมของการใช้สารเสพติดนั้น ๆ ตลอดจนการใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย ซึ่งผู้วิจัยระบุว่า กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยที่ใช้กัญชาจะใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วยถึงร้อยละ 80 ขณะที่ผู้ที่ใช้บุหรี่และสุราจะใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วยเพียงครึ่งหนึ่ง และ 1 ใน 3 ตามลำดับ
ทั้งหมดนี้ ผู้วิจัยได้ย้ำว่าแม้บุหรี่จะมีสัดส่วนผู้ใช้กลายมาเป็นผู้เสพติดบุหรี่มากกว่าผู้ใช้สุราและกัญชา แต่การที่กัญชามีระยะเวลาจากการเริ่มใช้สู่การเสพติดเร็วกว่าบุหรี่และสุราอย่างมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดมากสำหรับการป้องกันการเสพติกัญชา โดยผู้วิจัยใช้คำว่า Aggressive Preventive Interventions เมื่อเทียบกับการป้องกันการเสพติดบุหรี่และสุรา
โดยสรุป ผู้วิจัยได้อธิบายว่าผู้ใช้บุหรี่สามารถใช้บุหรี่ได้สะดวกกว่า เพราะสังคมยอมรับมากกว่าและบุหรี่แพร่หลายมากกว่าเพราะถูกกฎหมาย ทำให้มีสัดส่วนของผู้ใช้บุหรี่กลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ได้มากเมื่อเทียบกับสุราและกัญชาดังตัวเลขที่ระบุในเฟซบุ๊ก แต่ที่เฟซบุ๊กข้างต้นไม่ได้ระบุ คือ ผู้วิจัยอธิบายว่าความง่ายของการติดและการใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้กัญชากลายเป็นผู้เสพติดกัญชาในอัตราเร็วที่สูงกว่าผู้ใช้บุหรี่และสุรามาก ซึ่งต่างจากการสรุปของข้อมูลที่เขียนอยู่ในเฟซบุ๊กข้างต้นอย่างมาก
ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ งานวิจัยโดย Feingold et al. (2020) (Probability and correlates of transition from cannabis use to DSM‐5 cannabis use disorder: Results from a large‐scale nationally representative study – Feingold – 2020 – Drug and Alcohol Review – Wiley Online Library) ได้ใช้การสำรวจเดียวกันนี้ แต่เก็บข้อมูลในระยะเวลาที่เป็นปัจจุบันกว่าระหว่างปี 2012-2013 ถือเป็นการสำรวจวิจัยครั้งที่ 3 (NESARC-III) โดยระยะเวลาดังกล่าวเป็นปีที่ 2 รัฐ ในสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้เสพกัญชาได้อย่างเสรี
ผู้วิจัยชุดหลังนี้พบว่า สัดส่วนของผู้ใช้กัญชากลายเป็นผู้เสพติดกัญชาในช่วงชีวิตถึงร้อยละ 27 ซึ่งมากขึ้นกว่างานวิจัยเก่า และระยะเวลาจากการเริ่มใช้ไปสู่การเสพติดเป็นเวลาเพียง 4 ปี ซึ่งเร็วขึ้นกว่างานวิจัยเก่า จึงสรุปได้ว่ากัญชาก่อให้เกิดการเสพติดได้เร็วและมากกว่าที่กล่าวอ้างในเฟซบุ๊กของนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอเดชา ศิริภัทร' ทวงสัญญา 'แอ๊ด คาราบาว' อย่าทำแบบไม่แยแสเรื่องงานที่คุยกันไว้
นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า ช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ มีข่าว(ฉาว)เกี่ยวกับ คุณแอ๊ด คาราบาว (ภาพบน) ซึ่งยังไม่ตัดสินว่าร้านถูกดีฯ (
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
หนุ่มสมุทรปราการโร่แจ้งความ มือมืดปาถุงเลือดใส่หน้าบ้าน
นายปริญญา ไกรกิจธนโรจน์ อายุ 24 ปี เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสมุทรปราการ ว่า เมื่อเวลา 00.20 น. ได้มีผู้ก่อเหตุมาขว้างปาถุงเลือดสด