เผย 8 ข้อเรียกร้องวันแรงงาน 65 ชง “บิ๊กตู่” ผู้นำกรรมกรแตกคอปรับค่าแรง นักวิชาการหนุนเพิ่ม 492 บาท ระบุตัวเลขค่าจ้างเป็นเรื่องต่อรองทางการเมือง ท้ารัฐบาลทำวิจัยหาข้อเท็จจริง
28 เมษายน 2565 - นายสุชาติ ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ในฐานะประธานการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2565 เปิดเผยว่า ในการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานในการรับข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะจัดขึ้นที่ห้องประชุมในกระทรวงแรงงาน โดยข้อเรียกร้องมีด้วยกันทั้งหมด 8 ข้อ
ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของ 15 สภาองค์การลูกจ้างประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง
2.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ....ฉบับแก้ไขเข้าสู่รัฐสภาเร่งด่วน 3.ขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับก้อนสุดท้าย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 4.ให้รัฐบาลเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อาทิ หามาตรการให้สถานประกอบการที่รับเหมาช่วงปฎิบัติตามกฏหมาย 5.ปฎิรูปแก้ไขประกันสังคม อาทิ ปรับฐานการรับเงินบำนาญ ขยายอายุผู้ประกันตนจาก 15-60 ปีเป็น 15-70 ปี
6.เร่งออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ 7.จัดระบบกองทุนสวัสดิการเพื่อเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจให้เทียบเคียงกับระบบสวัสดิการภาคราชการ 8.ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติถึงไม่มีเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ นายสุชาติกล่าวว่า ต้องเข้าใจว่าการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ดัชนีผู้บริโภคเป็นหลักในการพิจารณานั้น ผิดมาตั้งแต่ต้นเพราะคนต่างจังหวัดและคนในเมืองต่างก็ซื้อข้าวของในราคาที่แตกต่างกัน คนต่างจังหวัดในหลายพื้นที่ต่างหากินเองได้ แต่การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำกลับใช้ดัชนีผู้บริโภคเหมือนๆกัน ขณะเดียวกันก็มีคณะกรรมการไตรภาคีเป็นผู้พิจารณาอยู่แล้ว ดังนั้นแม้แต่นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถสั่งการให้ปรับค่าจ้างได้ จึงต้องรอการพิจารณาของไตรภาคีค่าจ้าง
เมื่อถามว่าโดยหลักการแล้วในปีนี้ค่าจ้างขั้นต่ำควรปรับขึ้นหรือไม่ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติกล่าวว่า ควรปรับแน่นอน แต่ปีนี้อาจช้าเพราะอนุกรรมการระดับจังหวัดยังไม่ได้รายงานให้คณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งอย่างน้อยอีก 3-4 เดือนจึงจะได้คำตอบ
“แต่ที่พูดถึงการปรับค่าจ้างเป็นวันละ 400 กว่าบาทนั้นเป็นไปไม่ได้หรอก เอาให้เพิ่มขึ้นแค่ 10 บาทก็บุญแล้ว คนพูดน่ะพูดได้ แต่ความเป็นจริงคนละเรื่องกัน หากขึ้นพรวดพราดขนานนั้นนายจ้างเขาก็อยู่ไม่ได้” นายสุชาติ กล่าว
ขณะที่นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่าในปีนี้ คสรท.ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกันจัดงานวันแรงงานแห่งชาติโดยเริ่มขบวนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและเดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล โดยข้อเรียกร้องหลักคือขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 492 บาทสำหรับบุคคล แต่สำหรับครอบครัวให้ปรับเป็นวันละ 712 บาท นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าให้ได้เพราะเป็นปัญหากับลูกจ้างมาก เนื่องจากราคาข้าวของปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าตัวเลขขอปรับเป็นวันละ 492 บาทถูกปฎิเสธจากนายจ้าง และผู้นำแรงงานบางส่วนก็ไม่เห็นด้วย นายชาลีกล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่นายจ้างไม่เห็นด้วย แต่สำหรับผู้นำแรงงานจริงๆแล้วแค่อยู่เฉยๆ และไม่ปฎิเสธจะดีกว่า เพราะในสมัยที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปรับค่าจ้างให้เท่ากันทั่วประเทศ 300 บาท ในตอนแรกที่ทาง คสรท.ออกมาพูดขอให้ปรับค่าจ้างเป็นวันละ 360 บาทจากตอนนั้นค่าจ้างวันละกว่า 200 บาท ใครๆต่างก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้ และทำให้นายจ้างถอนการลงทุน แต่สุดท้ายเมื่อมีการปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทก็ไม่เห็นนายจ้างหนีหายไปไหน เพราะรัฐบาลช่วยในเรื่องการลดภาษี
“ครั้งนี้ถ้าจะปรับจากวันละ 236 บาท เป็น 492 บาท เพิ่มขึ้นตามสภาพความเป็นจริง 30% ซึ่งเป็นตัวเลจที่เราได้ทำการสำรวจค่าครองชีพและความจำเป็นต่างๆ ของลูกจ้างแล้ว ยังน้อยกว่าการปรับขึ้นครั้งนั้นอีก ในวันนั้นถ้าเราไม่พูดถึงตัวเลข 300 บาทก็ยังไม่ได้” นายชาลี กล่าว
นายแล ดิลกวิทยรัตน์ ประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา และนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน กล่าวว่า ภาพหลักคือถ้าเป็นภาพรัฐไม่มีอะไรที่อธิบายหรือสร้างความชอบธรรมค่าจ้างขั้นต่ำได้เลย ถ้าอธิยบายมุมมองเศรษศาสตร์ มีครั้งไหนบ้างที่รัฐบาลบอกว่าเหมาะสมกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อเศรษฐกิจกำลังดีพอลูกจ้างเรียกร้องก็หาว่าชักใบให้เรือเสีย ถ้าคิดตามร่องเศรษฐศาสตร์ไม่มีโอกาสได้ขึ้นเพราะเป็นต้นทุนซึ่งถูกกด การควบคุมต้นทุนเป็นความชอบธรรม แต่คนงานมองอีกแบบหนึ่งคือการปรับค่าจ้างเพิ่มโอกาสให้อยู่ดีกินดี ไม่งั้นจะไปส่งเสริการพัฒนาได้อย่างไร ถ้าไม่ให้เขาอยู่ดีกินดี จึงต่องเปลี่ยนมุมมองว่าค่าจ้างเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไม่ใช่เรื่องการควบคุมต้นทุน
การพิจารณาค่าค่าจ้างไม่เคยโปร่งใสยุติธรรม 1.ไม่พูดถึงค่าจ้างที่ให้คนอยู่ได้จริงๆ และไม่คิดว่าคนงานมีครอบครัว ซึ่งงานสำรวจวิจัยพบว่าคนงาน 80 % ไม่ได้อยู่คนเดียวแต่เลี้ยงกว่า 2 คน และอนาคตสังคมเราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุต้องเลี้ยงคนมากขึ้น ดังนั้นนิยามค่าจ้างไม่ใช่แค่ค่าตอบแทนผลงานแต่เป็นค่าค้ำประกันความเป็นมนุษย์และสมาชิกของสังคม 2.การมีเกณฑ์มากกว่า 1 เกณฑ์เหมือนไม่มีเกณฑ์ โดยหลักมี 9 ตัว เช่น จีดีพี เงินเฟ้อ ซึ่งตลก เช่น ไตรมาสแรกเงินเฟ้อ 5 % จีดีพี 2 % จึงไปทอนเหลือ 3 % และยังมีข้อแม้ว่าถ้าขึ้นแล้วนายจ้างต้องไม่เสียความสามารถในการแข่งขัน คือต้นทุนไม่สูงมาก ดังนั้นปัจจุบันเงินเฟ้อคืออะไร เกณฑ์ต่างๆ หักล้างกันเองทำให้ต้องไปยื้อกันกลายเป็นการเมือง 3 กระบวนการ การกำหนดค่าจ้างที่มีอนุกรรมการจังหวัดและให้คณะกรรมการกลางตัดสิน อ้างว่าเป็นระบบไตรภาคี แต่ตัวแทนลูกจ้าง ตอนนี้มีสหภาพจดทะเบียน 33 จังหวัดมีแค่ 5 จังหวัดที่ต่อรองได้ ดังนั้นที่เหลือจึงไม่รู้ว่าจะไฝไปเอาตัวแทนลูกจ้างที่ไหนมาเป็นกรรมการไตรภาคี ส่วนใหญ่จึงต้องเอาตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลเข้ามา ดังนั้นในหลายจังหวัดจึงขอไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ พอส่งเข้าส่วนกลางก็ยังถูกล็อคว่าต้องขึ้นไม่เกิน 3% และยังต้องเข้า ครม. อีก ดังนั้นการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ
“การจะได้ขึ้นค่าจ้างหรือไม่ ความหวังเดียวของลูกจ้าง คือรัฐบาลเปราะบาง เช่นช่วงก่อนการเลือกตั้ง ยกตัวอย่างสมัยที่ พล.อ.เปรม กำลังลงจากรัฐบาล และพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ยังไม่มีความพร้อม จึงมอบให้นายไกรศักดิ์ ระดมกรรมกรมาช่วย และทำตามความต้องการของกรรมกร ปีนั้นมีการปรับค่าจ้างขึ้น 2 ครั้ง มีการออกกฎหมายประกันสังคม สิ่งที่ลูกจ้างได้คือตอนรัฐบาลเปราะบาง ดังนั้นอย่าโม้ว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องหลักเกณฑ์”
ผู้สื่อข่าวถามว่าค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่ นายเล กล่าวว่า สถานการณ์ตัวบ่งชี้สำคัญคือเปอร์เซ็นคนทำโอทีเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าที่ไหนรับสมัครคนงานแล้วไม่มีโอทีจะไม่มีใครสมัครเพราะรายได้ค่าจ้างปกติไม่พอกิน ขณะที่หนี้สินของแต่ละครัวเรือนก็มากอย่างไรก็ไม่พอกิน ทันทีที่ทำงานก็มีหนี้ และเป็นหนี้นอกระบบเพราะเข้าไม่ถึงหนี้ในระบบ กระทบสังคมและครอบครัว ดังนั้นตัวเลข 492 บาท ที่ คสรท. เสนอนั้นบางคนบอกว่าน้อยไป บางคนบอกว่ามากไป แต่ไม่มีใครพูดถึงพูดถึงรายได้และรายจ่ายที่แท้จริง ทั้งค่ารถ ค่าน้ำมัน เป็นความจำเป็นของชีวิตต่างๆ 400 บาทอยู่ไม่ได้หรอก ส่วนค่าจ้างทั้งครอบครัว 700 กว่าบาท หลายคนพากันคนโวยวาย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วอยากให้เข้าไปดูข้อมูลว่ามีรายการไหนบ้างที่ไม่เป็นจริง เท่าที่ฟังการเถียงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ นายจ้างกับลูกจ้างไม่เคยพูดถึงเรื่องเดียวกัน สังคมมองว่ามากไปหรือน้อยไป แต่ไม่บอกว่าตัวเลขคิดผิดหรือไม่ผิด แต่นายจ้างบอกไม่มีจ่ายเดี๋ยวแข่งคนอื่นไม่ได้เดี๋ยวต้องย้ายฐาน
“ถ้ารัฐบาลไม่เชื่อข้อมูลของลูกจ้าง ก็น่าจะไปจ้างนักวิชาการเช่น TDRI ทำข้อเท็จจริง แต่ที่กลัวคือ หากผลออกมาอย่างไรจะไม่เอาตามนั้น ถ้ารัฐบาลกล้า หรือเอาคนที่เชื่อถือมาร่วมกันทำก็จะได้คำตอบ แต่ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานจ้างหลายมหาลัยทำวิจัยแต่ไม่เคยเปิดเผยผล เพราะต้องการเพียงเอาข้อมูลเหล่านี้ไว้สนับสนุนความคิดของนักการเมือง และการเมืองก็ไม่เคยบริหารด้วยหลักวิชาการแต่บริหารด้วยอำนาจต่อรอง” นายแล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่