12 มิ.ย. 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อเพศที่ 3 ในประเด็นต่าง ๆ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการยอมรับของประชาชนหากมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเป็นเพศที่ 3 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 92.82 ระบุว่า ยอมรับได้ ขณะที่ ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ไม่สามารถยอมรับได้ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ผู้ที่ระบุว่ายอมรับได้ในปี 2565 มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น
ด้านการยอมรับของประชาชนหากมีสมาชิกหรือคนในครอบครัวเป็นเพศที่ 3 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 90.61 ระบุว่า ยอมรับได้ รองลงมา ร้อยละ 9.31 ระบุว่า ไม่สามารถยอมรับได้ และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับ
ผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ผู้ที่ระบุว่ายอมรับได้ในปี 2565 มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการอนุญาตให้เพศที่ 3 สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.59 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 0.23 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วยกับการอนุญาตให้เพศที่ 3 สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ (จำนวน 833 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 57.62 ระบุว่า ได้ทุกกลุ่ม ขณะที่ ร้อยละ 42.38 ระบุว่า เฉพาะผู้ที่แปลงเพศแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วยในปี 2565 มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกกฎหมายยอมรับการจดทะเบียนคู่ชีวิต (สมรส) ของบุคคลเพศเดียวกัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 79.62 ระบุว่า เห็นด้วย ขณะที่ ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2558 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วย มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเพิ่มเพศที่ 3 หรือเพศทางเลือกในการกรอกข้อมูลเอกสารราชการทุกชนิด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 77.63 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 22.14 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 0.23 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วยในปี 2565 มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
'ดร.อานนท์' ยกนิ้วชม 'ลุงป้อม' สมกับเป็นทหาร!
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ