คนกรุงคุ้นเคยกับภาพคนไร้บ้านที่ใช้ชีวิตตามพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ และแนวโน้มจำนวนคนไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้นตามเมืองที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตสูง แรงผลักที่ทำให้คนหนึ่งคนตัดสินใจกลายเป็นคนไร้บ้านมีจากหลายสาเหตุด้วยกัน มากที่สุด คือ ปัญหาครอบครัวและตกงาน รองลงมาเป็นเรื่องขาดที่พึ่งและถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความรุนแรงในครอบครัวที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน
ยิ่งไปกว่านั้น จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้คนไร้บ้านในกรุงเทพฯ สูงขึ้นกว่าร้อยละ 30 จากคนไร้บ้าน 1,307 คน เพิ่มเป็น 1,700 – 1,800 คน ขณะที่คนไร้บ้านทั่วประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 4,000 คน เพราะการจ้างงานลดลงจากเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ค่าใช้จ่ายพุ่งขึ้น ส่วนอาชีพการเก็บขยะขายหนึ่งในอาชีพสำคัญของคนไร้บ้าน จากเทรนด์ลดใช้พลาสติก ลดขยะ ก็ต้องปรับตัวถ้าระบบจัดการขยะและกระแสนี้คนเมืองสนใจมากขึ้น
ตั้งจุดประสานงานช่วยเหลือคนไร้บ้านย่านหัวลำโพง
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายต่างๆ เร่งป้องกันกลุ่มเปราะบางในการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน หรือ “คนไร้บ้านหน้าใหม่” เพราะหากปล่อยให้เกิดการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านนานเท่าไหร่ จะทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกายและจิตใจสูงขึ้น สอดรับงานวิจัยของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า คนไร้บ้านมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าคนอื่นๆ ถึงประมาณ 20 ปี และมีสาเหตุการเสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับหนึ่ง
ย่านหัวลำโพง เขตปทุมวัน เป็นพื้นที่ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก เย็นวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดูแลด้านการศึกษาและสังคม ร่วมกับ นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้ฯ สุขภาวะคนไร้บ้าน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , กรมพัฒนาสังคมสวัสดิการ และเครือข่าย ลงพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อสร้างความร่วมมือและหาทิศทางแก้ปัญหาคนไร้บ้าน
ภายในหัวลำโพงตั้งจุดประสานงานผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีคนไร้บ้านหน้าใหม่เดินทางมาลงทะเบียนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลประชากรและขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ พม. ให้คำปรึกษา แนะนำการเข้าถึงสวัสดิการ, บริการที่พักอาศัยชั่วคราว, อำนวยความสะดวกทำบัตรประชาชน ,บริการตรวจสุขภาพ ,ตรวจโควิด , บริการจัดหางาน,บริการส่งกลับภูมิลำเนา จนถึงประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คนไร้บ้านบอบช้ำจากการใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ
ด้านสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย และ สสส. ขยายผลโครงการ “ที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง” เน้นช่วยเรื่องที่พักและอาชีพของคนไร้บ้าน ให้บ้านกับที่ทำงานใกล้กัน ในรูปแบบ “แชร์” ค่าเช่าที่อยู่อาศัย คนไร้บ้านออกค่าเช่าร่วมกับโครงการฯ ในสัดส่วน 60:60 ของค่าเช่าห้อง ส่วนเพิ่มร้อยละ 20 ของการสมทบจากคนไร้บ้าน นำไปเป็นเงินกองทุนช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มด้านอื่นๆ
ห้องเช่าคนละครึ่งภายในชุมชนตรอกสลักหิน ใกล้สถานีหัวลำโพง เริ่มเดือน ก.พ. – เม.ย.ที่ผ่านมา คนไร้บ้านร่วมโครงการ 30 คน และมีกองทุนสะสมเครือข่ายฯ กว่า 3 หมื่นบาท เดือน พ.ค.- ก.ค. มีผู้สนใจเพิ่มอีก 20 คน และเดือน มิ.ย.-ส.ค. จะเพิ่มอีก 10 คน ซึ่งห้องพักจะอยู่คนเดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้
ห้องเช่าคนละครึ่ง เพิ่มโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัย
นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้จำนวนคนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น จนศูนย์พักคนไร้บ้านของภาครัฐและภาคประชาสังคมในปัจจุบันไม่เพียงพอกับการรองรับ ส่งผลให้คนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางจำนวนมากต้องเจอความเสี่ยงจากการใช้ชีวิตในที่สาธารณะ นำมาสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่อยู่อาศัย “คนละครึ่ง” เป็นความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่พยายามช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน เพื่อไม่ให้เป็นคนไร้บ้านถาวร ในระยะยาวจำนวนคนไร้บ้านจะน้อยลง
“ ปัจจุบันมีคนเข้าร่วมโครงการกว่า 40 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบกระทบจากโควิด ทั้งแม่บ้าน แรงงานก่อสร้าง คนรับจ้างรายวัน รายได้ลดลง เงินไม่พอจ่ายค่าเช่าห้อง ทำให้ต้องออกมานอนในพื้นที่สาธารณะ ตอนนี้มีบ้านคนละครึ่ง เราออกค่าเช่าบางส่วน ทำให้คนไร้บ้านที่หลุดมาจากโควิดสามารถตั้งหลักชีวิต หารายได้ได้ เห็นชัดจากพี่น้องมีเงินจ่ายค่าเช่า ทั้งแบบรายวัน ราย 3 วัน หรือรายเดือน และมีงานทำต่อเนื่อง เพราะมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง “ นายอนรรฆ กล่าว
หากมีบ้านอยู่ นายอนรรฆ บอกว่า ลดความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ คนไร้บ้านมีที่พักกาย พักใจ ทำความสะอาดร่างกาย เก็บข้าวของ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงงานมากขึ้น และมีรายได้ที่เพียงพอ ที่สำคัญเกิดชุมชนคนไร้บ้านที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนไร้บ้านหลายคนมีอาชีพอยู่แล้ว สามารถหนุนเสริมอาชีพระหว่างกัน อาจมีงานรับจ้างต้องการมากกว่า 1 คน ตอนนี้มีการสร้างไลน์กลุ่มที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง เวลามีเรื่องอะไร สามารถโพสบอกในนั้น บางคนโพสแจ้งมีตำแหน่งงานว่าง บางคนชวนไปทำงาน สมัครงาน รายได้ที่เพียงพอ ก็ช่วยให้เข้าถึงดิจิทัล
ผู้บริหาร กทม.-สสส. พูดคุยกับคนไร้บ้านที่เช่าห้อง
โครงการ”บ้านคนละครึ่ง” นายอนรรฆ บอกว่า เพิ่มโอกาสเพิ่มศักยภาพคนไร้บ้านหน้าใหม่ ส่วนคนไร้บ้านที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะมานานต้องได้รับความช่วยเหลือด้วยกระบวนการฟื้นฟู เพราะจากข้อมูลของสถาบันเอเชียศึกษา พบว่า คนไร้บ้านเกิน 2 ปี ได้รับความบอบช้ำจากการใช้ชีวิตบนพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้านไม่ใช่คนวิกลจริต แต่มีปัญหาสุขภาวะทางกายและจิตเล็กน้อย ต้องเข้าสู่การช่วยเหลืออีกรูปแบบ ถ้าสนับสนุนบ้านเช่าควรมีระบบดูแล จะหารือกับกทม. และ พม. ต่อไป
ทั้งนี้ นายอนรรฆ เห็นด้วยกรณี กทม.จะฟื้นนโยบาย “บ้านอิ่มใจ” กลับมา เพราะจะเป็นศูนย์พักฉุกเฉินสำหรับคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการเข้าถึงสวัสดิการ และการเข้าถึงงานและรายได้ที่เพียงพอ เปรียบเสมือนเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมระดับเมือง ไม่เพียงช่วยเหลือคนไร้บ้านหรือคนไร้บ้านหน้าใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงกลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจสังคมในกรุงเทพฯ ไม่ให้คนเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน
นอกจากนี้ นโยบายคนไร้บ้านที่อยากเสนอ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม. คนใหม่ เป็นการทำระบบฐานข้อมูลคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ ที่ครอบคลุม ช่วยให้เกิดการสนับสนุนและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต รวมถึงการพัฒนาการสนับสนุนระบบการเช่าที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มเปราะบางต่อภาวะไร้บ้านและคนไร้บ้านหน้าใหม่ ส่วนการทำงานเชิงรุกมีการช่วยเหลือฉุกเฉินในพื้นที่สาธารณะและการค้นหากลุ่มเปราะบางต่อภาวะไร้บ้านในชุมชนเพื่อป้องการการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านในระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไปของ ‘คนไร้บ้าน’ พม. - สสส. - จุฬาฯ แถลงผลแจงนับคนไร้บ้านปี 66 เกินครึ่งวัยกลางคน เป็นผู้สูงอายุ 22%
เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2566 ณ อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
'วราวุธ' แจงเงื่อนไขโครงการรับสิทธิรับค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง
"วราวุธ" แจง เงื่อนไขรับสิทธิรับค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง จ่อถก "ชัชชาติ" สรุปยอดคนไร้บ้าน-ไร้งาน ตั้งเป้าปี 79 คนไทยมีที่อยู่ หลังทำแล้ว 1 ปี คนร่วมโครงการไม่ถึงร้อย
'คนไร้บ้าน' และ ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2566’ รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ เริ่มรณรงค์ให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหานี้ตั้งแต่ปี 2528 โดยกำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกให้ความสำคัญกับสถานการณ์การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของประชากรทุกคนบนโลก
‘สดชื่นสถาน’ของคนไร้บ้าน
“ เห็นสดชื่นสถาน ดีใจ เป็นความฝัน ตอนที่ผมนอนอยู่ราชดำเนินเป็นคนไร้บ้าน อยากให้คนไร้บ้านมีห้องน้ำ มีที่อาบน้ำ ไว้ถ่ายหนักถ่ายเบาครับ เพราะตรงที่เรานอนเป็นห้องน้ำที่ต้องเสียเงิน ถ้าเราไม่มีเงินก็เข้าไม่ได้ เราต้องวิ่งไปหาที่สาธารณะที่จะเข้า ตอนนี้ความฝันเป็นจริง เป็นความฝันของคนไร้บ้านทุกคน
‘จ้างวานข้า’ คนไร้บ้านมีงานทำ ได้ชีวิต(ใหม่)
ถ้าใครติดตามมูลนิธิกระจกเงาจะเห็นโครงการ’จ้างวานข้า’ ที่พยายามสร้างแนวร่วมเติมเต็มการแก้ปัญหาคนไร้บ้าน คนจนเมือง ที่นอกเหนือจากการนำอาหารมาแจกหรือมอบความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว แต่เน้นสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนเหล่านี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสำหรับตัวเองและครอบครัว
‘คนไร้บ้าน’ เพิ่มโอกาสคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้
คนไร้บ้านหน้าใหม่มีเพิ่มขึ้น ทั้งจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การไร้ที่อยู่อาศัย ชุมชนที่ถูกขับไล่จากการพัฒนาที่ดินหรือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของเมือง แม้กระทั่งคนถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง อาชีพไม่มั่นคง รายได้น้อย รวมถึงพอใจอยากมีชีวิตที่อิสระ หลากหลายเหตุ