7 เม.ย. 2565 - นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ "ส.ศิวรักษ์" นักปรัชญา นักคิด และนักวิชาการชาวไทย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Sulak Sivaraksa โดยมีเนื้อหาดังนี้
แด่เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เสฐียรพงษ์ วรรณปก เป็นสามเณรประโยค 9 รูปแรกในรัชกาลที่ 9 และเป็นรูปแรกแต่เกิดการสอบแบบข้อเขียนแทนการสอบปากเปล่าดังแต่ก่อน เขาเป็นศิษย์ของพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) แห่งสำนักเรียนวัดทองนพคุณ
ต่อมาเสฐียรพงษ์ได้ทุนไปเรียนที่วิทยาลัยตรีนิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทั้งๆที่ยังบวชอยู่ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพระไทยรูปแรกที่จบจากที่นั่น เสียดายที่กลับมาไม่ทันไร เขาก็สึก
เขาถนัดเป็นนักหนังสือพิมพ์มากกว่าเป็นครูบาอาจารย์ ทั้งที่เขาเคยอยู่มหาวิทยาลัย เดิมเขาเขียนให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ต่อมาเมื่อไทยรัฐไม่เล่นงานธรรมกาย เขาจึงย้ายมาอยู่กับมติชน และมีผลงานรวมเล่มมากมาย ทั้งกับสำนักพิมพ์มติชน และกับทางเคล็ดไทย ภาษาไทยเขาดี หนังสือที่มีชื่อเสียงก็เป็นหนังสือตั้งชื่อ ที่เขาสามารถตั้งชื่อคนเพราะๆ
ผมกับเขาเป็นกัลยาณมิตรกันมายาวนาน เมื่อเขาตายจากไป ก็หวังว่าเขาจะไปสู่สุคติในสัมปรายภพ
ส. ศิวรักษ์
6-4-65
-------------
ภาพ : ส.ศ.ษ. - เสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 ในวันคล้ายวันมรณภาพของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (กี) วัดทองนพคุณ
ขณะที่นายพิภพ ธงไชย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า "การจากไปของ อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก"
อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก กับผมชอบพอกันมาก ตั้งแต่สมัยท่านยังบวชเป็นพระอยู่วัดทองนพคุณ
ผมเคยดูแลหนังสือให้ท่าน ที่จำได้ก็คือหนังสือเล่มแรกที่ชื่อ "ฤาสมัยนี้โลกมันเอียง"
เป็นหนังสือรวมบทความและบทกวีในยุคแรก และน่าจะเป็นหนังสือเล่มแรกของท่านด้วย
ท่านเริ่มเขียนหนังสือลงในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ยุค ส.ศิวรักษ์ เป็นบรรณาธิการ ต่อมาท่านก็เขียนในนิตยสารอีกหลายฉบับ และจบที่หนังสือพิมพ์มติชน
ตอนสมัยที่ท่านบวชอยู่วัดทองนพคุณ ก็ได้ไปเป็นลูกศิษย์เรียนภาษาอังกฤษกับท่านก่อนท่านไปเรียนต่อที่อังกฤษ โดยการจัดแจงของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่อยากให้พระไทยเก่งๆได้ไปเรียนเมืองฝรั่ง ซึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ ไม่ค่อยเต็มใจนัก กลัวเรียนทางโลกมากจะลาสิกขาเสียก่อน ซึ่งก็เป็นจริง
ท่านอาจารย์เสฐียรพงษ์ เป็นพระที่สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะเป็นสามเณร ในสมัยรัชกาลที่ ๙ และได้บวชเป็นนาคหลวง
ไม่ค่อยมีใครรู้ว่า ท่านเป็นสามเณร ป.๙ สมัยเดียวกับท่านเจ้าคุณอาจารย์ประยุทธ์ ปยุตโต ซึงได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะเป็นสามเณร รูปที่ ๒ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ และบวชเป็นนาคหลวงเช่นกัน ขณะที่อาจารย์เสฐียรพงษ์ เป็นสามเณรรูปแรกในสมัยรัชกาลที่ ๙ ที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคตั้งแต่เป็นสามเณร
อาจารย์เสฐียรพงษ์เป็นผู้ที่มีความสามารถในประวัติพุทธศาสนา และคำสอน เขียนหนังสือให้อ่านง่ายและสนุกที่คนธรรมดาทั่วไปจะเข้าใจธรรมะ มากมายหลายสิบเล่ม ได้รับการยกย่องทางโลก เป็นที่ยอมรับทั่วไปในความรู้พุทธศาสนา
เสียดายที่ท่านด่วนจากไป ถึงแม้ระยะหลังหนังสือมติชนรายสัปดาห์จะนำบทความเก่าของท่านมาตีพิมพ์ซ้ำ ก็ยังน่าอ่านอยู่
ขอให้อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ไปสู่สุคติในสัมปรายภพ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เทพมนตรี'อัด'ส.ศิวรักษ์'เขียนอะไรเกี่ยวกับ 2475 ถ้าไร้หลักฐานก็เชื่อไม่ได้!
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา
'ใบตองเเห้ง-ส.ศิวรักษ์' ยื่นเเถลงศาลอาญา ขอให้ประกันตัว 'ตะวัน-แฟรงค์'
'ใบตองเเห้ง-ส.ศิวรักษ์' ยื่นเเถลงศาลอาญา ขอให้ประกันตัว 'ตะวัน-แฟรงค์' เเละนักโทษทางความคิด ชี้เป็นเหยื่อกระเเสสังคม 'ทนายด่าง' เดินหน้าขอไต่สวนค้านฝากขังครั้งที่ 4 พร้อมขอเบิกตัว
งานขายก็มา! เพจ ส.ศิวรักษ์ขายหนังสือพร้อมแจกแสตมป์ปรีดีแบบไม่ต้องรอ
เพจ Sulak Sivaraksa ซึ่งลงบทความ คลิป และหนังสือของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์
'ดร.นิว' ชำแหละ 6 ข้อ 'ส.ศิวรักษ์' รู้ไม่จริงปมนิรโทษคดี 112
ดร.นิว โพสต์เฟซบุ๊กว่า ลอกคราบนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้ฟังนายสุลักษณ์พูดเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม ม.112 รู้เลยว่ารู้ไม่จริง เพราะปัญหามันไม่ใช่การวิจารณ์โดยสุจริต หากแต่เต็มไปด้วยการหมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้ายละเมิดสิทธิเสรีภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน
'ส.ศิวรักษ์' หนุน 'นักการเมืองดี' แม้มีน้อยยังคงแพ้ไฟ สร้างรัฐสภาที่มีศักดิ์ศรี
“ชวน” ปาฐกถา ย้ำ 'คนดี-รัฐธรรมนูญดี' ต้องควบคู่กัน ด้าน ส.ศิวรักษ์ ขอให้นักการเมืองดี แม้มีน้อยยังคงแพ้ไฟ สร้างรัฐสภาที่มีศักดิ์ศรี เป็นรัฐบาลของปชช.อย่างแท้จริง
ถาม ส.ศิวรักษ์ เมื่อไหร่จะสนับสนุน ตะวัน-แบม อดอาหารอย่างเท่าเทียม
ดร.นิว ถามเมื่อไหร่ ส.ศิวรักษ์ จะสนับสนุน ตะวันแบม ด้วยการอดอาหารอย่างเท่าเทียม