ความคิดเห็น ต่อ 10 มาตรการช่วยเหลือประชาชนกรณีศึกษา ระหว่างผู้รับประโยชน์ตรง กับ ผู้รับประโยชน์ทางอ้อม
27 มี.ค. 2565 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความคิดเห็นต่อ 10 มาตรการช่วยเหลือประชาชน กรณีศึกษา ระหว่างผู้รับประโยชน์ตรง กับ ผู้รับประโยชน์ทางอ้อม ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,159 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23 – 26 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.1 ของกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ตรงได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชน ผู้ประกอบการ เป็นต้น พอใจต่อมาตรการลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป ในขณะที่ ผู้รับประโยชน์ทางอ้อม ร้อยละ 58.3 พอใจ
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.2 ของผู้ได้รับประโยชน์ตรง ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ก๊าซ NGV พอใจต่อการคงราคาขายปลีกผู้ที่ใช้ก๊าซ NGV ไว้ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ ร้อยละ 55.0 ของกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ทางอ้อมพอใจ และหากเรียงลำดับสัดส่วนของผู้ได้รับประโยชน์ตรงที่พอใจต่อมาตรการอื่น ๆ พบว่า ร้อยละ 88.2 พอใจต่อ การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาท/เดือน ร้อยละ 87.1 พอใจต่อ กำกับดูแลการปรับราคาก๊าซหุงต้มในช่วงตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย. โดยใช้กองทุนน้ำมันเข้าไปช่วยลดผลกระทบจากการปรับราคาให้ไม่ขึ้นสูงเกินไป ร้อยละ 87.1 เช่นกัน พอใจต่อ ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท สำหรับผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนประมาณ 5,500 คน ร้อยละ 86.8 พอใจต่อ ผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน สามารถซื้อก๊าซได้ในราคา 13.62 บาท/กิโลกรัม
ร้อยละ 86.6 พอใจต่อ ช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 157,000 คน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 250 บาทต่อเดือน และขอให้กรมการขนส่งทางบกกำกับราคาการให้บริการเพื่อให้ประชาชนที่ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเท่าเดิม ร้อยละ 85.2 พอใจต่อ การตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2565 หลังจากนั้น รัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือส่วนที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นครึ่งนึง
ในขณะที่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 พอใจต่อ การช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยลดค่า Ft ลง 22 สตางค์ต่อหน่วยในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.5 พอใจต่อ การลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9% และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ลงเหลือ 42-180 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความพอใจ ต่อ 10 มาตรการช่วยเหลือโดยรวม พบว่าร้อยละ 84.2 ระบุ พอใจ และ ร้อยละ 15.8 ระบุ ไม่พอใจ นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการสนับสนุนของประชาชน ต่อ การออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมของภาครัฐ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.0 ระบุ สนับสนุน และร้อยละ 22.0 ระบุ ไม่สนับสนุน
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถาม ความคิดเห็นของประชาชน ต่อ การให้โอกาสการทำงานของรัฐบาล ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.7 ระบุ ยังให้โอกาสรัฐบาลได้ทำงานต่อ ในขณะที่ ร้อยละ 40.3 ระบุ ไม่ให้โอกาส
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้สะท้อนให้เห็นอย่างน่าสนใจว่า วิกฤตความเดือดร้อนของประชาชนที่กำลังเผชิญ ที่สืบเนื่องมาจากผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 และสงครามทางทหารระหว่างอยู่เครนกับรัสเซีย ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งหลายประเทศได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและอ้อม โดยแต่ละประเทศได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบครั้งนี้ เช่น เกาหลีใต้ ยืดการลดภาษีพลังงานออกไป , ฟิลิปปินส์ ดำเนินโครงการอุดหนุนเชื้อเพลิงสำหรับระบบคมนาคม , มาเลเซีย ใช้งบประมาณ เพื่ออุดหนุนปิโตรเลียม , ฝรั่งเศส ประกาศแผนลดภาษีค่าใช้จ่ายด้านคมนาคม สำหรับผู้สัญจรลงอีก 10% และบราซิลการให้เงินอุดหนุนและการยกเว้นภาษี เป็นต้น
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า มาตรการที่รัฐบาลออกมา ส่วนใหญ่ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนค่อนข้างมาก ซึ่งคล้ายกับมาตรการต่างๆของหลายประเทศที่กำลังออกมาให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนจากผล กระทบจากโควิดและสงคราม ทั้งด้านพลังงาน การขนส่ง ค่าครองชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
“อย่างไรก็ตาม ความต้องการของประชาชนในการขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลในวิกฤตเศรษฐกิจยังมีอีกมากซึ่งตรงข้ามกับการจัดเก็บรายได้เข้าแผ่นดินของรัฐบาลที่ลดลง ดังนั้นการบริหารเงินสาธารณะคงคลังปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีความสำคัญ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดความเร่งด่วนกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้ที่ยั่งยืนและตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ที่เป็นฐานรากหลักของประเทศ เช่น กระตุ้นฟื้นตัวการท่องเที่ยว ที่มีธุรกิจลูกโซ่ระดับรากหญ้าได้รับประโยชน์เป็นวงกว้าง เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับมาตรการควบคุมโรคคู่กันไป” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเ
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ