“สุพจน์” เผย แผนรับมือวิกฤติพลังงาน-อาหารระยะเร่งด่วนคลอด 1 ก.ค. ลั่นเรื่องนี้เป็นหน้าที่สมช. แย้ม หากจำเป็นหยิบ พ.ร.บ.มั่นคง มาใช้เพราะอยู่ในแผน ปัดตอบฝ่ายการเมืองกังขา นายกฯไม่ไว้ใจรมว.พลังงาน
23 มิ.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้สัมภาษณ์กรณีได้รับมอบหมายจากนายกฯให้เตรียมการหารือเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร หลังสถานการณ์โควิดและเหตุความรุนแรงระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อเศษฐกิจโลก ว่า วิฤติโควิด และความรุนแรงระหว่างรัสเซีย ยูเครน ส่งผลกระทบเศษฐกิจทั่วโลก ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง พลังงานราคาสูง ซึ่งหน่วยงานทางเศษฐกิจที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม เป็นห่วงคือการเตรียมความพร้อมรองรับอนาคต เบื้องต้นการประเมินสถานการณ์ถือเป็นหน้าที่ของ สมช.อยู่แล้ว ไม่ว่าสงครามยูเครน รัสเซีย จะยุติเมื่อใด สั้นหรือยืดเยื้อ แต่ผลกระทบด้านเศรษฐกิจเกิดขึ้นแล้ว เราจึงต้องมาคิดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีอะไรบ้าง เป็นเจตนารมณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ และสั่งให้ตนดำเนินการ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศษฐกิจเข้ามารือแล้ว และจะนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันเพื่อประเมินสรุปเป็นแผลสำหรับอนาคตทั้งระยะเร่งด่วน ปานกลาง และระยะยาว
โดยระยะเร่งด่วน เราจะดูภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัวและถดถอย มีผลกระทบกับประชาชนอย่างไร ถือเป็นความมั่นคงทางด้านพลังงานและอาหาร ทั้งนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องแบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือผู้บริโภคกับผู้ผลิต ซึ่งเราต้องร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย ระหว่างนี้เรากำลังพูดคุยเพื่อจัดระบบ ติดตามประเมินผล และทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาล คาดว่าจะมีข้อสรุปออกมาวันที่ 1 ก.ค. หากไม่มีปัจจัยอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง
“สมช.มาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร ผมทำงานภายใต้สมช. ผมเป็นเลขาฯสมช. และเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ไม่ว่าจะเกิดประเด็นอะไรที่กระทบความมั่นคง คณะกรรมการชุดนี้สามารถหยิบยกขึ้นมาดำเนินการได้ อนาคตอาจมีการตั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อติดตามและทำข้อเสนอให้รัฐบาล” พล.อ.สุพจน์กล่าว
เมื่อถามว่ารูปแบบการทำงานของสมช.จะอยู่เหนือกระทรวงพลังงานหรือไม่พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่าไม่เหนือเป็นการทำงานคู่ขนาน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำข้อมูลให้รัฐบาล เมื่อถามว่า สมช.จะเสนอกฎหมายอะไรหรือไม่เพราะที่ผ่านมากระทรวงพลังงานขอความร่วมมือเอกชนไม่ได้ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า เสนอเป็นแนวทางได้แต่ทุกอย่างต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายที่มีและอำนาจตามกระทรวงที่รับผิดชอบ
เมื่อถามว่าจะเสนอใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือ หรือพ.ร.บ.ความมั่นคงหรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ความมั่นคงจะใช้เมื่อมีความจำเป็นซึ่งน่าจะอยู่ในแผน
เมื่อถามว่าการดำเนินการตรงนี้จะทับซ้อนกับ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ไม่ซ้ำซ้อน เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. สภาพัฒน์ก็มานั่งคุยกัน แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็นำข้อมูลมาประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคต
เมื่อถามว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่านายกฯไม่ไว้ใจรมว.พลังงาน จึงต้องให้ สมช.มาดูใช่หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่าอันนี้ตนไม่ทราบ แต่เรื่องดังกล่าวถือเป็นหน้าที่ของสมช.อยู่แล้ว ถึงแม้จะยังไม่กระทบถึงเส้นที่เรามองว่ากระทบความมั่นคง นายกฯมีนโยบายให้เตรียมความพร้อม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' แบ่งงาน 'บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กรอย-สุรสิทธิ์-ธิติรัฐ' ลุยงานมั่นคง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้นำนายธิติรัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของนายภูมิธรรม พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
โฆษก มท. แจงมติครม.เร่งแก้ปัญหาคนไร้สถานะทางทะเบียน 4.8 แสนราย ไม่ใช่ให้สัญชาติคนต่างด้าว
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามา
ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย