กมธ.ติดตามงบฯ ยื่นนายกฯ ล้มประมูลท่อส่งน้ำอีอีซี เปิดเอกชนแข่งขันเป็นธรรม ยังไม่พบเอื้อทุจริต

17 พ.ค.2565 - นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีกมธ.เตรียมส่งหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐ มนตรีและรมว.กลาโหม ขอให้ยกเลิกโครงการบริหารและดำเนินกิจการท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออกว่า กมธ.ยื่นหนังสือดังกล่าวถึงพล.อ.ประยุทธ์เรียบร้อยแล้ว มีข้อเสนอแนะให้นายกฯสั่งยกเลิกการประมูลโครงการระบบท่อส่งน้ำอีอีซีและให้เปิดคัดเลือกบริษัทเอกชนเข้าประมูลใหม่ ให้มีการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม เป็นไปด้วยความโปร่งใส เปิดกว้าง ตรวจสอบได้

นายไชยา กล่าวอีกว่า จากการเชิญกรมธนารักษ์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก การประปาส่วนภูมิภาค บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด บริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ และนายยุทธนา หยิมการุณ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ มาให้ข้อมูลพบว่า กระบวนการคัดเลือกบริษัทมาบริหารจัดการน้ำในอีอีซีนั้น มีการกำหนดทีโออาร์ที่ไม่ชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่นำมาใช้ในการคำนวณ ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ขาดความชัดเจนในขั้นตอนกระบวนการคัดเลือก อาทิ การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการทีโออาร์และลดสเปกทีโออาร์ลงมาในการประมูลรอบ2 ที่กรมธนารักษ์ยังชี้แจงเหตุผลได้ไม่ชัดเจน

นายไชยา กล่าวว่า กมธ.ยังเห็นว่า การประมูลโครงการดังกล่าว มีแต่การใช้กฎหมายเฉพาะของหน่วยงานคือ พ.ร.บ.ที่ราชพัสุด พ.ศ.2562 ของกรมธนารักษ์เท่านั้น จึงมีข้อเสนอให้นำกฎหมายอื่นที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันและอนาคตมารองรับการขยายตัวการพัฒนาการใช้น้ำในเขตพื้นที่อีอีซี โดยให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) ที่เป็นหน่วยงานในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกร่วมดำเนินการกับกรมธนารักษ์คัดเลือกบริษัทที่จะเข้ามาบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี อาจจะต้องออกเป็นมติครม.ให้ความเห็นชอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และให้ สกพอ.ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดกลไกโครงสร้างราคาค่าน้ำในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เหมาะสม เป็นธรรมเพื่อสร้างความมั่นคงการใช้น้ำและการบริหารเส้นท่อร่วมกัน

ทั้งนี้การดำเนินของกมธ.ตรวจสอบเฉพาะกระบวนการคัดเลือกบริษัทเอกชนมีขั้นตอนถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้สอบลงลึกไปถึงขั้นว่า มีใครอยู่เบื้องหลังรับผลประโยชน์ทุจริตหรือไม่ เท่าที่ดูเบื้องต้นยังไม่พบมีการสั่งการจากบุคคลใดในการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ข้อเสนอของกมธ.ที่ยื่นให้พล.อ.ประยุทธ์นั้น ขึ้นอยู่กับนายกฯจะทำตามหรือไม่ หากผลสุดท้ายไม่มีการทบทวน ปล่อยให้เป็นไปตามการประมูลเหมือนเดิม ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เพราะกมธ.ได้เตือนแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.

น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง

ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง

'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย

เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้

มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ

สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร  ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก