26 มี.ค.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปี 2564 ส่งผลให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นรายได้สําคัญของประเทศได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจภาคส่งออกที่มีภาคแรงงานกว่า 2 ล้านคน ใน 4 สาขา กลับเติบโต ได้แก่ อาหาร เครื่องมือแพทย์ ยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินการโครงการแฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) ของกระทรวงแรงงานตามนโยบายรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ให้กระทรวงแรงงานบูรณาการร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการโครงการดังกล่าวด้วยหลักการเศรษฐศาสตร์คู่กับสาธารณสุข ทำให้ธุรกิจส่งออกเติบโต โดยตัวเลขการส่งออกเดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวถึง ร้อยละ 17.14 ซึ่งสูงสุดในรอบ 11 ปี ทะลุเป้าหมาย คิดเป็นมูลค่ารวม 2.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลพวงจากนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นการจ้างงานช่วยพยุงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการแฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์ ที่ช่วยพยุงการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตกว่าร้อยละ 30 จากผู้ประกันตน 11 ล้านคน ทำให้เศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าต่อไปได้
นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ได้ทราบผลประกอบการในช่วงปีที่ผ่านมาสถานประกอบกิจการและสหภาพแรงงานในกลุ่มยานยนต์ได้เริ่มพูดคุยพิจารณาเรื่องของโบนัสและสวัสดิการต่างๆ ตามข้อเรียกร้อง ซึ่งหลายแห่งได้พิจารณาเสร็จสิ้นและทำข้อตกลงโดยใช้การเจรจาด้วยระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานที่ดี อาทิ บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ทำข้อตกลงกับสหภาพแรงงานอีซูซุ ประเทศไทย เพิ่มสวัสดิการให้ลูกจ้างในปี 2565 โดยอัตราการขึ้นเงินเดือน 5.3 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มโบนัส 8 เดือน บวกเงินพิเศษ 27,000 บาท ซึ่งสูงกว่าในปี 2564 ที่มีอัตราการขึ้นเงินเดือน 4.43 เปอร์เซ็นต์ โบนัส 7 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 19,000 บาท บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ปรับค่าจ้าง 4.2 เปอร์เซ็นต์ บวก 350 บาท จ่ายโบนัส 7.5 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 50,000 บาท และบริษัท ฮีโน่มอเตอร์ แมนูแฟคเจอรี่ ประเทศไทย จำกัด ปรับค่าจ้าง 4.2 เปอร์เซ็นต์ บวก 350 บาท จ่ายโบนัส 7.5 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษ 50,000 บาท เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานตามโครงการแฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) ตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งทำให้ธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์เกิดการจ้างงานต่อเนื่อง ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ลูกจ้างกลุ่มยานยนต์มีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศให้พ้นวิกฤตช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน