'อดีตรมว.คลัง' ฟันธง ถ้ารัสเซียทำให้ยุโรปต้องซื้อก๊าซเป็น 'รูเบิล' ได้สำเร็จ จะขยายไปสินค้าอื่นได้อีก

'ธีระชัย'วิเคราะห์ศึกรัสเซีย-ยูเครน โอกาสสูงที่ยุโรปจะยอมซื้อก๊าซเป็นรูเบิล เหตุยุโรปมีสต๊อคก๊าซอยู่เพียง 1 เดือน คาดถ้ารัสเซียทำให้ยุโรปต้องซื้อก๊าซเป็นรูเบิลได้สำเร็จ คงจะขยายไปสินค้าอื่นได้อีก

8 เม.ย.2565 - นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กเกาะติดสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีเนื้อหาดังนี้

“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” บทความที่ 45

รูป 1 โจ ไบเดนทวิตเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ว่า แซงชั่นจะทำให้รูเบิล (ruble) กลายเป็นซากปรักหักพัง (rubble) เศรษฐกิจจะหดเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเดิม

แต่เป้าหมายของไบเดน ยังห่างไกลความสำเร็จอยู่มาก
ช่วงแรก รูเบิลอ่อนยวบ แต่หมากของปูติน ที่จะให้ยุโรปจ่ายค่าก๊าซเป็นรูเบิล ได้ทำให้รูเบิลกลับแข็งขึ้น เท่ากับระดับก่อนสงครามแล้ว
นักวิเคราะห์หลายรายเก็งว่า ถ้ายุโรปปฏิเสธ รัสเซียจะไม่สามารถตัดก๊าซได้จริง?

ในรูป 2 รัสเซียมีรายรับจากพลังงานทุกรูปแบบ (น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน) บลูมเบิร์กคาดว่าปี 2022 จะสูงเกิน 300 พันล้านดอลลาร์
ในจำนวนนี้ เป็นพลังงานที่ขายให้ยุโรปประมาณ 99 พันล้านยูโร หรือ 108 พันล้านดอลลาร์

ในรูป 4 รัสเซียมีรายได้งบประมาณปี 2022 เท่ากับ 280 พันล้านดอลลาร์
จึงทำให้นักวิเคราะห์ยุโรปคาดว่า รัสเซียจะไม่กล้าปิดก๊าซ เพราะ 108 พันล้านดอลลาร์เท่ากับ 1 ใน 3 ของรายได้งบประมาณ

อย่างไรก็ดี การมองเช่นนี้ เป็นการมองมิติ international ปะปนกับมิติ domestic
ด้าน international
ปี 2021 รัสเซียนำเข้า 247 พันล้านดอลลาร์ ส่งออก 459 พันล้านดอลลาร์ รูป 5
ถ้าหักพลังงานที่ขายให้ยุโรปออกไป ส่งออกก็ยังจะเหลือประมาณ 350 พันล้านดอลลาร์ เกินกว่านำเข้า 100 พันล้านดอลลาร์
ถึงแม้ส่งออกสินค้าอื่นอาจจะลดลงจากแซงชั่น แต่ส่งออกที่เหลืออยู่ น่าจะยังเกินกว่านำเข้ามาก
ดังนั้น เนื่องจากรัสเซียไม่ต้องซื้อนำเข้าอุปกรณ์เพื่อทำสงคราม ในด้าน international ก็สามารถประคองตัวไปได้
ด้าน domestic

ถ้าเงินที่ขายพลังงานให้ยุโรป 108 พันล้านดอลลาร์หายไป ไม่ใช่จะกระทบรายได้งบประมาณทั้งจำนวน แต่จะกระทบเฉพาะตัวเลขกำไรใน 108 พันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ถึงแม้รายได้งบประมาณลดลง ทำให้ขาดดุลมากขึ้น รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้ โดยออกพันธบัตรกู้ภายในประเทศ

ซึ่งถ้าหากคนรัสเซียไม่มีแรงซื้อ ธนาคารชาติก็สามารถรับซื้อเองได้ชั่วคราว ยอมให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
ดังนั้น ในด้าน domestic รายได้ขายพลังงานให้ยุโรปที่หายไป กว่าจะกระทบเศรษฐกิจถึงขั้นทำสงครามไม่ได้ ก็อีกนาน

ยุโรปมีสต๊อคก๊าซอยู่เพียง 1 เดือน ถ้ารัสเซียปิดก๊าซ ก็จะต้องกลับไปเปิดใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน และยืดอายุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แต่ในการทำให้บ้านอบอุ่น ก๊าซหุงต้ม และใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ไม่มีทางออกอื่นเลย ประชาชนจะประท้วงระส่ำระสาย
โอกาสที่ยุโรปจะยอมซื้อก๊าซเป็นรูเบิล จึงน่าจะสูง

รูป 6 แสดงสินค้าที่รัสเซียเป็นเจ้าโลก
-79% ของ platinum ส่งไปอังกฤษ
-27% ของ palladium ส่งไปอเมริกา
-30% ของถ่านหิน 18% ของ aluminum และ 14% ของเหล็ก ส่งไปยุโรป
รวมไปถึงสินค้าหลายตัวที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตหลักในสัดส่วนต่อการค้าโลก รูป 7
-23% สำหรับแอมโมเนีย
-21% สำหรับโปแตช
-20% สำหรับนิกเกิ้ลเกรด 1
-14% สำหรับปุ๋ยยูเรีย
-12% สำหรับปุ๋ยฟอสฟอรัส DAP

ถ้ารัสเซียทำให้ยุโรปต้องซื้อก๊าซเป็นรูเบิลได้สำเร็จ ก็คงจะขยายไปสินค้าอื่นได้อีก

วันที่ 8 เมษายน 2565
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตรียมรับอีกคดี! 'อดีตรมว.คลัง' ฟันธง! แจกเงินอายุเกิน 60 ปีผิดกฎหมาย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความว่

'อดีตรมว.คลัง' ร่อนจม.ถึง 'รมว.คลัง' จี้ตรวจคุณสมบัติ 'โต้งไวท์ไล'

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่ง จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีคลังเรื่องแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงค์ชาติ