หลัง กกต. เคาะวันที่ 22 พ.ค.2565 เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.เปิดฉาก ขณะนี้มีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 27 คน เดินหน้าหาเสียงตามเขตต่างๆ ชี้แจงนโยบายเด่น คู่ขนานกันไปมีการพูดถึงโจทย์ใหญ่ที่จะท้าทายผู้ว่าฯ คนใหม่ในการแก้ปัญหา ทั้งน้ำท่วม มลพิษอากาศ รถติด รวมถึงเรื่องนโยบายพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองใหญ่ให้เป็นเมืองน่าอยู่ของทุกคนกันอย่างคึกคักอีกครั้ง ซึ่งสนามเลือกตั้งท้องถิ่นนี้ว่างเว้นไปนาน9 ปีเต็ม
ในส่วนภาคพลเมืองมีการเคลื่อนไหวสำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.รอบนี้ โดยเครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ ที่เกิดจากภาคีเครือข่ายกว่า 70 องค์กร จัดเวที’ Bangkok Active ‘ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนสะท้อนภาพฝันที่อยากเห็น และผลักดันพลังพลเมืองกำหนดทิศทางการพัฒนา ไม่ใช่มีหน้าที่แค่ไปคูหาเลือกตั้งใช้สิทธิลงคะแนน
เวทีนี้ส่งเสียงถึงผู้ว่าฯ คนใหม่ ในการพัฒนากรุงเทพฯ ในฝันผ่าน 6 ทิศทาง ได้แก่ เมืองปลอดภัย ทั้งจากการเดินทางและบริการทางสาธารณสุขและแพทย์ , เมืองทันสมัย ด้วยการเดินทางเชื่อมต่อ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาเมือง และสร้างโอกาสเข้าถึงข้อมูลและบริการของกทม. , เมืองน่าอยู่ ไร้ปัญหาน้ำท่วม น้ำเสีย คุณภาพอากาศ ขยะล้นเมือง
อีกภาพฝันขาดไม่ได้ เมืองเป็นธรรม เป็นเมืองที่คนทุกเพศ ทุกวัยมีสิทธิอยู่ร่วมกันในเมือง , เมืองสร้างสรรค์ เกี่ยวข้องกับการเพิ่มพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่สีเขียว ให้กับคนทุกกลุ่มในเมืองใหญ่ ส่วนเมืองมีส่วนร่วม ต้องพัฒนาอย่างมีธรรมาภิบาล สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของคนกทม. สามารถติดตามตามตรวจสอบการทำงานในอีก 4 ปีข้างหน้าอีกด้วย
สติธร ธนานิธิโชติ ผอ.สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล่า กล่าวว่า การเลือกตั้งกทม. คนสนใจตัวผู้สมัครมากกว่าพรรคที่สังกัด ทุกครั้งจะมีสีสันผู้สมัครฯ จากพรรคใหญ่ 2-3 คน ผมีผู้สมัครอิสระที่น่าตื่นตาตื่นใจทุกครั้ง เพิ่งมาปี 56 การโหวตเหลือ 2 คน ได้ล้านคะแนนกว่าๆ อันดับที่เหลือไม่มีใครจดจำได้ การเลือกตั้งรอบนี้น่าจับตา ผลเลือกตั้งจะเป็นตัวชี้วัด และสะท้อนการเปลี่ยนแปลง เพราะสัญญาณเห็นตั้งแต่เลือกตั้งระดับชาติปี 62 แล้ว
“ ถ้าผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ยังทำการบ้านแบบดั้งเดิม ลืมมองว่า Citizen ในกรุงเทพฯ เปลี่ยนไปเยอะ รอบนี้จะผิดหวังเยอะ ลงทุนมากแต่ได้ผลตอบแทนน้อย ถ้าเดาทาง Citizen ใน กรุงเทพฯ ไม่ถูก หลักฐานต้องรอวันที่ 22 พ.ค. นี้ ถ้าพลังของประชาชนถูกแสดงออกและชัดเจน ใครก็ตามที่เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้ว่าฯ ใครก็ตามมาเป็น สก. 4 ปีข้างหน้าต้องทำงานร่วมกับประชาชน เหมือนที่ประชาชนระดมความคิด เราไม่รอเรียกร้อง แต่ขอให้มาทำงานร่วมกับเรา “ สติธร กล่าว
ผศ.ทวิดา กมลเวชช คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาคประชาชนอยากเห็นเมืองสร้างสรรค์และทันสมัยควบคู่กัน เมืองสุขภาพดีน่าอยู่ปลอดภัย และเมืองที่เป็นธรรม ทั้งสวัสดิการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ กลุ่มคนเปราะบางสามารถอยู่ในเมืองใหญ่อย่างเท่าเทียมกัน อีกประเด็นการมีส่วนร่วม การรู้ความเคลื่อนไหวของเมือง ซึ่งต้องอยู่เป็นกลไกการจัดการของ กทม. ทั้งแพลตฟอร์มดิจิทัลและแพตฟอร์มบ้านๆ ผู้นำชุมชนเดินพูดคุย รวมถึงระบบกำกับติดตามประเมินผล ที่ผ่านมา ไม่ถูกทำให้เห็นความก้าวหน้าในการแก้ปัญหา กทม. หรือติดขัดตรงไหน บางทีความติดขัดที่มาเป็นข้ออ้างของ กทม.ว่า ทำไม่ได้ อาจแก้ได้ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาชน จากการติดตามนโยบายผู้สมัครฯ เหมือนเริ่มจะมองเห็นปัญหาเดียวกันแล้ว หัวใจมีไม่กี่เรื่อง นี่คือความเจ็บปวดร่วมกันและต้องแก้ไขให้ทันกับวิกฤต
เวทีนี้มีการประกาศเจตนารมณ์”เครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ” จะจับตาการเลือกตั้งครั้งนี้ โปร่งใส ไม่ซื้อสิทธิ ขายเสียง อยากเห็นการเลือกตั้งรอบนี้เปลี่ยนวัฒนธรรมการแข่งขันทางการเมือง เป็นความร่วมมืออย่างสมานฉันท์ของผู้สมัครทุกคนสู่การส่งเสริมการเมืองระดับชาติอย่างสร้างสรรค์ ไม่ขยายความขัดแย้งทางสังคม
นอกจากนี้ นโยบายต้องให้ความสำคัญกับคนทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม มีสุนทรียภาพ ปลอดภัย เข้าถึงสิทธิสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน สุดท้ายภาครัฐต้องยอมรับความเข้มแข็งของ Active Citizen และกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองด้วย ไม่แสดงออกถึงการต่อต้านเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ จะมีเวทีสาธารณะอีกอย่างน้อย 6 เวทีในเดือน เม.ย.-พ.ค. จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยจะเชิญผู้สมัครมาประชันวิสัยทัศน์พัฒนาเมืองหลวง
อนาคตมหานครกรุงเทพฯ ยังฉายภาพผ่านเวทีเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 8 “นโยบายว่าที่ผู้ว่า กทม.กับการบริหารจัดการขยะ น้ำ และอากาศ“ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และเครือข่ายคณาจารย์ นิสิตนักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมประเทศไทยจัดขึ้นขานรับศึกเลือกตั้ง
ผศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคคลและอบรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงข้อเสนอการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนว่า กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในมหานครของโลก มีหน้าที่ช่วยให้สังคมโลกมุ่งไปสู่ความยั่งยืน อยากเห็นทิศทางพัฒนาการสนับสนุนอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และขยายความช่วยเหลือไปสู่คนด้อยโอกาสผ่านเครือข่ายชุมชนต่างๆ จากรายงานมีเด็ก 3.5 ล้านคนในไทยประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร และในช่วงโควิดมีเด็กอีก 7-8 แสนคนได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น เพราะโรงเรียนปิดจากโควิด ส่งผลกระทบ ผู้ว่าฯ ต้องพัฒนาระบบนี้
ปัญหาใหญ่ผลกระทบมลภาวะสิ่งแวดล้อม ฝุ่น PM2.5 ผศ.ดร.รณชัย เผยผลศึกษารถยนต์ในกรุงเทพฯ ปล่อยควันดำ 18% ปล่อยก๊าซคาร์บอนเกินค่ามาตรฐาน แม้แต่เหตุการณ์หมิงตี้ จ.สมุทรปราการ ผลกระทบข้ามมาถึงกรุงเทพฯ เสนอ ให้มีนโยบายสำรวจและป้องกันภัยอันตรายจากสารพิษและสารปนเปื้อนเชิงรุก บังคับใช้กฎหมายย่างจริงจัง
นอกจากนี้ กรุงเทพฯ มีเครือข่ายบริการสาธารณสุขกว่า 100 แห่ง แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่นึกถึงเป็นอันดับแรก อยากให้ผู้ว่าฯ กทม.ใช้ประโยชน์และพัฒนาบริการเครือข่ายสาธารณสุขของ กทม. ให้ครอบคลุม เข้าถึง และมั่นใจ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์โควิด-19 ช่วงวิกฤต เราเห็นศักยภาพบริการเหล่านี้
รวมถึงมีวิสัยทัศน์ให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ตั้งแต่เด็ก รวมถึงเด็กข้ามชาติ เด็กเหล่านี้จะกลายเป็นประชากรที่มีคุณภาพ เป็นกองทัพช่วยพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่
“ เสนอให้ กทม.ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับอาชีวะ ในการ upskill Reskill ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย แม้แต่คนสูงวัย ส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาชีพที่ดี “
ผศ.ดร.รณชัย กล่าวต่อว่า เมืองใหญ่ต่างประเทศน้ำประปาดื่มได้ แต่ในกรุงเทพฯ จุดบริการน้ำดื่มฟรีหายไปหรือไม่ปลอดภัย คนรายได้น้อยต้องซื้อน้ำขวดดื่ม อยากให้สร้างหลักประกันว่า คนกรุงเทพฯ จะมีน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัยผ่านระบบประปา และเข้าถึงได้ฟรีสำหรับผู้ยากไร้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับ
ทิศทางต่อมาการเปลี่ยนและจัดหาให้รถของหน่วยงานภายใต้กำกับของกทม. รวมถึงประสานกับขสมก.ให้ใข้ระบบ EV 100% ภายใน 4 ปีและให้มีการติดตั้ง EVCharge Station สาธารณะอย่างทั่วถึง เพื่อให้คนไทยมีการเดินทางที่สะอาด และลดปล่อยก๊าซคาร์บอน
การจัดระเบียบทางเท้าเป็นเรื่องที่ดี จากการสำรวจของนิด้า พบว่า คนกรุงเทพฯ กว่า 60% อยากให้มีร้านค้าบนทางเท้าอยู่ เป็นเรื่องปากท้อง แต่เพื่อความยุติธรรมนอกจากช่วยร้านค้ามีที่ทำกิน แต่ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและแผงลอยให้มีพื้นที่ประกอบการกิจการที่เหมาะสม พร้อมสร้างจิตสำนึกที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ขาดไม่ได้นโยบายพัฒนาชุมชนแออัดให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดการบุกรุกที่สาธารณะ และที่สำคัญเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น จัดให้มี pocket Garden ในทุกชุมชน
สุดท้ายกรุงเทพฯ มีปัญหาขยะทางด้านอาหารถึง 50% นักวิชาการ สจล.เสนอให้ประสานตลาดและห้างร้านให้มีการหมุนเวียนอาหารที่มีคุณภาพดีและบริโภคได้ไปสู่ผู้ยากไร้และลดการเกิดขยะทางด้านอาหาร(Food Waste) อีกทั้ง ประสานให้เกิดความร่วมมือระหว่าง กทม. ชุมชน หน่วยงานภาคเอกชนและสถานศึกษา ให้มีส่วนร่วมและค่านิยมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘นิพนธ์’ แนะผู้สมัคร ส.ส.ปชป.ชายแดนใต้ ต้องทำความเข้าใจพื้นที่
นิพนธ์ ยก แนวทางพระราชทาน‘เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา’ คือ ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุด ย้ำ ผู้สมัครปชป. ชายแดนใต้ ต้องทำเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง ตอบโจทย์ การแก้ปัญหาให้คนในพื้นที่ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
'ดร.โจ' อบรม 'กกต.' ชี้การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เหมือนแข่งกีฬาถ้าฟาวล์ กก. ต้องตัดสินขณะนั้น ไม่ใช่นั่งรอเกมเลิก
'ดร.โจ'อบรมกกต.ชี้การเลือกตั้งเหมือนแข่งกีฬาถ้าฟาวล์กก.ต้องตัดสินขณะนั้นจะให้เปลี่ยนป้ายหรือให้ย้ายในที่ห้ามติดไม่ใช่นั่งรอเกมเลิก แต่อย่ารับรอง'ชัชชาติ'เพราะ1.3ล้านเสียงกดดัน ถ้าฉ้อเลือกตั้งก็ต้องถูกด่าทำไมไม่ฟัน
เอ้าเฮทั้งแผ่นดิน 'กกต.' รับรอง 'ชัชชาติ' เป็นผู้ว่าฯกทม.แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่มีนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.
'ชูวิทย์' อัดยับเทียบคนเป็นไส้เดือนกิ้งกือ 'พี่ศรี' แจงแค่โพสต์เตือนสติ
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ออกมาโพสต์โต้ นายศรีสุวรรณ จรรยา หลังจากได้โพสต์ว่า “เมื่อประชาชนคนกรุงเทพฯ 1.38 ล้านคน ลงคะแนนเลือกผู้ว่าฯ กทม.
เอาแล้ว 'พี่ศรี' ถูกทัวร์ลงหลังโพสต์ 1.38 ล้านเสียง มีสิทธิ์ชักดิ้นชักงอ
หลังจากได้รายงานข่าวว่า นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก
'ศิธา' ร่วมกดดัน กกต. โพสต์ 'รับรอง รับรอง รับรอง' ชี้คนจะรีบทำงาน
น.ต.ศิธา ทิวารี อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ผ่านโซเชียลมีเดีย