คณะราษฎรไทยแห่งชาติ ยื่นร้อง รมว.มหาดไทย ให้ปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และให้ประกาศตามแนวทางของคำสั่งหัวหน้าคสช.6/2562 ชะลอการดำเนินคดีต่อผู้ไม่มีใบอนุญาตโรงแรม หลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด รายได้ยังไม่เพียงพอในการจ่าย
27พ.ค.2565 - เมื่อเวลา 10.00 ที่กระทรวงมหาดไทย คณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) นำโดยนายพลภาขุน เศรษฐญาบดี และพวก ได้เข้า ยื่นเรื่องร้องเรียน กรณี ความทุกข์ร้อนจาก พรบ.ภาษีที่ดินฯ แจ้งร้องการถูกละเมิดสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และจะเดินทางไปยื่นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โดยหนังสือร้องเรียนมีใจความว่า ตามที่มีข่าวออกมาแน่ชัดว่า สำหรับปี 2565 นี้ ไม่มี การตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินฯ ในขณะที่สภาพเศรษฐกิจการค้า และผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ยังสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อ ประชาชนผู้ปะกอบการโดยทั่ว ทำให้เกิดความเดือดร้อนอย่างหนัก และประชาชนผู้ประกอบการต่างๆ ที่มีตัวเลขรายการประเมินภาษีที่ดิน ที่โดนคิดอัตรา ภาษี 100% โดยมีส่วนลดนิดหน่อย ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ และคงต้องให้เรื่องเข้าสู่กระบวนการตาม พรบ.ฯ ที่มีขั้นตอน คิดค่าปรับจำนวนมาก และเรื่องจะไปสู่ศาล อายัด ยึดทรัพย์ จะสร้างปัญหาต่อสังคม ต่อประชาชนส่วนใหญ่เป็นวงกว้างและสร้างผลกระทบรุนแรง อย่างยากเกินจะเยียวยาในภายหลัง
จึงเห็นเป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่จักต้องนำเรื่องอันเป็นกรณีร้ายแรงนี้ นำกราบร้องเรียน เพื่อพิจารณา โดยมีประเด็นดังนี้
1.ร้องเรียนความทุกข์ร้อนจาก พรบ.ภาษีที่ดินฯ
ตามสิ่งที่แนบมาด้วยตัวอย่างผู้ได้รับความเดือดร้อนภาษีที่ดิน 2565 เทียบกับภาษีที่ดิน 2562 ที่มีการประเมินภาษี มีมูลค่าต่างกันมาก เป็นภาระอย่างยิ่ง เป็นภาษีที่ไม่เป็นธรรม ขัดแย้งต่อ รธน.มาตรา 62 ซึ่งเป็นหมวดหน้าที่ของรัฐ บัญญัติว่า รัฐต้องจัดระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
กลุ่มผู้ครองที่ดินที่ไม่สามารถประกอบการได้ หรืออาคารทำการ สำนักงานที่ต้องเลิกกิจการไปจำนวนมาก ผู้ไม่สามารถปลูกต้นไม้ หรือทำการใดๆ เพื่อให้ได้อัตราภาษีที่ต่ำ เช่น ตึกร้างข้างถนนใหญ่ในเขต ที่ดินแพง ที่มีมากกว่า 80 % ในเวลานี้ได้รับผลกระทบหนัก ไม่มีรายได้ และยังโดนภาระภาษีหนักมาก ไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาจ่ายภาษีนี้จำนวนมาก
กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก เป็นภาคส่วนที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ที่มีที่ดินย่านที่มี ราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างราคาสูงมาก โดนภาระภาษีนี้อย่างหนัก เนื่องจากเพิ่งจะเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ไม่นาน หลังจากโดนพิษโควิด-19 ปิดกิจการ ไปเกือบ 2 ปี รายจ่ายที่เป็นภาระทั้งหลายคอยอยู่มากมาย ขณะที่รายได้ยังไม่เพียงพอในการจ่าย และไม่สอดคล้องกับสภาพธุรกิจ
กลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน และหรือก๊าซ ขนาดย่อม 1-3ไร่ ที่ไม่มีรายได้จากค่าเช่าในพื้นที่ หรือจาก non-oil ที่ไม่สามารถแข่งขันกับแบรนด์ใหญ่ได้ ที่มีค่าการตลาดเพียงน้อยนิด มีค่าใช้จ่ายมากมาย และไม่อาจขึ้นราคาได้เนื่องจากมีการควบคุมค่าการตลาด เป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบ มีรายจ่ายจากภาษีที่ดินฯเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 50,000 บาท เมื่อเทียบกับปี 2562 และมีค่าใช้จ่ายอื่นที่บังคับมากมาย ไม่สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงมาก
กลุ่มผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบสาหัส เนื่องจากมีที่ดินที่รอการขายจำนวนมาก มีบ้านอาคารที่สร้างเสร็จที่รอการขายจำนวนมาก แต่ยังขายไม่ได้ เงินกู้ธนาคารก็ต้องจ่าย ยังไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐ จากพิษเศรษฐกิจที่มีติดต่อมาหลายปี ประชาชนไม่มีกำลังซื้อไม่มีรายได้ ไม่สามารถกู้ธนาคารมาซื้อได้ มีอัตราเงินกู้ธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัยยังสูง เป็นภาระที่ทำให้ได้รับผลกระทบ ซ้ำซ้อนหลายด้าน และยังไม่สามารถหาทางออกใด ๆ ได้ โดนภาระภาษีที่ดินนี้อย่างหนักมากกว่าปี 2562 ด้วยมูลค่าสูงมาก มีตัวเลขการคิดค่าปรับจากการชำระล่าช้ายิ่งกว่านายทุนเงินกู้โหดรายวัน ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ และต้องเข้าเดินสู่กระบวนการเข้าสู่ศาล อายัด ยึด ตามกระบวนการ เป็นวิกฤตขั้นร้ายแรง
กลุ่มผู้ถือครองที่ดินมาแต่สมัยพ่อแม่นานมาแล้ว มากกว่า 20-40 ปี ประกอบกิจการค้าขายทั่วไป ไม่ใช่ธุรกิจใหญ่โต ไม่ใช่นายทุนที่มี ที่ดินจำนวนมาก ไม่ใช่กลุ่มนายทุนที่ซื้อที่ดินเก็งกำไร แต่ปัจจุบันที่ดินดั่งเดิมนี้กลายเป็นย่านที่เจริญมีราคาประเมิน ตรว.ละ 350,000 บาท ไม่สามารถหาเงินที่ไหน มาจ่ายค่าภาษีที่ดิน ถึงปีละ 800,000บาท ได้ เพราะกิจการที่ทำเป็นการค้าขายเล็กน้อย บ้างก็เก็บค่าเช่าที่ ได้จำกัด ซึ่งก็นำส่งภาษีรายได้จากการเก็บค่าเช่าให้รัฐแล้ว ยังมาโดนภาษีที่ดินจำนวนมากขนาดนี้ อีก เช่นเดียวกับที่อยู่อาศัยดั่งเดิมที่อยู่ในย่านที่ดินราคาแพง ด้วยเช่นกัน
การคิดภาษีที่ดิน รายปี ตามราคาประเมินกรมธนารักษ์ในอัตราตาม พรบ.ฯ ตามประกาศ เป็นภาระอย่างยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการ ต่อการดำรงชีพ ไม่เป็นธรรม ไม่อาจยอมรับได้ และต้องการมาตรการช่วยเหลือ การเยียวยาจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างเร่งด่วน
2.แจ้งการถูกละเมิดสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
กรณี พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12/3/2562 ซึ่ง รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 6 /4/2560 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีผลบังคับก่อนที่จะมีการเห็นชอบ ร่างพรบ. ภาษีที่ดิน2562 นี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้มีบัญญัติให้ความคุ้มครอง แก่ประชาชนและชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ ผู้เกี่ยวข้อง ไว้หลายมาตรา
ในฐานะ ประชาชน ชุมชน เป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ ที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการกระทำของรัฐ หรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน เป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ถูกละเมิดสิทธิ
2.1 ในขั้นตอนการเสนอออกกฎหมาย ขัดแย้งไม่ปฏิบัติตาม รธน.มาตรา 58,77 ต้องตาม มาตรา 5
โดยไม่เคยได้รับหนังสือ ข่าวสารเชิญร่วมรับฟังความคิดเห็นใดๆ เลย ไม่เคยได้รับข้อมูล ไม่เคยได้มีส่วนร่วมรับรู้ก่อนการตรากฎหมาย ในฐานะผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสียสำคัญที่ รธน.ให้ความคุ้มครอง ถูกละเมิด สิทธิและได้รับความเสียหายโดยตรง และไม่อาจยอมรับได้ว่า กระบวนการตรากฎหมายที่บังคับคนทั้งประเทศ และสร้างผลเสียผลกระทบขั้นร้ายแรง ที่มีการแสดงความเห็นในเว็บไซต์เพียง 10 ราย คือ การกระทำการที่เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ตาม รธน. 58,77 แล้ว ได้ ต้องตาม รธน.มาตรา 5 กฎหมายใดที่ขัดแย้งต่อ รธน.เป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
2.2 ในขั้นตอนการพิจารณา ไม่ปรับอัตราภาษีให้เหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องแก่สภาพการณ์ ต้องตาม รธน.มาตรา 58,62 ,3
ช่วงการพิจารณาของหน่วยงานรัฐ การดำเนินการของรัฐ ในการตราพระราชกฤษฎีกา ลดภาษี ให้เหมาะสมกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจสังคม ประชาชนโดยรวมที่ยังประสบปัญหารับผลร้ายแรงอยู่ รายได้แทบไม่มีเข้า รายจ่ายเพิ่ม พูน เข้าขั้นวิกฤตร้ายแรง ตามข่าวหนี้สินครัวเรือนที่มากทำสถิติสูงสุด เป็นที่ทราบโดยทั่ว และรัฐก็รับทราบสถานการณ์ดี ว่าประชาชนส่วนมากไม่มีเงินจับจ่ายทั้งประเทศ จึงต้องมีการกระตุ้นผ่านโครงการประชานิยมออกมามากมาย แต่กลับเพิกเฉยไม่เปิดรับฟังความคิดเห็น ไม่ปรับลดภาษี ที่เป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องรับฟังความคิดเห็นส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนการดำเนินการใดที่สร้างผลกระทบ ตามมาตรา 58 รวมทั้งยังต้องมีการจัดระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมตาม มาตรา62 ปฏิบัติราชการไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ไม่คำนึงถึงความผาสุกของประชาชนโดยรวม ตาม มาตรา3
ถูกละเมิดสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง เป็นผู้เสียหายโดยตรง การดำเนินการของรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุอันมีสภาพร้ายแรงดังกล่าวข้างต้น และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่ว อาศัยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3,41,43,58 ประกอบมาตรา 25,51,77,174 และการปฏิรูปประเทศตาม รธน.มาตรา 258 ค (1) ฉ(3) และพระราชกฤษฎีกา 2546 ว่าด้วยหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 6,7,8 พรบ.บริหารราชการแผ่นดิน มาตรา3/1 ,20 พรบ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ2562 หมวด 5 การประเมินผลสัมฤทธิ์
โดยขอให้มีคำบัญชาเป็นการเร่งด่วน ดังนี้
ข้อ1โปรดให้มีการดำเนินกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกา ลดภาษีที่ดินฯ ปี 2565 ลง 80% โดยพลัน
ข้อ2โปรดรับเรื่องร้องเรียนนี้ให้เป็นไปตาม พรบ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ2562 มาตรา 34(1) ให้เรื่องเข้าสู่กระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย และมีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการประเมิน ปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด เปิดโอกาสให้ ประชาชนและชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบ มีส่วนได้เสีย เข้ามีส่วนร่วมตามกระบวน การที่ รธน.ให้ความคุ้มครองตาม มาตรา 77,58 ให้เป็นไปตาม พรบ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ 2562
นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงานคณะราษฎรไทยแห่งชาติ กล่าวว่า ได้เข้ายื่นหนังสือ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีที่ประชาชนและชุมชนได้รับความทุกข์ร้อนจากการไม่ปรับลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยภาษีใหม่มีอัตราที่สูงมากเป็นภาระอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการไม่มีเงินจ่ายภาษี ไม่สอดคล้องกับรายได้และกรณีการไม่มีมาตรการบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ประกอบการโรงแรมทั่วประเทศที่ไม่มีใบอนุญาต หลายหมื่นรายทั่วประเทศซึ่งเป็นโรงแรมขนาดเล็กซึ่งมีโทษทางอาญาและค่าปรับ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็กที่ไม่สามารถขออนุญาตได้ตามที่กฎหมายที่ยังแก้ไม่ลุล่วง กำหนดไว้ เดือดร้อนโดยทั่ว โดยปรากฏว่าผู้ประกอบการโรงแรม ที่ไม่มีใบอนุญาตโดนจับดำเนินคดีไปบ้างแล้วก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนอย่างหนัก
"จึงนำเรียนร้องยังรัฐมนตรีมหาดไทยเพื่อพิจารณาเป็นการเร่งด่วน และยังได้เดินทางไปยังกระทรวงการคลังเพื่อยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีคลัง และสอบถามเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลังเกี่ยวกับความเดือดร้อนจากการไม่ปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย"นายพลภาขุน กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่อง 'พรรคปฏิบัติการ' ปี 68 'ภูมิใจไทย' ถูกขวางยิ่งโต
“พรรคภูมิใจไทย” ภายใต้การนำของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ถือเป็นองค์กระกอบตัวแปรสำคัญทางการเมือง ที่ทำให้เกิดรัฐบาลไฟต์บังคับนี้ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย
'อนุทิน' ลั่น! อุดมการณ์ 'พรรคปฎิบัติการ' พูดแล้วทำ มั่นใจถูกขวางยิ่งโต
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงจุดแข็งแล
'มท.หนู' ลั่นมหาดไทยยุคนี้ ไร้อำนาจเก่าไม่แตกแถว ผู้ว่าฯ ทำงานเกียร์ 10
'มท.หนู' ลั่นมหาดไทยยุคนี้ไม่แตกแถว ไร้ปัญหาฝ่ายการเมืองปะทะขรก.ประจำ ยันผู้ว่าฯ เข้าเกียร์ 10 ชี้ใครไม่สนองงานชาวบ้าน มีวิธีจัดการร้อยแปดพันเก้า
'มท.1' ชงครม.แต่งตั้งโยกย้ายผจว. หลายตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองล้วงลูก
ที่ทำเนียบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ทางก
'อนุทิน' วอนให้ทุกฝ่ายเงียบ! รอคำสั่งศาลปกครองปมเขากระโดง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1 ) กล่าวถึงข้อพิพาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ระหว่างก
ให้ความเคารพตลอด! 'อนุทิน' ยันไม่ต้องชี้แจง 'ทักษิณ' ไม่ว่าจะพูดอย่างไรก็ตาม
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ชี้แจงเรื่องการเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา