รองโฆษกรัฐบาล เผยลดเงินสมทบประกันสังคมทุกมาตรามีผลบังคับแล้วถึง ก.ค. เสริมสภาพคล่องนายจ้าง เพิ่มกำลังใช้จ่ายผู้ประกันตนแต่ยังรับสิทธิประโยชน์ทดแทนคงเดิม
9 พ.ค.2565-น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการดูแลภาระครองชีพ เพื่อบรรเทาผลกระทบแก่ประชาชนจากทั้งการแพร่ระบาดของโควิด19 และสถานการณ์ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ขณะนี้หลายโครงการได้เริ่มมีผลบังคับแล้วและมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ พ.ค.-ก.ค. อาทิ มาตรการเพิ่มส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็น 100 บาท/เดือน มาตรการส่วนลดค่าน้ำมันแก่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มาตรการลดอัตราค่าไฟแปรผัน(ค่าFt) แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยและกิจการขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน
นอกจากนี้ อีกมาตรการที่เริ่มมีผลบังคับตั้งแต่เดือนพ.ค.- ก.ค.เช่นกัน คือการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 11.2 ล้านคน ได้ปรับลดทั้งส่วนเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนจากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง ส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.9 ล้านคน ปรับลดอัตราเงินสมทบจาก 432 บาทต่อเดือน ก็ลดลงเหลือ 91 บาทต่อเดือน
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งมีอยู่ 10.7 ล้านคน ได้มีการขยายระยะเวลาลดเงินสมทบเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่ ก.พ.-ก.ค. 2565 ซึ่งเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาก็ได้เผยแพร่อัตราเงินสมทบในส่วนของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้อัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนกับรัฐบาลลดลง ใน 3 ทางเลือก แยกเป็น 1)ผู้ประกันตนที่เดิมจ่ายเงินสมทบอัตรา 70 บาทต่อเดือน ลดลงเป็น 42 บาทต่อเดือน รัฐบาลลดเงินสมทบจาก 30 บาทเหลือ21 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย
2)ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในอัตรา 100 บาทต่อเดือน ลดลงเป็น 60 บาทต่อเดือน รัฐบาลลดเงินสมทบจากเดือนละ 50 บาท เหลือ 30 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ 3)ผู้ประกันตนที่อัตราเดิมจ่ายสมทบ 300 บาทต่อเดือน ลดลงเป็น 180 บาทต่อเดือน รัฐบาลลดงเงินสมทบจาก 150 บาท เหลือ 90 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
“รัฐบาลได้ใช้กลไกของกองทุนประกันสังคม เพื่อช่วยเพิ่มกำลังการใช้จ่ายให้กับผู้ประกันตน และลดต้นทุนให้แก่นายจ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากทั้งโควิด-19และสถานการณ์ราคาพลังงาน แต่ผู้ประกันตนทุกกลุ่มทั้งตามมาตรา 33,39 และ40 รวมเกือบ 24 ล้านคนยังได้รับการคุ้มครองตามสิทธิประโยชน์ทดแทนเช่นเดิม”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
'นิพิฏฐ์' ท้าเดิมพัน! 'ทักษิณ' ไม่ผิด112-ชั้น14 ยอมเอาตะกร้อครอบปาก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ขอให้มนุษย์เข้าใจหมาด้วย" โดยระบุว่า
'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า
ระวังปากพาจน! 'ทักษิณ' สามหาว เสี่ยงขัดแย้งประเทศเพื่อนบ้าน
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทักษิณ ปราศรัย ระวังปากพาจน" โดยระบุว่า
รัฐบาลดี๊ด๊า! เปิดทำเนียบฯ รับม็อบเชียร์ 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ ยื่น 1.5 หมื่นรายชื่อ หนุน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 'รองเลขาฯนายกฯ' รีบหอบส่ง ธปท.ทันที แย้มวันนี้ไม่เลื่อนแล้ว