30 ปี 'SIIT ธรรมศาสตร์' ยกระดับสู่ 'Education Hub' ตอบโจทย์การศึกษา วิจัยและธุรกิจ

‘SIIT ธรรมศาสตร์’ จัดงานเสวนาเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำในฐานะ #วิศวะอินเตอร์ แห่งแรกของไทย “รองปลัด อว.” ชี้ ยุคทองของมหาวิทยาลัยสิ้นสุดไปแล้ว สถาบันการศึกษาต้องผลิตบัณฑิตตอบโจทย์อุตสาหกรรม เน้น High Value Technology ด้าน “ศ.ดร.พฤทธา” จ่อยกระดับ SIIT สู่การเป็น “Education Hub” ชูบทบาททางด้านการศึกษา วิจัย และธุรกิจของภูมิภาค

30 มิ.ย.2565 - สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดกิจกรรม “SIIT 30th Anniversary: Learning for the future” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งสถาบัน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 โดยมีคณะผู้บริหาร มธ. คณาจารย์ ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า เข้าร่วมงานอย่างเนืองแน่น

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยในเวทีเสวนาวิชาการภายในงานว่า ยุคทองของมหาวิทยาลัยที่มีคนแย่งกันสอบเพื่อเข้าเรียนนั้นได้หมดไปแล้ว เด็กยุคใหม่มีความศรัทธาในวุฒิการศึกษาน้อยลง ประกอบกับสถานการณ์เด็กเกิดน้อย นั่นทำให้ประเทศไทยเหลือที่ว่างในระดับปริญญาตรีจำนวนมาก จากข้อมูลพบว่าเรามีที่นั่งมากถึง 1.4 แสนที่นั่ง แต่มีเด็กเข้าสู่ระบบเพียง 8 หมื่นที่นั่งเท่านั้น ที่สุดแล้วมหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องลดปริมาณห้องเรียน และลดจำนวนอาจารย์ผู้สอนลง

รศ.ดร.พาสิทธิ์ กล่าวว่า ถึงเวลาที่มหาวิทยาลัยต้องทบทวนและออกแบบวิธีคิดใหม่ เพื่อผลิตบุคลากรที่สอดคล้องความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และความต้องการของผู้เรียนให้มากขึ้น ซึ่งหากมองในมิติทางเศรษฐกิจแล้ว ประเทศที่พัฒนาจะแบ่งผลิตภัณฑ์และบริการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. สินค้าเกษตรและอาหาร (Agriculture & Foods) 2. กลุ่มสินค้าสร้างสรรค์ (Creative) 3. กลุ่มสินค้ามูลค่าสูง (High Value Technology)

อย่างไรก็ตาม เมื่อหันกลับมาดูประเทศไทยพบว่าผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่ม High Value Technology มีไม่เพียงพอ ในขณะที่เรากลับมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยจึงควรเข้ามาสนับสนุนเรื่องนี้ เช่น การให้หน่วยวิจัยศึกษาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่มีอยู่เดิม เช่น ข้าว มัน ปาล์ม ยาง ฯลฯ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งจากสถานการณ์โควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตเงินเฟ้อ น้ำมันแพง การขึ้นดอกเบี้ย ฯลฯ ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าอีกหลายประเทศในอาเซียน และดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมก็ลดลง ฉะนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเองก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับภาคการศึกษาด้วยเช่นกัน

“วันนี้ภาคอุตสาหกรรมต้องการในเรื่องของการลดต้นทุน การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต การตลาด การสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ต้องการได้บุคลากรเข้ามาช่วย จึงเป็นเรื่องดีหากภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยเข้ามาเชื่อมกัน ออกแบบความต้องการที่ไปด้วยกันได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อไปรูปแบบของการเรียนการสอนก็อาจมีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และไม่ได้เรียนอยู่เฉพาะในห้องเรียน แต่ต้องมาฝึกประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริง ซึ่งหลักสูตรปริญญาตรีก็อาจเหลือเรียนแค่ 3 ปีก็ได้ พอปี 4 ค่อยกลับมา Upskill ในแต่ละจุด ผนวกกับรูปแบบของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ทุกคนจะสามารถเข้ามาเพิ่มทักษะได้ตลอดเวลา” นายสุพันธุ์ กล่าว

ศ.ดร.พฤทธา ณ นคร ผู้อำนวยการ SIIT กล่าวว่า โจทย์ของภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่คือเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจที่ไม่มีการ Transform ก็จะไม่มีทางชนะ แต่ธุรกิจจำนวนมากกลับยังไม่รู้ว่าจะ Transform อย่างไร หรือ Transform ตรงไหน จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่จะเข้าไปชี้ให้เห็นว่าตรงไหนควรพัฒนาหรือปรับปรุง ซึ่งปัจจุบัน SIIT ได้ทำหน้าที่เป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมในการสร้างบัณฑิต

“ปัจจุบันโจทย์ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป SIIT จึงต้องทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้ากับการผลิตบัณฑิตยุคใหม่ และเปิดโอกาสให้นักศึกษามีประสบการณ์จริงจากการศึกษา วิจัย และแก้โจทย์ธุรกิจจริงๆ ซึ่งหากย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น ขณะนี้ SIIT ได้ข้ามผ่านเฟส 1 ที่เน้นเรื่องการให้การศึกษา และเฟส 2 ที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยมาแล้ว ปัจจุบันอยู่ในเฟส 3 ที่จะต้องตอบโจทย์ธุรกิจอุตสาหกรรมได้ทั้งในไทยและภูมิภาคให้ได้” ศ.ดร.พฤทธา กล่าว

ศ.ดร.พฤทธา กล่าวอีกว่า กว่า 90% ของนักศึกษา SIIT ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เป็นชาวต่างชาติ เมื่อเขาเหล่านั้นสำเร็จการศึกษาและกลับไปทำธุรกิจหรือทำงานในภาคส่วนต่างๆ ในประเทศตัวเอง ก็จะเป็นโอกาสและช่องทางที่ดีที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเราตั้งเป้าในก้าวต่อไปว่าจะยกระดับ SIIT สู่การเป็น Education Hub ของภูมิภาค ซึ่งนอกจากเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยแล้ว จะช่วยเชื่อมต่อประเทศไทยเข้ากับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนานาชาติด้วย

ทางด้าน รศ.ดร.วิริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในอดีต ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจะแข่งขันกันเรื่อง QCD ในแง่ของคุณภาพ การพัฒนา ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล แต่ปัจจุบันมีแนวคิดเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โมเดลเศรษฐกิจ BCG ภาษีคาร์บอน ฯลฯ ฉะนั้นถัดจากนี้ ภาคธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม เพิ่มมากขึ้น

“วันนี้เรามองว่าเรื่องของการวิจัย เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เป็นสิ่งที่ทางสถาบันการศึกษาอย่าง SIIT ก็สามารถเข้ามาช่วยได้ ด้วยเรื่องของวิชาการ แนวทางความรู้ ที่สามารถมาช่วยเสริมการทำงานของ กนอ. ให้ขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตจะเกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ที่เข้ามาช่วยกันทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความยั่งยืนต่อไปได้” รศ.ดร.วิริศ กล่าว

อนึ่ง SIIT ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2535 ภายใต้ความร่วมมือของ 3 องค์กรระดับประเทศ ได้แก่ มธ. สมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น ซึ่งเห็นพ้องร่วมกันที่จะผลิต “กำลังคน” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โลกมีความต้องการวิศวกร นักเทคโนโลยี และนักวิจัย จึงเปิดสอนหลักสูตร “วิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ” หรือ #วิศวะอินเตอร์ แห่งแรกของประเทศไทย

ทั้งนี้ ปัจจุบัน SIIT เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติด้านวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการ ในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ มธ. แนะมาตรการรับมือสาธารณภัยในชุมชนเมืองเก่า

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะท้องถิ่น-สำนักงานเขต สำรวจข้อมูลใหม่ทุก 5 ปี “สร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน” เพื่อเตรียมทรัพยากร วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน-ภัยพิบัติ หากไม่สามารถแก้ผังเมือง-โครงสร้าง-กรรมสิทธิ์ที่ดิน

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ