'คบต.' ถกแก้ปัญหาขาดแรงงานต่างด้าว เห็นชอบ 4 ข้อ ลดผลกระทบผู้ประกอบการ

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เห็นชอบ 4 ประเด็น ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติ เร่งจัดทำประกาศ รง.+ ประกาศ มท. และร่างกม.ที่เกี่ยวข้องรองรับ ก่อนเสนอครม.พิจารณา

19 พฤษภาคม 2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 2/2565 โดยมีนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม โดยนายสุชาติฯ กล่าวว่า ในวันนี้ที่ประชุม คบต. ได้เห็นชอบ 4 ข้อพิจารณา ดังนี้

1.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวภายหลังวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยแบ่งแรงงานข้ามชาติที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 13 ก.พ. 66 เป็น 2 กลุ่ม 1.กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายในวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทำงานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ เพื่อทำงานได้อีก 2 ปี (13 ก.พ. 68) และ 2. กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายหลังวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทำงานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68

2.การบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้นายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการฯต่อกรมการจัดหางาน ผ่านระบบออนไลน์ หลังดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นจะทำงานและอยู่ได้ถึง 13 ก.พ. 66 หากต้องการทำงานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68 เช่นเดียวกัน

3. การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (VISA) โดยกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะร่วมร่างกฎกระทรวงส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (VISA) จาก 2,000 บาท เหลือ 500 บาท

4. การจัดตั้งศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง ท่าอากาศยานดอนเมือง และสุวรรณภูมิ เพื่อใช้ในการตรวจสอบเอกสาร หรือหลักฐานต่าง ๆ และการออกใบอนุญาตทำงาน รองรับการนำแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานตาม MOU ทางอากาศ (สัญชาติเมียนมา)

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน กำชับกระทรวงแรงงาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติ เพื่อลดผลกระทบให้ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติในกิจการ สอดรับนโยบายเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับฟังปัญหาของผู้ประกอบการเรื่อยมา จนนำมาสู่การเสนอข้อพิจารณา ทั้ง 4 ประเด็น โดยทุกหน่วยงานที่ร่วมประชุมในวันนี้ จะกลับไปแก้ไขระเบียบ หรือกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันมติที่ประชุมสู่ครม.ต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ได้มอบหมายให้กรมการจัดหางาน และหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำร่างประกาศกระทรวงแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ

“กระบวนการทั้งหมดจะต้องใช้เวลา ในระหว่างนี้ขอฝากถึงนายจ้าง สถานประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติ ให้ความสำคัญกับการใช้แรงงานถูกกฎหมาย เพราะหากตรวจพบการกระทำความผิดนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุก และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวย้ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์” ยกคุณภาพแรงงานฟาร์มสุกร ใช้แนวปฏิบัติสากล (GLP) มุ่งเพิ่มโอกาสการค้าในตลาดโลก

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU

สปส. เสริมแกร่งนักประชาสัมพันธ์ประกันสังคม สร้างการรับรู้ ดูแลสวัสดิการผู้ประกันตนให้ทั่วถึงรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพนักประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคม โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

“สุชาติ” เผยผล เจรจา KTEPA ไทย – เกาหลีใต้ รอบแรก คาดเพิ่มตัวเลขส่งออกไทยไปเกาหลีใต้ สูงถึงร้อยละ 77 สองฝ่าย ย้ำความตั้งใจสรุปผลได้ภายในปี 2568

รมช.พณ.สุชาติ เผยผลการประชุมระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ที่เริ่มประชุมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA)

ก.แรงงาน จัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ "ในหลวง" "พิพัฒน์"นำข้าราชการ ร่วมเครือข่ายแรงงานจิตอาสา บริการประชาชน ฟรี

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น.นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ของกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสิรภพ ดวงสอดศรี

"พิพัฒน์" หนุนยกระดับฝีมือแรงงานเยาชนไทย มุ่งสู่มาตรฐานโลก จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาค ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมี นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ก.แรงงาน เชิญร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ 11 ก.ค.นี้ ที่วัดเทพสรธรรมาราม จ.ปทุมธานี

วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ