'สุชาติ' ห่วงลูกจ้าง 'ดารุมะ ซูชิ' ถูกลอยแพ 27 สาขา สั่งตรวจสอบคุ้มครองสิทธิโดยด่วน

รมว.แรงงาน ห่วงใยลูกจ้าง “ร้านดารุมะ ซูชิ” ที่ถูกลอยแพทั้ง 27 สาขา สั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและหน่วยงานในสังกัด เร่งตรวจสอบช่วยเหลือคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายโดยด่วน

20 มิ.ย.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ร้านซูชิแห่งหนึ่งประกาศปิดร้านอย่างไม่มีกำหนด ทำให้พนักงานในร้านถูกลอยแพไม่ได้รับเงินเดือน ผมจึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ส่งพนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบหาข้อเท็จจริงทันที

เบื้องต้นได้รับข้อมูลทราบว่า ร้านดังกล่าวชื่อ ร้านดารุมะ ซูชิ ได้จดทะเบียนในนามบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 87 โครงการ เดอะ แจส รามอินทรา ชั้นที่ 2 ห้องเอ 217 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ประกอบกิจการ ร้านอาหารญี่ปุ่น ได้เปิดให้บริการอยู่ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งสิ้นจำนวน 27 สาขา มีลูกจ้างอยู่ในระบบประกันสังคม 71 คน ส่วนจะมีลูกจ้างที่ยังไม่เข้าระบบประกันสังคมหรือไม่ต้องรอตรวจสอบต่อไป

ในปัจจุบันร้านทุกสาขาได้ปิดให้บริการอย่างไม่มีกำหนดแล้ว โดยในวันที่ 20 มิถุนายน 2565 นี้ พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ได้ไปที่สำนักงานใหญ่ดังกล่าวและออกหนังสือเชิญนายจ้างมาพบ และส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสาขาของร้านดารุมะ ซูชิ ในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ผมยังได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เข้าช่วยเหลือลูกจ้างร้านซูซิดังกล่าวทุกสาขา โดยจะเข้าไปให้คำปรึกษาข้อกฎหมาย และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม พร้อมทั้งเตรียมตำแหน่งงานว่างรองรับกรณีลูกจ้างมีความประสงค์จะหางานใหม่ หรือหากลูกจ้างต้องการเปลี่ยนสายงานหรือเพิ่มทักษะด้านอาชีพก็สามารถเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้ทันที

ด้านนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีดังกล่าว การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ เหตุเพราะนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือเป็นการเลิกจ้าง โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินอื่นตามที่ตกลงกับนายจ้าง

ทั้งนี้ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว สามารถเข้ามายื่นคำร้อง คร.7 และยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ที่ลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 3 หรือ 1546 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่

'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่

‘พิพัฒน์’ คาดชงชื่อกรรมการค่าจ้างเข้า ครม.อังคารนี้ มั่นใจขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้ผู้ใช้แรงงาน ทันแน่นอน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

'พิพัฒน์' นั่งหัวโต๊ะ ประชุม กก.บริหารจัดการการทำงานคนต่างด้าว จันทร์ 21 ต.ค.นี้ ยืนยัน นโยบายให้สิทธิของแรงงานต่างด้าว ตาม ไอแอลโอ. กำหนด โดยห้ามรุกล้ำอาชีพสงวน ของคนไทย

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีหลายภาคส่วน รววมทั้งนักการเมือง ออกมาพูดถึงการให้ความสําคัญแรงงานต่างด้าวมากไป ว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยังทําตามกรอบกฎหมายอยู่