27 พ.ค.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ชื่นชมความสำเร็จของบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศไทย 2 ท่าน ที่ได้รับรางวัลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบด้วย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ในรางวัล Dr LEE Jong-wook Memorial Prize for Public Health และนพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ในรางวัล Sasakawa Health Prize
สำหรับพิธีมอบรางวัลได้จัดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งในส่วนของ ศ.นพ.ประกิต ติดภารกิจไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัลด้วยตนเอง นางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา จึงเป็นผู้ขึ้นรับรางวัลแทน
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 2 ท่าน ได้รับการยกย่องจาก WHO เนื่องด้วยเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อวงการสาธารณสุข โดย ศ.นพ.ประกิต วาธีสาธกกิจ ได้ทำงานภาคประชาสังคมในการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มีผลงานเชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข เป็นจักษุแพทย์เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจอประสาทตา ที่มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาตาบอดในประเทศไทย โดยเฉพาะภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา โดยพัฒนาวิธีการคัดกรอง ริเริ่มโครงการสำคัญๆ กระทั่งจำนวนผู้ป่วยที่ตาบอดอันเนื่องมาจากภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาลดลงอย่างมาก
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณทีมไทยแลนด์ ทั้งส่วนของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันผลักดันงานทุกด้านจนระดับสาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับในระดับโลก อาทิ ความสามารถในการบริหารจัดการกับสถานการณ์โควิด19 ซึ่งจากที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข นำคณะเข้าร่วมประชุม WHA ที่นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 22-28 พ.ค. ผู้บริหารของ WHO ก็ได้ให้ความชื่นชมประเทศไทยในเรื่องนี้ และจะนำรูปแบบการบริหารจัดการองไทยไปพัฒนาให้เป็นสากลและใช้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ตลอดจนความร่วมมือของไทยกับ WHO ตามโครงการพัฒนาระบบศูนย์กลางทางชีวภาพ หรือ WHO Biohub system ไทยก็เป็นประเทศแรกๆ ที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ แสดงถึงขีดความสามารถและมาตรฐานระดับสูงของห้องปฏิบัติการ การถอดรหัสพันธุกรรม การเพาะและส่งต่อเชื้อโรคใหม่ๆ สามารถร่วมกับ WHO ในการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะรับมือกับโรคได้รวดเร็ว นำไปสู่การวิจัยให้ได้ยา วัคซีนหรือแนวทางการป้องกัน รักษาโรคที่เป็นภัยคุกคามใหม่กับประชาคมโลกที่มีประสิทธิภาพ
“นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมไทยแลนด์ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ทุกๆ ท่านที่ทุ่มเทการทำงาน ซึ่งนอกจากจะได้ดูแลคนไทยแล้วยังสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยจนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ทั้งในส่วนการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และการดูแลรักษาประชาชนในยามปกติ เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่มุ่งมั่นดูแลประชาชนให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลด้วยคุณภาพที่ดีและเท่าเทียม” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
'หมอประกิต' ยกประสบการณ์ 'ลูกโป่งระเบิด' ชงแก้ไขปัญหารถบัสนักเรียนไฟไหม้ทุกประเด็น
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยแพร่บทความเรื่อง รถบัสเด็กนักเรียนไฟไหม้ สังคมไทยต้องเลิกคอยแต่จะ“ล้อมคอก”ท่าเดียว มีเนื้อหาดังนี้
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้