ขยายเวลา3 ปี เร่งเก็บกู้ทุ่นระเบิดชายแดน

ทีแม๊กซ์จัดงานวันทุ่นระเบิดสากล เตือนภัยระเบิดฝังกลบจากภัยสงคราม พร้อมขอขยายเวลาต่อ 3 ปีปลดไทยออกจากพื้นที่ไร้ทุ่นระเบิด เผยชายแดนอีสาน- สระแก้ว ยังเข้าเก็บกู้ไม่ได้ในพื้นที่ปักปันเขตแดน

4 เม.ย.2565-ที่อาคารเอนกประสงค์ ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่3 บ้านเขาล้าน ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่ง หรือ TMACได้จัดงานวันรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสากล โดยมี ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, องค์การความช่วยเหลือจากประชาชนชาวนอร์เวย์ สมาคมเก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย, และมูลนิธิเพื่อมนุษยธรรม Golden Westhumanitarian Foundation (GWHF)เข้า

ในงานมีกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการนำไปทำลายจริง ณ สนามทำลาย บ้านท่าเส้น ต. แหลมกลัด 125 รายการเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังสาธิตการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อีโอดีจากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิด​เพื่อมนุษยธรรม​กองทัพเรือ​(นปท.2)​ และสาธิตการตรวจค้น การใช้เครื่องมือเก็บกู้วัตถุระเบิด รวมถึงการใช้ชุดสุนัขทหารในการตรวจหาด้วย

พล.ท.กนิษฐ ชมะนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ประธานในงาน ได้มอบสิ่งของ ถุงยังชีพ ขาเทียม และรถวิลแชร์ ให้ผู้ที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดในพื้นที่ใกล้ชายแดน จันทบุรี-ตราด พร้อมระบุว่า สืบเนื่องจากสหประชาชาติตระหนักว่าทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและสรรพาวุธระเบิดที่ตกค้างจากสงครามยังคงเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก จึงกำหนดให้วันที่ 4 เม.ย. ของทุกปีเป็นวันรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสากล (International Day for Mine Awareness and Assistance in Mine Action) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดแสดงออกถึงการให้ความร่วมมือของประเทศไทยในฐานะรัฐภาคือนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลแล้ว

อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นเตือนให้ทั้งภาครัฐและประชาชนตระหนักว่า ปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและสรรพาวุธระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม ยังคงส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนตามชายแดนและพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งภาครัฐต้องดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็นอย่างทั่วถึง

พล.ท.กนิษฐ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2542 ไทยเริ่มเก็บกู้ระเบิดตั้งแต่จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ น่านอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด ผลดำเนินการเป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีพื้นที่ปลอดภัยแล้ว 2,500 ตารางกิโลเมตรโดยปี 2565 เหลือพื้นที่ที่ต้องเก็บกู้เพิ่มเติม 40 ตารางกิโลเมตร ซึ่งศูนย์ปฎิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติมุ่งมั่นจะให้แล้วเสร็จภายในปี 2566.แต่ก็ยังติดปัญหาในพื้นที่บริเวณที่ยังไม่ได้ปักปันเขตแดน เช่น จังหวัดสระแก้วทั้งจังหวัดที่ยังไม่มีการเก็บกู้เลยเนื่องจากเป็นพื้นที่รอการปักปัน ที่ผ่านมาเราได้ทำความร่วมมือกับกัมพูชาที่บ้านหนองเอียนสตึงบทไปแล้ว แต่ติดช่วงสถานการณ์โควิด-19จึงได้มอบหมายให้ รองผอ.ศูนย์ฯ ไปพูดคุยเพื่อประสานงานกันต่อไป

นอกจากนั้นยังมีพื้นที่บ้านร่มเกล้า ชายแดนไทย-ลาว ที่คาดว่าจะเก็บกู้ได้100 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และจะเป็นจังหวัดที่จะถูกปลดจากพื้นที่มีทุ่นระเบิดได้อย่างไรก็ตามได้มีการทำเรื่องเสนอไปที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเพื่อขยายระยะเวลาจากปี 66 ไปอีก3 ปีในการให้ไทยเป็นพื้นที่ไร้การปนเปื้อนของทุ่นระเบิดให้ได้ ซึ่งการขยายเวลาไว้ก็เป็นการเผื่อไว้ในพื้นที่ซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดน แต่จะพยายามดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี2566

“เรายังมีพันธกิจแจ้งข้อมูลให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ว่ายังมีทุ่นระเบิดตรงไหนบ้าง ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปรวมถึงรายงานทุกการปฎิบัติให้อนุคณะกรรมการสนธิสัญญาเจนีวาว่ายังเหลือพื้นที่ปนเปื้อนเท่าไหร่ และดำเนินการเก็บกู้ไปแล้วมากน้อยแค่ด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตราดระทม! จมบาดาล 1 เมตร เดือดร้อน 3 พันคน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรักษ์คลองบางพระ ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนกิจสวัสดิ์ ถนนเทศบาล 3, 5 ถนนพัฒนาการปลายคลอง ถนนกิตติพัฒนา ซอยสืบแสวงทรัพย์ ซอยร่มไทร ซอยสุเหล่าแขกปลายคลอง ซอยสมจริง ซอยศาลเจ้าแม่ตาเหล ยังคงทรงตัว

สุดเซ็ง! ฟาร์มเลี้ยงนกกระทา อ.เมืองตราด น้ำท่วมสูง 60-80 ซม. นกตายไปกว่า 30 ตัว

ฟาร์มเลี้ยงนกกระทา หมู่ 2 ต.วังกระแจะ. อ.เมือง จ.ตราด  ของนายเจษฎา บัวหาญ หรือกาย ซึ่งเป็นฟาร์มนกกระทาที่มีเลี้ยงเพื่อขายไข่ส่งขายในตลาดจังหวัดตราด

'ตราด' อ่วมฝนถล่มหนัก อำเภอเมืองจมบาดาล ด้านชลประทานเร่งระบายน้ำ

ฝนถล่มตราดรอบ 2 น้ำท่วมเมือง ถนนสุขุมวิท ตราด - เขาสมิง ท่วม 8 จุดเเสนตุ้งอ่วม,รถสัญจรยากลำบาก แต่ถนนยังไม่ตัดขาด นายกเทศบาลตราดเร่งแก้ไขเร่งด่วน ด้านชลประทานตราดเตือนชาวตราด รับน้ำเพิ่ม หลังน้ำเพิ่มใกล้จุดวิกฤต

“บ้านน้ำเชี่ยว 2 ศาสนา3 วัฒนธรรม” สานพหุวัฒนธรรม นำสู่การจัดการจัดการตนเอง (2)

พวกเราได้รู้จักบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราดไปแล้ว ต้องบอกว่าเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

“หาดเล็กบ้านในน้ำ” ชุมชนชาวประมงต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่าแห่งแรกในประเทศไทย

ตำบลหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ชุมชนชาวประมงเล็กๆ เป็นชุมชนชายฝั่งชายแดน อยู่ทะเลด้านตะวันออกสุด และมีพื้นดินส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย