'ชัชชาติ' ปธ.สวนสนามลูกเสือ กทม. แจงดราม่าเรื่องชุด

1 ก.ค. 2565 – เมื่อเวลา 08.00 น. ที่สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร ไทย-ญี่ปุ่น เขตดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานในพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามลูกเสือ กทม. เนื่องในวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปี 2565

โดยนายชัชชาติร่วมปฏิญาณตน และให้โอวาทแก่คณะลูกเสือว่า กิจการลูกเสือของ กทม. ได้พัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้มีการจัดฝึกอบรมลูกเสือ เนตรนารี มีส่วนสำคัญและเป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมให้ลูกเสือ เนตรนารีทุกคน ได้ตระหนักถึงบทบาทในการอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ มีระเบียบวินัย รู้จักการสังเกตจดจำ และพึ่งตนเอง เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ อดทน เสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะประโยชน์ และยังส่งเสริมให้บุคคลสามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นลูกเสือ เนตรนารีทุกคนจึงควรตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และฝึกปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด

“เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปี 2565 ผมเห็นว่าการที่เรามาสวนสนาม ทบทวนคำปฏิญาณของลูกเสือในครั้งนี้ เราควรมีความภาคภูมิใจ ที่ได้มีโอกาสมาเข้าร่วมกิจกรรมอันทรงคุณค่านี้ อีกทั้งให้ระลึกถึงเสมอว่าการสร้างคุณธรรมบำเพ็ญประโยชน์นั้น ตนเองต้องได้รับประโยชน์เป็นทวีคูณ ในโอกาสนี้ขอให้กิจการลูกเสือ เนตรนารีของ กทม. มีความเจริญก้าวหน้า และขอให้ท่านที่มาชุมนุมอยู่ ณ ที่นี้ ประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน” ผู้ว่าฯ กทม. ระบุ

ต่อมานายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม. ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นชุดลูกเสือ ว่า “ชุดลูกเสือ กทม. ให้ฟรีอยู่แล้ว แบบปีเว้นปี ถ้าเป็นวันทางการก็ใส่เต็มยศ แต่ถ้าเป็นวันเรียน ก็สามารถลำลองได้อยู่แล้ว ขณะนี้กำลังทบทวนเพื่ออำนวยความสะดวกนักเรียนและพยายามจะทำให้ผ่อนคลายขึ้น”

นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องไม่เป็นภาระผู้ปกครอง ที่ต้องไปเสียเงินเพิ่ม เพราะหัวใจของลูกเสือคือการช่วยเหลือผู้อื่น นั่นคือสิ่งสำคัญของการเป็นลูกเสือ ส่วนเรื่องรูปแบบก็ต้องดูตามสถานการณ์ของอนาคตที่เปลี่ยนไป อาจมีการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน เรารับตามข้อกำหนดของกระทรวงศึกษามา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด