ระวัง ‘โจรเรียกค่าไถ่ข้อมูล’ โจมตีหลังพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้

19 พ.ค. 2565 – นายนิพนธ์ นาชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPOA) และที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ ติดตามตรวจสอบโครงการด้านดิจิทัลและการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลวิถีใหม่ (Digital New Normal) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีที่พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 ว่า หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้เชื่อว่าหลายองค์กรจะมุ่งเน้นการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการจัดระเบียบข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของกฎหมาย

แต่ประเด็นที่หลายองค์กรอาจจะไม่ให้ความสำคัญ คือ เรื่องการป้องกันข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นช่องโหว่ที่จะถูกโจมตี  โดยจากข้อมูลสถิติซึ่งเป็นกรณีศึกษาของสหภาพยุโรป พบว่า หลังการประกาศใช้ กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของการเรียกค่าไถ่ข้อมูลเป็นจำนวนมาก

“ หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายแนวโน้มของการเรียกค่าไถ่ข้อมูลจะสูงขึ้นมาก เพราะแฮกเกอร์มีข้อต่อรองเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะบีบให้ผู้ประกอบการจะต้องยอมจ่าย เพื่อแลกกับการที่ไม่ให้ถูกปล่อยข้อมูล จนนำไปสู่การเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของข้อมูล” นายนิพนธ์ กล่าว 

ส่วนประเด็นเรื่องการร้องเรียนเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของข้อมูลนั้นจากการศึกษาพบว่า ยังไม่เกิดขึ้นในช่วงแรก แต่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงขึ้นปีที่ 2 และ 3 ของการบังคับใช้  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

J&T Express จับมือ อัลฟ่าเซค ลุยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ยกระดับความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

นายนิพนธ์ นาชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลฟ่าเซค จำกัด (AlphaSec) ในฐานะที่ปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม Data Protection Officer ให้แก่ นางสุธีมนต์ อักเกอร์เวล กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท J&T Express และทีมเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อัลฟ่าเซค ลุยยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ในระบบสาธารณสุข

อัลฟ่าเซคร่วมเป็นหัวทีมวิทยากรในงานอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะ CISO เพื่อยกระดับมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระบบสาธารณสุข

'อัลฟ่าเซค' จับมือ 'ส.อ.ท.' ทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศของงาน Made in Thailand

อัลฟ่าเซค ร่วมมอบ “ใบรับรองระบบมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022” ให้กับ ส.อ.ท. ในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ MiT และเตรียมรับมือกับ ภูมิทัศน์ไซเบอร์ในปี 2567

ไทยขาดแคลนบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หนัก ม.ขอนแก่น เปิดหลักสูตรใหม่รองรับ

นายนิพนธ์ นาชิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ในปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ถูกใช้งานมากที่สุดในโลกคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากข้อมูลผลสำรวจ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)