‘พญ.ชัญวลี’ ชี้ปัญหาภาระงานของแพทย์ ต้องแก้ทั้งระบบ เสนอ 6 วิธีปฏิรูปการทำงาน

20 มิ.ย.2565-พญ.ชัญวลี ศรีสุโข หรือหมอหมิว สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลพิจิตร และนักเขียนรางวัลชมนาด โพสต์เฟซบุ๊ก “ชัญวลี ศรีสุโข” เรื่อง “ปัญหาภาระงานของแพทย์” ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2537 ที่ยกเลิกระบบ intern จากเรียนแพทย์ 6 ปี Intern 1 ปี จึงได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เปลี่ยนมาเป็นเรียน 6 ปีได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม แต่ในปีที่ 7 แพทย์ที่จบใหม่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอจึงเกิดแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 1 ปี(พพท)ให้ทำงานโดยมีSTAFF COVER นับเป็นเวลาเกือบ 30 ปีที่ปัญหา พพท.เรื้อรัง ไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้

ปัญหาข้อที่ 1ภาระงานมาก พพท.ผู้ด้อยความรู้และประสบการณ์ กลายเป็นแพทย์ด่านหน้า ปัญหาข้อที่2 ไม่มีSTAFF COVERในรพ.บางแห่ง แถมBULLYด้วยกายวาจาใจ  ชื่อพพท. แต่การเรียนการสอนการดูแลพทท. บางรพ.ไม่พร้อม ไม่ควรโทษรพ.หลายแห่ง STAFFงานท่วมมือ  ไม่พร้อมเป็นอาจารย์ทุกคน บ้าง สงสัยว่า พพท.ได้ใบว.แล้ว เงินเดือนก็ได้แล้ว แต่ไหงทำงานไม่ได้

การประกาศ กำหนดเวลาทำงานพพท. จึงเป็นทางออกชั่วคราว ไม่มีอำนาจบังคับใช้ เกิดปัญหาต่อว่า แล้วSTAFfเล่า มีใครคุ้มครอง การแก้ปัญหา ภาระงานแพทย์ จึงควรแก้ทั้งระบบ หมอหวิว รับราชการ39ปี ผ่านระบบ ทำงานทั้งคืน เช้ามาทำงาน อยู่เวรต่อกันสามวันสามคืนก็มี เงินเดือนเริ่มที่สามพันบาท  ค่าอยู่เวรเหมาจ่ายเดือนละพันบาท  ไปเรียนต่อเฉพาะทางถูกแป๊กขั้น3ปี จบมาเงินเดือนน้อยกว่าหมอที่ไม่ไปเรียน น่าอายไหม ที่ค่าใช้จ่ายในครอบครัว เลี้ยงลูก ดูแลบุพการี ของหมอหวิว มาจากการทำคลินิก ไม่เคยมีการปรับภาระงานมาก่อน ข้ออ้างคือบุคลากรไม่เพียงพอ และเป็นหมอต้องอดทน

ขอเสนอวิธีแก้ ปฏิรูประบบการทำงานแพทย์ดังนี้ ดังนี้ 1. การทำงานของแพทย์ ต้องเป็นพรบ. เหมือนกรมแรงงานจัดให้ได้พักเหมือนบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งทำงาน8ชม. เสาร์ อาทิตย์ ถือเป็นวันหยุด หากอยู่เวร ไม่ควรเกิน 16ชั่วโมง ลงเวรย่อมได้พัก8ชม. มีwork life balance 2.  การทำงานเสาร์อาทิตย์ ต้องไม่ถือว่าเป็นจิตอาสา แต่ต้องมีค่าตอบแทน 3. เงินเดือน และค่าทำงานล่วงเวลา ต้องเหมาะสม  ขณะนี้ เงินเดือนSTAFFรวมOT บางแผนกน้อยกว่า พพท. การทำงาน8ชม. ค่าล่วงเวลา550บาท น้อยไปไหม ทำให้แพทย์ต้องควงเวรมาก ๆ เพื่อให้มีรายได้พอเพียง ตามด้วยประสิทธิภาพการทำงาน และผลกระทบต่อคนไข้  4.แพทย์เรียนเฉพาะทาง ในระบบราชการต้องไม่แป๊กขั้น 5.ยกเลิกการเพิ่มพูนทักษะทั้งระบบ

จบมาแพทย์ต้องพร้อมใช้  หรือค่อยเป็นค่อยไป คือ ผ่านการเป็นพพท. ในรพ.ขนาดใหญ่รร.แพทย์ ที่มีการเรียนการสอนเป็นระบบ 6.เลิกระบบบังคับใช้ทุนในชนบท  แพทย์สามารถมีcareer pathที่ต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับตำแหน่งราชการลดลงเลือก career parh ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์ เช่น เป็น แพทย์ในชนบท แพทย์ในรพท.รพศ อาจารย์รร.แพทย์ เป็นนักวิจัย ทำงานสนับสนุนการบริการ เลือกทำงานส่วนตัว เป็นนักบริหาร ฯลฯ

การจะปฏิรูประบบ ต้องอาศัยการเห็นปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รร.แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรัฐ เอกชน กพ. และแพทยสภา แก้ไขแบบองค์รวม ระดมสมอง การประกาศลดภาระงานพพท.แม้เป็นความพยายามแก้ปัญหา กว่าจะประกาศได้ก็ใช้เวลา แต่เป็นทางออกชั่วคราวที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาระงานแพทย์ทั้งระบบ อันประดุจภูเขาน้ำแข็ง ตั้งตระหง่านมานาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วัชระ' กระทุ้ง 'แพทยสภา' สอบหมอชั้น 14 เหตุใดจึงล่าช้า

นายวัชระ เพชรทอง อดีตสมาชิกรัฐสภา เรียน ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา เรื่อง ขอติดตามผลการร้องเรียนตรวจสอบผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์) ครั้งที่ ๒

'แพทยสภา 'แจ้งความคืบหน้าการตรวจสอบจริยธรรมแพทย์ เอื้อ 'นช.ทักษิณ' อยู่บนชั้น14

พลอากาศโท นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ทำหนังสือ ลับ ตอบกลับเรื่อง ขอแจ้งข้อมูลความคืบหน้าการพิจารณากรณีตรวจสอบผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เรียน นายวัชระ เพชรทอง

จับตา 'ชวน-เสรีพิศุทธ์' อาจจะจับมือกันพา 'ทักษิณ' กลับไปติดคุก

นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน บุคคลในกลุ่มที่ใกล้ชิด นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

'หมอเกศ' โผล่สภาแล้ว! ยิ้มแทนคำตอบ

พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้เดินทางเข้ามายังอาคารรัฐสภาฝั่งสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้สื่อข่าวบังเอิญไปเจอ พญ.เกศกมล ที่ห้องอาหารชั้น 1

หมอเหรียญทอง ฮึดสู้! ลั่นจะเอาคืนบ้างหลังถูกกลั่นแกล้งร้องเรียนที่แพทยสภา

พลตรีนายแพทย์เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า เครือข่ายน้องๆของผมจะร้องเรียนแพทย์หลายตัว บางตัวเป็นกรรมการแพทยสภา