โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯพอใจการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม กำชับทุกหน่วยงานเร่งขับเคลื่อนรับมือฤดูฝน ตาม 13 มาตรการที่กำหนดไว้ให้เป็นรูปธรรม
5 พ.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม รับทราบรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ประเมินสถานการณ์ เตรียมความพร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ดำเนินการปรับปรุงแหล่งน้ำให้สามารถรองรับน้ำฝนได้เต็มศักยภาพ พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรมากที่สุด
นายธนกร กล่าวว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ สรุปดังนี้ 1. กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงระหว่างวันที่ 1 - 5 พฤษภาคม 2565 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคตะวันออก จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด และภาคใต้ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช ภูเก็ต และกระบี่
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565 กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำคำ ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 3,050 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ จากการขุดลอก จำนวน 339 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 17,800 ไร่
3. สภาพอากาศ การคาดการณ์สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 5 - 6 พ.ค. 2565 พบว่า ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง และทะเลอันดามันตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนในช่วงวันที่ 6-9 พ.ค. 65
4. แหล่งน้ำทั่วประเทศ 4.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 46,348 ล้าน ลบ.ม. (56%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำ 40,561 ล้าน ลบ.ม. (57%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,327 ล้าน ลบ.ม. (61%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 2,460 ล้าน ลบ.ม. (48%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำ 10,111 ล้าน ลบ.ม. (419) โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย และ 5.สถานการณ์น้ำในแม่น้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยถึงปกติ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
"นายกรัฐมนตรีความพอใจการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมที่ผ่านมา และขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถจัดสรรน้ำได้อย่างเพียงพอ เน้นย้ำให้ช่วยเหลือต่อเนื่องให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภัยแล้งน้อยที่สุด พร้อมกับขอให้ทุกหน่วยงานเร่งขับเคลื่อนแผนรับมือฤดูฝน ตาม 13 มาตรการที่กำหนดไว้ให้เป็นรูปธรรม" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
นายกฯ อิ๊งค์ฝากติดตามแถลง 12 ธ.ค.ผลงานรัฐบาล 90 วัน
นายกฯอิ๊งค์ ลั่นรัฐบาล มุ่งสร้างโอกาสจับต้องได้ให้ประชาชน ปากท้องอิ่ม ดึงศักยภาพคนไทย ลั่นปรับสมดุลการค้าสหรัฐ-จีน ย้ำ รบ.อยู่ครบเทอม ฝากติดตามแถลงผลงานรัฐบาล 12 ธ.ค.นี้
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'เทพไท' วิเคราะห์ชัดๆ 'ทักษิณ-อุ๊งอิ๊งค์' ใครคือนายกฯตัวจริง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!
'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน