7 พ.ค.2565 - นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นโยบายประกันรายได้เกษตรกรในพืชหลัก 5 ชนิดของรัฐบาลโดย "นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์" ล่าสุดจากการติดตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรทั้ง ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยวันนี้การประกันรายได้ผู้ปลูกข้าวปีที่3 โครงการได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงมาอย่างต่อเนื่องแล้ว
ล่าสุดในส่วนของชาวนาภาคใต้ที่เก็บเกี่ยวช่วงนี้นั้นรายงานจากนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระบุว่าได้อนุมัติราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2565 ดังนี้คือ
1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ สิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยว ไม่ต้องมีการชดเชย
2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาเกณฑ์กลางตันละ 12,652.58 บาท ได้รับชดเชยตันละ 1,347.42 บาท ทำให้มีผู้ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 21,558.72 บาท
3) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี เกณฑ์กลางตันละ 11,731.21 บาท อันนี้ไม่ต้องชดเชยเนื่องจากราคาเกณฑ์กลางสูงกว่าเป้าหมาย
4) ข้าวเปลือกเจ้า เกณฑ์กลางตันละ 9,203.79 บาท ชดเชยตันละ 796.21 บาท ได้รับชดเชยสูงสุด ครัวเรือนละ 23,886.30 บาท และ
5) ข้าวเปลือกเหนียว เกณฑ์กลางตันละ 10,256.88 บาท ชดเชยตันละ 1,743.12 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 27,889.92 บาท
“ ดังนั้นรอบนี้จึงมีข้าวเพียง 3 ชนิดที่ได้รับชดเชยนะคะ คือ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว ส่วนข้าวเปลือกหอมปทุมธานีไม่ได้รับชดเชยเนื่องจากราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงสูงกว่ารายได้ที่ประกันไว้และข้าวเปลือกหอมมะลินั้นได้สิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวแล้ว อย่างไรก็ตามทำให้มีเกษตรกรได้รับชดเชยตามข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร งวดนี้จำนวน 2,589 ครัวเรือนและมีชาวนาบางส่วนที่ได้รับชดเชยสูงสุดถึงครัวเรือนละ 27,889 บาท จึงขอแจ้งข่าวให้พี่น้องชาวนาทราบ" นางมัลลิกา กล่าว
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีที่ 3 ได้ประกันราคาข้าวเปลือก 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน โดยเข้าเปลือกชนิดต่างๆความชื้นไม่เกิน 15%ทั้งหมดนี้เป็นเงื่อนไขเดิมเหมือนปีหนึ่งและปีสอง
"ระหว่างนี้นายจุรินทร์กำลังพบปะพี่น้องเกษตรกรภาคอีสานที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับการยืนยันจากพี่น้องเกษตรกรว่าพึงพอใจกับนโยบายนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากหากราคาพืชผลตกต่ำยังมีหลักประกันจากรัฐบาล ขณะเดียวกันด้านราคาพืชผลนั้นกระทรวงพาณิชย์โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็บริหารให้เป็นไปตามกลไกตลาดได้ด้วย เรียนให้ทราบว่าโครงการทั้งหมดได้ช่วยเหลือเกษตรกรร่วม 7.9 ล้านครัวเรือนทั้ง ข้าว ยางพารามันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การบริหารงานที่ผ่านมาราคาพืชผลดีขึ้นตามลำดับ จนขณะนี้ราคาสูงเป็นประวัติการณ์ หลายตัวไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และข้าวบางชนิด เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลไกราคาพืชผลเกษตรนั้น เราบริหารจัดการด้านการส่งออกได้ดีส่วนภายในก็ติดตามเร่งรัดนโยบายอย่างใกล้ชิด การกำกับนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นั้นเป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ" ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
โฆษก กษ. เผยข่าวดี! ปรับเงินช่วยชาวนาเป็น 1000 บาทต่อไร่แล้ว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยผลประ
ชาวนาเฮ! รัฐบาลเคาะแจกไร่ละ 1 พันบาท เล็งปรับโครงสร้างเกษตรทั้งระบบ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้ เห็นชอบหลักการช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
ชาวนารับจ้างอัดก้อนฟางข้าว โกยรายได้งามช่วงหาซื้อยาก ราคาแพง
ชาวนาที่ จ.บุรีรัมย์ นำรถไถนาขนาดใหญ่ มาดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดก้อนฟางข้าว จากชาวนาเพื่อนบ้าน
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
ชาวนาเฮ! กนช. เตรียมประกาศพื้นที่ทำนาปรังรวม 12 ล้านไร่ เกษตรกรได้ปลูกข้าวเพิ่ม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 5/2567