3 เม.ย.2565-ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่องความกังวล และผลกระทบต่อคนไทย จากวิกฤตการณ์ของโลก จำนวน 1,113 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.– 2 เม.ย.2565 ที่ผ่านมา พบว่าผลกระทบต่อคนไทยจากวิกฤตโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.7 ระบุ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก และร้อยละ 86.3 ระบุ มีส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจของคนไทยนอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.2 ระบุ มีผลกระทบต่อการจ้างงาน ตกงาน ลดเงินและทำให้รายได้ลด ร้อยละ 85.7 ระบุ มีผลกระทบต่อกลุ่มอาชีพที่ต้องสูญหายไปในช่วงวิกฤตโควิด และร้อยละ 85.6 ระบุ ทำให้การใช้ชีวิตยากลำบากขึ้น เช่น มีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ต้องซื้ออุปกรณ์เพื่อดูแลรักษาสุขภาพ
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง ผลกระทบต่อคนไทยจากวิกฤตการณ์สู้รบยูเครน กับ รัสเซีย พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.6 ระบุ ต้นทุนด้านพลังงานและอื่น ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ก๊าซ ทองคำ เป็นต้น ร้อยละ 85.5 ระบุ มีผลกระทบทำให้ค่าครองชีพในหลายประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85.1 ระบุ สินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าและต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร ปุ๋ยอาหารสัตว์ สูงขึ้นและสินค้าราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.3 ระบุ ต้นทุนการผลิตที่อาศัยการส่งออกและนำเข้าจากประเทศรัสเซีย และยูเครนเพิ่มขึ้น และร้อยละ 78.7 ระบุ การสู้รบทางทหารระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและหลายประเทศ
การรับรู้ของประชาชน ต่อ ความเข้าในสถานการณ์ ต่อผลกระทบจากทั้งวิกฤตโควิด และ การสู้รบรัสเซีย กับ ยูเครน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.8 ระบุ กังวลว่าสถานการณ์วิกฤตการณ์ทั้งสองจะยืดเยื้อ ร้อยละ 79.2 ระบุ กลัวความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินทั้งการงานการเงินสุขภาพและคุณภาพชีวิตการดำรงอยู่ของชีวิตการใช้ชีวิตตามปกติ ร้อยละ 72.4 ระบุ กังวลและกลัวประชาชนในประเทศไม่อยู่ในมาตรการควบคุมโรคของโควิด ร้อยละ 70.3 ระบุ กังวลถึงการเล่นสงครามทางการเมืองภายในประเทศ ของนักการเมืองต่าง ๆ ร้อยละ 67.1 ระบุ กังวลและกลัวความเห็นต่าง ท่าทีของไทยในเวทีโลก จะถูกขยายผลความขัดแย้งภายใน กระทบผลประโยชน์ของชาติ และร้อยละ 67.1 ระบุ กลัวการเกิดความรุนแรงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ กลัวการสู้รบทางทหาร
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อทางออก ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุ ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดต่อเนื่อง คือ ทางอออกทุกวิกฤต รองลงมาคือ 77.5 ระบุ ประชาชนมีความเข้าใจถึงสถานการณ์วิกฤตินี้เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แต่ประเทศไทย ร้อยละ 73.6 ระบุ เข้าใจว่าสถานการณ์แบบนี้ไม่ควรโทษหรือกล่าวหาใคร ร้อยละ 73.2 ระบุ เข้าใจต่อความพยายามในการช่วยเหลือเยียวยาพยุงค่าครองชีพลดภาระในระยะสั้น ร้อยละ 70.2 ระบุ รับรู้ว่ามาตรการช่วยเหลือเยียวยาด้านโควิดของรัฐบาล มีส่วนบรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้น ร้อยละ 69.4 ระบุ รับรู้และเข้าใจว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ได้รับการยอมรับด้านการจัดการและการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี ร้อยละ 68.6 ระบุ เข้าใจสถานการณ์บทบาทการวางตัวเป็นกลางของรัฐบาลและเห็นด้วยกับการรักษาประโยชน์ไม่เป็นคู่ขัดแย้ง
“ผลสำรวจนี้สะท้อนให้ทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจถึงสถานการณ์โรคระบาดและสงครามที่เกิดขึ้น มีผลกระทบกับทุกประเทศ มิใช่เฉพาะไทย โดยต่างได้รับผลกระทบทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ความสุขและคุณภาพชีวิตในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่พอใจกับท่าทีและนโยบายการวางตัวเป็นกลางของรัฐบาล ที่ไม่โดดเป็นคู่ขัดแย้งในสงคราม ซ้ำเติมวิกฤตเศรษฐกิจช่วงโควิดที่เกิดขึ้น และพอใจกับโครงสร้างของระบบสาธารณสุขไทยที่เข้มแข็ง สามารถดูแลส่วนรวมได้ดีกว่าหลายประเทศ ส่วนใหญ่รับทราบถึงความพยายามและมาตรการช่วยเหลือระยะสั้นจากรัฐบาลที่ผ่านมา ในการบรรเทาความดือดร้อนและช่วยเหลือค่าครองชีพที่จำเป็น ที่สำคัญ ยังกังวลกับความยืดเยื้อของสงครามและโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเลยการ์ดตกในมาตรการควบคุมโรคของประชน และการที่ฝ่ายการเมือง นำเรื่องละเอียดอ่อนไปสร้างคะแนนนิยม ขยายผลจนกระทบเอกภาพและผลประโยชน์ของชาติได้ ทั้งนี้ ความตระหนักรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมของทุกคน บนผลประโยชน์ชาติ เป็นเรื่องสำคัญ ที่เราทุกคนจำเป็นต้องอยู่บนความพอเพียง เพื่อจะผ่านสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด
'โวโลดิมีร์ เซเลนสกี' ครุ่นคิดถึงบทสิ้นสุดของสงครามในปีหน้า
ที่นิวยอร์ก โวโลดิมีร์ เซเลนสกีเรียกร้องให้ตะวันตกสนับสนุนยูเครนเพิ่มเติม และสัญญาว่าจะยุติสงครามก่อนกำหนด โดยจะ