อุตุฯ เตือนฉบับ 3 'พายุไซโคลน' อ่าวเบงกอล กระทบไทยเจอฝนกระหน่ำ 8-10 พ.ค.

7 พ.ค.2565 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง" ฉบับที่ 3 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และจะเคลื่อนตัวทางทิศเหนือเข้าปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบนในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 65 ส่งผลให้ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามัน มีกำลังปานกลาง

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในบริเวณภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำบำไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในขณะที่อ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พยากรณ์อากาศ 24 ชม.ข้างหน้า ทั่วปท.อุณภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาฯ ‘กทม.’ อากาศร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน

อุตุฯเตือนรักษาสุขภาพ กลางคืนหนาว กลางวันร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันตกในระดับบนปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า

กรมอุตุฯ เผยปี 68 'ฝนชะช่อมะม่วง' ฝนนอกฤดูจะเกิดขึ้นช่วงปลาย ก.พ.

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 14- 28 ก.พ.68 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนั

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นมีหมอกตอนเช้า กลางวันร้อน ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ลมหนาวมีกำลังอ่อนลง อุณหภูมิสูงขึ้น 2-5 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 12 – 18 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 – 5 องศาเซลเซียส