รองโฆษกรัฐบาล เผย กระทรวงเกษตรญ ยื่น ‘เลี้ยงควาย-เกษตรเชิงนิเวศ’ ทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นมรดกทางการเกษตรโลก สอดรับนโยบาย Soft Power
9 พ.ค.2565-น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมเป็นอีกหน่วยงานหลักในการส่งเสริม Soft Power ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่ต้องการส่งเสริมให้อาหารไทย แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นที่เลื่องลือและยอมรับทั่วโลก ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ได้สั่งการให้ขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมด้านการเกษตรที่ประเทศไทยมีความโดดเด่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารขอรับรอง “วิถีการเลี้ยงควายและเกษตรเชิงนิเวศในพื้นที่ทะเลน้อย” จ.พัทลุง ที่สืบทอดกันมากว่า 250 ปี เป็น “มรดกทางการเกษตรโลก” (Globally Important Agricultural Heritage System หรือ GIAHS) จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO
ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากจนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “Ramsar site” และมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ FAO ในการเป็นมรดกทางการเกษตร ที่เน้นการอนุรักษ์มรดกทางการเกษตรโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจ ปกป้องและส่งเสริมการใช้ทางชีวภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและยั่งยืนบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย มีวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงกับควายน้ำทะเลน้อย
น.ส.รัชดา กล่าวว่า เกษตรกรในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยมีรายได้หลักจากการขายควาย ประกอบกับการทำประมง ปลูกข้าว และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจูด ด้านระบบนิเวศ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในทะเลน้อยมีปริมาณสูง ควายน้ำจะดำน้ำลงไปกินหญ้าใต้น้ำและพืชน้ำอย่างสายบัว ใบบัว หรือสาหร่าย กระจูด ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในการกำจัดวัชพืช และมูลของควายยังเป็นอาหารให้กับพืชและแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารปลา และในส่วนของด้านวัฒนธรรม ควายเป็นศูนย์รวมของความเชื่อ มีพิธีกรรมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับควาย และทางเดินของควาย นอกจากจะสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามยังช่วยป้องกันการเกิดไฟป่าอีกด้วย
“หากพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลก จะทำให้เกษตรกรและชุมชนได้รับประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว โอกาสทางการเกษตร การจ้างงานเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงด้านอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 2) ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร 3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมาแต่ดั้งเดิม 4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ 5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โจรลักข้าวสาร' หน้ามืดเป็นลมหลังถูกตำรวจตามจับถึงบ้าน
พ.ต.ท.ยศพณศ์ รุ่งสวัสดิ์ ผบ.ร้อย ตชด.434 พัทลุง ชุดช้างศึกสองเล กองร้อย ตชด.434 พัทลุง นำหมายจับของศาลจังหวัดพัทลุง ซึ่งออก
พัทลุงผวาน้ำมาอีกระลอก 'ท้องถิ่น' เร่งดูแลชาวบ้าน
เทศบาลเบตงอาคารทรุด รถยนต์เสียหาย 7 คันรวด ขณะที่ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่พัทลุง เร่งช่วยเหลือชาวบ้านแจากจ่ายข้าวสาร - อาหารอุปโภค ทุกครอบครัว
ขุดคำพูด 'เผ่าภูมิ' โจมตีคนละครึ่ง ตอนนี้เป็นรมต.แล้ว คงได้บทเรียนอย่าพูดแต่เอามัน
กรณีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยฟื้นโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่งนั้น
พัทลุงผุดศูนย์ฉุกเฉินป้องกันวาตภัย อุทกภัยและดินถล่ม จับตาพื้นที่ 'เทือกเขาบรรทัด'
ทหารพัฒนาภาค 4 ร่วม จ.พัทลุง รับมืออุทกภัยซ้ำซาก วาตภัย ดินถล่ม เริ่มปลายเดือนตุลาคม-มกราคม จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด
TED FUND กระทรวง อว.ลงพื้นที่ติดตามภารกิจผู้ประกอบการที่ขอรับทุน TED Youth Startup โชว์ผลงานบริหารจัดการน้ำผ่านโครงการ 'H.A.G System ระบบควบคุมประตูน้ำไฮดรอลิก' ที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง เผยควบคุมระบบผ่าน Smart Phone พร้อมแจ้งเตือนสถานะแบบ Real time ผ่าน LINE เมื่อมีกรณีฉุกเฉิน
น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund) หรือ TED FUND กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง