
27 มิ.ย. 2565 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับลมใต้ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักที่อาจเกิดขึ้นไว้ด้วย
คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร กระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สทนช. ออกประกาศหลายจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 15-17 เม.ย.
นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติฉบับที่ 1/2568เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. นี้
ฝนถล่มน้ำป่าหลาก แพแม่น้ำปิงถูกกระแสน้ำซัดเสียหายหนัก
นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 13 เม.ย. จนถึงช่วงเช้าวันนี้(14 เม.ย.) โดยเฉพาะคืนที่ผ่านมา
กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศช่วงสงกรานต์ 14-16 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่ประกาศ "พยากรณ์อากาศเทศกาลสงกรานต์" ระหว่างวันที่ 14 - 16 เมษายน พ.ศ. 2568 ระบุว่า
สงกรานต์กรุงเทพฯ คึกคัก! ผู้ร่วมงานข้าวสาร-สีลม พุ่งกว่า 3.6 แสนคน
นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ประจำวัน เป็นประธานการประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานคร ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2 โ
อัปเดตตึกถล่มวันที่ 18 ยอดเสียชีวิต 41 ราย ยังค้นหา 53 ราย
กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานความคืบหน้าสถานการณ์อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พังถล่ม จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ระวังจัดกิจกรรมสงกรานต์กลางแจ้ง
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2568) ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า