ศูนย์จีโนมฯ ไล่ไทมไลน์ฝีดาษวานรในโลกให้เข้าใจตรงกัน เผยเริ่มระบาดตั้งแต่ช่วงปี 2561 แต่ถูกมองข้าม ชี้ปัจจุบันมีกลายกลายพันธุ์จากเดิมถึง 40 ตำแหน่ง
09 มิ.ย.2565 - เพจเฟซบุ๊กศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาให้ความรู้เรื่องฝีดาษวานรว่า รหัสพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิงทั้งจีโนมจากหลายประเทศทั่วโลกได้ถูกทยอยอัปโหลดเข้าไปแชร์บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมของจุลชีพทั่วโลก “GISAID” ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้ใช้โปรแกรม "Nextstrain" เข้ามาร่วมวิเคราะห์กับข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า (ดูหมายเลขในภาพประกอบ)
(1) ห้าปีก่อน (พ.ศ. 2560/2017)ได้เกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างไม่ปรกติในไนจีเรีย รายแรกพบเด็กชายอายุ 11 ขวบเกิดแผลที่บริเวณผิวหนังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 เป็นการติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีการแพร่ไปยังผู้อื่นอีก 12 คน โรคจึงถูกควบคุมสงบลง
(2) ในปี 2561/2018 จนถึงปัจจุบันปี 2565 ในไนจีเรียยังคงพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจำนวนมากกว่า 500 ราย (สัญญาณเตือนภัยที่นานาชาติมองข้าม)
หมายเหตุ ศูนย์ควบคุมโรคแห่งไนจีเรีย (NCDC) แถลงว่า “ระหว่างเดือนกันยายน 2560 ถึง 30 เมษายน 2565 มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 558 ราย เสียชีวิต 8 รายจาก 22 รัฐ” โดย “ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วย 15 รายที่ได้รับการยืนยันในปี 2565 เพียงปีเดียว จึงไม่ถือว่ามีเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ (outbreak) ของไวรัสฝีดาษลิงในไนจีเรีย”
(3) ในปี 2561/2018 พบการติดเชื้อฝีดาษลิงในยุโรป สหราชอาณาจักร และอิสราเอล จากผู้ที่เดินทางมาจากไนจีเรีย
(4) ในปี 2562/2019 พบการติดเชื้อที่สิงคโปร์จากผู้ที่เดินทางมาจากไนจีเรีย
(5) ในปี 2565/2022 พบการระบาดของไวรัสฝีดาษลิง 2 สายพันธุ์ (clade) ในสหรัฐอเมริกา พร้อมกัน
a. สายพันธุ์แรกระบาดในปี 2564 และ 2565 รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมคล้ายสายพันธุ์ที่ระบาดในไนจีเรียเมื่อปี 2560
b. สายพันธุ์ที่สองพบระบาดในปี 2565 รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมคล้ายสายพันธุ์ที่ระบาดในยุโรปในขณะนี้ ส่วนสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอิสราเอลพบการระบาดสองสายพันธุ์ เช่นกันแต่ต่างปีกัน (ดูรูปแผนที่)
(6) เกิดการระบาดใหญ่ของไวรัสฝีดาษลิงโดยพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องขณะนี้มีจำนวนมากกว่า 1,000 คน ส่วนใหญ่พบในยุโรป มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสฝีดาษลิงดั้งเดิมมากกว่า 40 ตำแหน่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
มาอีกแล้ว! ไวรัสตัวใหม่ 'มาร์บูร์ก' น้องๆอีโบลา
เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ